ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก "โพรไบโอติกส์" ตัวช่วยสำคัญผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID)

สังคม
22 ม.ค. 67
17:15
2,147
Logo Thai PBS
รู้จัก "โพรไบโอติกส์" ตัวช่วยสำคัญผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID)
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชวนรู้จัก จุลินทรีย์ "โพรไบโอติกส์" มีประโยชน์แค่ไหน สำคัญกับร่างกายอย่างไร และพบในอาหารประเภทไหน ทำไมถึงแนะให้ผู้ที่มีภาวะ "ลองโควิด" ช่วยฟื้นฟูร่างกาย และภูมิคุ้มกัน

"โพรไบโอติกส์" หรือ Probiotics หมายถึง จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อร่างกายได้รับไปในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งผลดีต่อสุขภาพ จุลินทรีย์พบได้ ในนมหมัก อาหารหมัก ผัก ผลไม้ ไม่เพียงเท่านั้น โพรไบโอติกส์สามารถสร้างสารที่เกิดประโยชน์กับร่างกาย ได้แก่ กรดอะซิติก กรดแลคติก กาบา และแบคเทอริโอซิน เป็นต้น

อ่านข่าว :  ขาขึ้น "โควิด" สัปดาห์เดียวตาย 11 คน ป่วย 718 คน

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์มีหลายอย่าง ทั้งการปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ กระตุ้นการขับถ่าย ตลอดจนเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่เรื้อรัง รวมทั้งอาจช่วยป้องกันภาวะผื่นผิวหนังอักเสบ นอกจากนี้โพรไบโอติกส์ยังถูกพัฒนาเป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 

กิมจิมีโพรไบโอติกส์เป็นอาหารดูแลลำไส้

กิมจิมีโพรไบโอติกส์เป็นอาหารดูแลลำไส้

กิมจิมีโพรไบโอติกส์เป็นอาหารดูแลลำไส้

มีการนำจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ไปใช้ในด้านความงามด้วย เช่น ในกรณีที่ผิวมีปัญหาผิวแห้งเป็นขุย โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ผสมโพรไบโอติกจะช่วยฟื้นฟูกระบวนการของผิวให้กลับมามีสมดุลมากขึ้น เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้โพรไบโอติกส์ในร่างกายลดลง เช่น กินอาหารที่มีกากใยน้อย มีไขมันสูง หรือน้ำตาลสูง การรับประทานยาปฏิชีวนะ หรือ ยาแก้ปวดเป็นประจำ รวมไปถึงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และความเครียด

อ่านข่าว : โควิด-19 JN.1 สายพันธุ์หลักระบาดในไทย พบ อาการคล้ายหวัด

ยังมีการศึกษาที่พบว่า การได้รับโพรไบโอติกส์เป็นประจำมีส่วนช่วยคงระดับอารมณ์ได้ เพราะแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้มีส่วนช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ถ้าได้รับในปริมาณที่เพียงพอ ที่สำคัญยังมีส่วนช่วยลดอาการลองโควิดด้วย

มาถึงจุดนี้หลายคนคงได้รู้จัก "โพรไบโอติกส์" มากขึ้น โดยโพรไบโอติกจัดเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่น หรือ Normal flora ในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษา สมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้จะถูกรุกราน อาจเกิดผลกระทบตามมาได้ ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง Normal flora และร่างกายนั้นจึงมีความสำคัญ

การรับประทานโพรไบโอติกส์เป็นการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายให้มีภูมิต้านทานต่อเชื้อจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีได้ด้วย อย่างไรก็ตาม อาการข้างคียงที่อาจพบได้หลังกินโพรไบโอติกส์ในปริมาณที่สูงไป คือ เกิดภาวะลมในท้องเพิ่มขึ้น เกิดอาการท้องอืดหรือแน่นท้องได้

อ่านข่าว : ว่าที่ดาวเด่น Soft Power "กวาวเครือขาว" สมุนไพรไทย

มิโซะทำจากถั่วเหลืองหมักกับเกลือและเชื้อราชนิดที่ดี นำมาซึ่งจุลินทรีย์ชนิดที่ดีต่อลำไส้

มิโซะทำจากถั่วเหลืองหมักกับเกลือและเชื้อราชนิดที่ดี นำมาซึ่งจุลินทรีย์ชนิดที่ดีต่อลำไส้

มิโซะทำจากถั่วเหลืองหมักกับเกลือและเชื้อราชนิดที่ดี นำมาซึ่งจุลินทรีย์ชนิดที่ดีต่อลำไส้

"โพรไบโอติกส์" มีประโยชน์และจำเป็นอย่างไร?

สารในกลุ่มพรีไบโอติกส์ จัดเป็น functional food เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โปรไบโอติก เช่น แบคทีเรียในกลุ่ม lactic acid bacteria ได้แก่ แล็กโทบาซิลลัส และไบฟิโดแบคทีเรีย 

จุลินทรีย์เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ร่างกายเกิดกลไกการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในลำไส้นั้นมีเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันกว่าร้อยละ 80 จึงถือว่าระบบทางเดินอาหารเป็นแหล่งที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพในการรักษาสมดุลระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ 

ทำให้สภาพแวดล้อมมีสภาพเป็นกรด ทำให้เชื้อก่อโรค ซึ่งมักไม่ทนกรด ไม่สามารถเจริญได้ ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้สามารถควบคุม จุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารได้ ช่วยส่งผลดีต่อสุขภาพในอื่น ๆ เช่น ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อ ลดการเกิดมะเร็ง

