วันนี้ (18 ธ.ค.2566) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ครั้งที่ 1/2566 กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นการประชุมนัดแรกหลังนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ต่อไปนี้จะต้องร่วมกันศึกษาวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเพื่อนำไปสู่การบรรเทาผลกระทบให้ลูกหนี้ ซึ่งต้องแบกรับภาระไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินโดยถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา การถูกข่มขู่โดยใช้ความรุนแรงต่อไป
รองนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงขั้นตอนดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบตามแนวนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ซึ่งจะเป็นการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
- ขั้นตอนแรกการลงทะเบียน ดำเนินการระหว่าง 1 ธ.ค.2566 - 29 ก.พ.2567 มีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก และมีหน่วยงานอื่นเสริม คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยทั้งหมดเชื่อมโยงข้อมูลกัน โดยประชาชนได้รับหมายเลขอ้างอิง (Reference Number) เพื่อใช้ติดตามความคืบหน้าทางเว็บไซต์ภาครัฐได้ตลอด
- ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการไกล่เกลี่ยและติดตามผล
- ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดระยะเวลาดำเนินการ เป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ต้องชัดเจน
นายอนุทิน กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้มีภารกิจหน้าที่ครบทุกมิติทั้งในด้านการไกล่เกลี่ย การบังคับใช้กฎหมาย การรักษาความสงบ และการแก้ไขปัญหา โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วมครบทุกหน่วย และเราจะมีการกำหนดไทม์ไลน์และตัวชี้วัดชัดเจน รวมถึงตั้งคณะอนุกรรมการชุดที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานขึ้นมาขับเคลื่อนและติดตามการทำงาน
นายกฯ ได้มีการให้นโยบายในวันที่คิ๊กออฟโครงการว่าขอให้ดำเนินเรื่องนี้ด้วยความรวดเร็ว เด็ดขาด เข้มงวดในการใช้กฎหมาย มีการตั้ง KPI ในการดำเนินงาน ขอให้ทุกท่านซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนงาน ได้สั่งการผู้รับผิดชอบในการดำเนินการอย่างรวดเร็วต่อไป
นายอนุทิน ระบุว่า ที่ประชุมฯ ได้มีวาระเพื่อพิจารณาและและมีมติดังนี้ เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานอนุกรรมการ และผู้แทนหน่วยงานเกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ
มาตรการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ 3 ด้าน
โดยชุดนี้จะมีอำนาจหน้าที่ในการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ เชิญหน้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ให้ความเห็นหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เห็นชอบมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ 3 ด้าน ประกอบด้วย
1.ด้านการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ โดยมีกรมการปครองเป็นเจ้าภาพหลัก และมีสำนักงานอัยการสูงสุดร่วมสนับสนุน โดยนับแต่เริ่มปิดลงทะเบียนจนถึง 18 ธ.ค. 66 (เวลา 11.30 น.)
ปรากฏว่ามีลูกหนี้มาลงทะเบียนแล้ว 99,484 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 5,926 ล้านบาท โดยในระหว่างการลงทะเบียนดังกล่าวก็มีการเชิญเจ้าหนี้ลูกหนี้มาทำการไกล่เกลี่ยโดยใช้กลไกของฝ่ายปกครอง บูรณาการร่วมกับตำรวจและพนักงานอัยการ โดยทางเจ้าหนี้-ลูกหนี้สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ก็จะมีการทำบันทึกประนีประนอมไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 20 ราย
2. ด้านการบังคับใช้กฎหมาย มีสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ โดยบูรณาการร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครอง เช่น ผู้ว่าราขการจังหวัด นายอำเภอ และมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ช่วยเหลือซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ที่มีพฤติการณ์ใช้กำลังประทุษร้ายลูกหนี้ไปแล้วบางส่วน รวมทั้ง เรียกเจ้าหนี้มาทำความเข้าใจนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอีกด้วย
3.ด้านการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน จะมีกระทรวงการคังเป็นเจ้าภาพ ร่วมกับสถาบันทางการเงินของรัฐในการปล่อยวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เงื่อนไขน้อยและอาจมีระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้น และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะได้เข้ามาช่วยเหลือลูกหนี้ตามสาเหตุแห่งการเป็นหนี้ ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน เช่นกระทรวงแรงงาน กระทรวงกระทรวงมหาดไทยให้การสนับสนุนด้าน การหาอาชีพเสริม สนับสนุนปัจจัยการผลิต
นานอนุทิน กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบตัวชี้วัดการดำเนินการทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ตัวชี้วัดการไกล่เกลี่ยของกรมการปกครอง กำหนดการเจรจาไกล่เกลี่ยได้อย่างน้อย ร้อยละ 80 ของลูกหนี้ในระบบและเจ้าหนี้ตามฐานข้อมูล โดยสามารถตกลงกันได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50
ด้านการบังคับใช้กฎหมาย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถดำเนินคดีได้ทั้งหมดร้อยละ 70 ของเรื่องรับดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการหากเป็นสำนวนไม่ยุ่งยากดำเนินการเสร็จใน 3 เดือน กรณีมีความซับซ็อนไม่เกิน 3 เดือน
ส่วนของด้านการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน โดย สศค. ซึ่งจะต้องได้รับการให้สินเชื่อโดยธนาคารออมสินและธ.ก.ส. มีเป้าหมายผู้ได้รับความช่วยเหลือที่ร้อยละ 70 ของผู้ลงทะเบียน
โดยการปล่อยวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำธนาคารรัฐมีเงื่อนไขน้อย โดยกำหนดให้รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยน้อยกว่าที่ลูกหนี้เคยเสีย ร้อยละ 2 บาทต่อวัน หรือร้อยละ 10 ต่อเดือน หรือร้อยละ 20 ต่อเดือนก็มี ซึ่งหากไกล่เกลี่ยลงตัวแล้วเจ้านี้จะได้เงินคืนอย่างแน่นอน โดยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ ร้อยละ 0.75 -1.5 ต่อเดือน ขึ้นอยู่แต่ละเงื่อนไข
ทั้งนี้หากลูกหนี้มีหลักประกัน มีความน่าเชื่อถือมีงานทำมีรายได้แน่นอนอัตราดอกเบี้ยก็จะอยู่ในระหว่างที่กำหนด พร้อมกับระบุว่าเรื่องอัตราดอกเบี้ยนี้ไม่ต้องถามกันแล้วว่าแฟร์หรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ลูกหนี้ก็เคยจ่ายร้อยละ 2 บาทต่อวัน รับได้หรือไม่ได้ เพราะร้อยละ 2 บาทต่อวันก็เคยรับมาแล้ว หรือร้อยละ 60 ต่อเดือนก็รับมาแล้ว ปีหนึ่งหนึ่งเท่ากับว่สเสีย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 720 บาทผู้รับมาแล้ว
ซึ่งวันนี้เราจะทำให้เหลืออยู่ไม่เกิน ร้อยละ 1.5 ต่อ ซึ่งนี่คือการช่วยเหลือในการแก้หนี้ของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นอกจากจะมีการสนับสนุนเรื่องของสินเชื่อ ดอกเบี้ยยังใช้กลไกของรัฐอย่างกระทรวงแรงงาน และกระทรวงมหาดไทย เข้ามาพัฒนาอาชีพ หารายได้ เพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิตต่อไป
อ่านข่าวอื่น ๆ
ส่ง 1 แสนชื่อปลดล็อก "นกกรงหัวจุก" พ้นบัญชีสัตว์ป่า
สอบเพิ่ม 2.6 หมื่นแห่ง "ธุรกิจต้องสงสัย" พณ.พบ 9 จังหวัดเสี่ยงสูง