วันนี้(27 ธ.ค.2566) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาความต้องการสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์ในตลาดโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าของโลกที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยย้อนหลัง 4 ปี ระหว่างปี 2562 – 2565 ขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปี
ล่าสุด ปี 2565 ทั่วโลกมีมูลค่าการนำเข้ารวม 2.8 ล้านล้านบาท ถือเป็นโอกาสของไทยหากสามารถยกระดับคุณภาพและสร้างมาตรฐานสินค้าอาหารปลอดภัย เพื่อเจาะตลาดส่งออกใหม่ และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์
ทั้งนี้สนค. ติดตามสถานการณ์การค้าสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์ของไทย พบว่า ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เม็กซิโก และเยอรมนี แม้ว่าความต้องการบริโภคสินค้าสุกรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ประเทศผู้ผลิตในหลายพื้นที่ยังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน เช่น ด้านมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้า
โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศต่าง ๆ พยายามหาวิธีควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้ มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมจึงมีบทบาทสำคัญในการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะมหาอำนาจทางการค้าอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ที่มีการกำหนดมาตรการทางการค้าเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
อ่านข่าววันนี้:
รัฐควัก 7.7 พันล้าน จ่ายชาวไร่อ้อย 1.25 แสนราย เงินเข้าบัญชีวันนี้
SMEs เข็นไม่ขึ้น 11 เดือน แห่เลิกกิจการส่งท้ายปี ทะลุ 17,858 ราย
นายพูนพงษ์กล่าวอีกว่า ไทยไม่ใช่ประเทศผู้ส่งออกสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์หลักของโลก ปี 2565 ไทยส่งออกสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์เป็นมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท เป็นปริมาณสุกรและผลิตภัณฑ์ ราว 54,000 ตัน และสุกรมีชีวิตราว 120,000 ตัว และมีสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 0.7 ของมูลค่าการส่งออกทั่วโลก
โดยสินค้าที่ไทยส่งออกแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ สินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 98.32 ตลาดส่งออกสำคัญ คือ ญี่ปุ่น จีน กัมพูชา ฮ่องกง และเมียนมา และ สุกรมีชีวิต ร้อยละ 1.68 ตลาดส่งออกสำคัญ คือ เมียนมา ลาว และกัมพูชา
ช่วง 11 เดือนแรกปี 2566 ไทยส่งออกสุกรมีชีวิตและสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์มีมูลค่ารวมราว 6,400 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ผอ.สนค. กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการของตลาดโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสในการขยายการส่งออกของไทย ดังนั้น ต้องเร่งยกระดับสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์ของไทยให้ครองใจตลาดโลก โดยมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตและการค้าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ไม่ว่าจะเป็น การให้ความรู้ด้านการผลิตที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น มาตรฐาน GAP มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ ( Organic Thailand, IFOAM, EU, USDA, และ JAS) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะมีส่วนช่วยในการควบคุมการแพร่ระบาดในสุกรได้
นอกจากนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่จำเป็น เช่น การทำปศุสัตว์แบบกรีนฟาร์ม โดยนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ลดกลิ่น และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริมให้นำระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) มาใช้
การส่งเสริมให้ผู้ผลิตจัดทำแผนการจัดการมูลสัตว์ (Manure Management Plan) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถนำมูลสุกรมาแปรรูปเป็นปุ๋ย ช่วยเสริมรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยมูลสุกรได้อีกทางหนึ่ง การผลักดันการเปิดตลาดสินค้าสุกร ซึ่งล่าสุด ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก (APEC 2023) เมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา
อ่านข่าวอื่นๆ:
ครม.เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2-16 บาท เริ่ม 1 ม.ค. ตั้ง กก.พิจารณาอีกครั้ง มี.ค.67
พณ.ขู่ผู้ค้าฯ เติมน้ำมันขาด ติด 2 ครั้ง สั่งหยุดใช้หัวจ่ายน้ำมันทันที