อ่านข่าว : 5 สมุนไพรผักพื้นบ้าน 1 ตำรับยาไทย พิชิตเบาหวาน

นอกจากช่วยเรื่องลำไส้ ยังมีประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ป้องกันฟันผุหรือรักษาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ปรับการทำงานของสมอง ป้องกันโรคภูมิแพ้ ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ให้ข้อมูว่า จุลินทรีย์โพรไบโอติก มีบทบาทในการป้องกันและรักษาภาวะท้องเสีย ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุการติดเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ ไวรัส ซึ่งมักเกิดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ หรือในผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

จากการวิจัยทางคลินิกจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า สายพันธุ์ จุลินทรีย์โพรไบโอติกบางชนิดสามารถลดอาการท้องร่วง ท้องเสีย และความถี่ของการถ่ายอุจจาระได้ โดยพบว่าโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ Lactobacillus acidophilus, L. delbruckii subsp. bulgaricus, L. rhamnosus GG และ L. fermentum สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องร่วงระหว่างการเดินทาง

การป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน หรือไอบีเอส (Irritable Bowel Syndrome ; IBS) อาการลำไส้แปรปรวน (IBS) เป็นความผิดปกติของ ระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีสาเหตุมาจากลำไส้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้เร็วกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยหรือใต้สะดือ โดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์สามารถกำจัดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค และช่วยปรับสมดุลของ จุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งได้นำมาใช้รักษาผู้ป่วย IBS แล้วพบว่ามีอาการดีขึ้น 

อ่านข่าว : อาหารพักเบรกเสี่ยงโรค "ปฏิวัติ" ตัวเองสุขภาพยั่งยืน

โพรไบโอติกส์ ช่วยลดเสี่ยงโรคโควิด-19 ได้หรือไม่ ?

นอกจากนี้ โพรไบโอติกส์ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันตั้งแต่ภายในลำไส้โดยช่วยเพิ่มจำนวน NK cell (เซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่กำจัดเซลล์ที่่ติดเชื้้อไวรัสและเซลล์มะเร็ง เพิ่มกิจกรรม NK cell และการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของเซลล์นิวโทรฟิลให้มีประสิทธิภาพขึ้น

โพรไบโอติกส์ จึงทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายได้สารต้านการอักเสบหรือวิตามินและสารสื่อประสาทที่เป็นเกราะป้องกันโรคจากลำไส้ เชื้อโควิดที่ชอบลงไปติดที่เซลล์เยื่อบุผิวอีปิธีเลียมของลำไส้ก็จะไม่อาจเข้าไปในร่างกายได้ง่าย ๆ ด้วยกลไกของเชื้อโพรไบโอติกส์ช่วยสกัดกั้นเอาไว้อยู่

สอดคล้องกับข้อมูลของ กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมอนามัย ที่ข้อแนะนำ ให้ผู้ป่วย ลองโควิด (Long COVID) หรือ หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ให้เลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงเลือกกินอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน จุลินทรีย์สุขภาพ หรือ โพรไบโอติกส์ และวิตามินต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง และสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน

อาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ร้อยละ 30-50 จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดที่รักษาหายแล้ว

ช่วยฟื้นฟูร่างกาย จากภาวะลองโควิด?

สำหรับผู้ป่วยลองโควิด-19 จึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอยู่เสมอ ด้วยการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร

นอกจากนี้ ควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนยแข็ง ถั่วต่าง ๆ รวมทั้งบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นพวก โยเกิร์ต นมเปรี้ยว และจะให้ได้ประโยชน์จริง ๆ ควรเลือกที่มีนํ้าตาลน้อย

จะยิ่งดีหากกินร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์สุขภาพ และยังช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

หลีกเลี่ยงได้ควรเลี่ยง คือ อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่าง ของทอด ของมัน หรืออาหารรสจัด ย่อยยาก รวมทั้งควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง

ฟื้นฟูร่างกาย-สร้างภูมิคุ้มกัน จากวิตามิน-แร่ธาตุ

นอกจากนี้ วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ก็มีส่วนช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู แข็งแรง และสร้างภูมิคุ้มกัน

1.วิตามินซี พบมากในผักและผลไม้สด เช่น ส้ม มะละกอ ฝรั่ง มะนาว มะเขือเทศ พริกหวาน เป็นต้น ควรกินแบบสด หากนึ่งหรือผัด ควรใช้ระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อรักษาคุณค่าจากวิตามินซีไว้ได้ดียิ่งขึ้น

2. วิตามินเอ เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลืองและสีส้ม เช่น ตําลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศสีเหลือง มะละกอสุก เป็นต้น

3.วิตามินดี ได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม เห็ด ไข่แดง เป็นต้น

4.วิตามินอี ได้แก่ ไข่ ผักและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ถั่วต่าง ๆ นํ้ามันถั่วเหลือง นํ้ามันมะกอก นํ้ามันดอกทานตะวัน อะโวคาโด เป็นต้น

และ 5.แร่ธาตุสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน ตับ หอยนางรม ข้าวกล้อง เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูล : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กระทรวงสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล 

อ่านข่าวอื่น ๆ

DSI รับตัว "เฮียเก้า" ดำเนินคดี "สวมสิทธิส่งตีนไก่" ขายจีน

วงจรปิดมัด 2 ชาวอินเดียเอี่ยวฆ่าหั่นศพเมียนมา

"คัลแลน" ชวนไทยแยกขยะแบบเกาหลี-คพ.เล็งลดขยะอาหาร 28%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง