วันนี้ (1 เม.ย.2567) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan กรณีแบคทีเรียกินเนื้อ
อ่านข่าว : สธ.เฝ้าระวัง "เชื้อสเตรปโตคอคคัส" เข้าไทย ยันไม่ใช่โรคอุบัติใหม่
โดยมีข้อความระบุว่าแบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ กินยากดภูมิต้านทาน หรือมีโรคที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ
ที่มีข่าวกันมากขณะนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus group A เป็นแบคทีเรียที่เกิดโรคได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในคนที่แข็งแรงดีก็จะไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่โต สามารถรักษาได้ แต่ถ้าภูมิต้านทานต่ำ และการติดเชื้อที่ผิวหนังก็จะทำให้ลุกลามอย่างรวดเร็วได้ อย่างที่เป็นข่าวในประเทศญี่ปุ่น ในประเทศไทยก็พบได้ แต่ไม่ได้มากมายและสามารถรักษาได้ มียาปฏิชีวนะที่รักษาเชื้อดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีแบคทีเรียอย่างอื่นอีกหลายชนิดที่อาจจะลุลามอย่างรวดเร็ว เช่น Clostridium perfringens ทำให้เกิด Gas gangrene เคยเห็นคนไข้แล้ว น่ากลัวมาก
ศ.นพ.ยง ยังระบุว่า สิ่งที่อยากให้เห็นวันนี้ ทีมเคยรายงานผู้ป่วยที่เกิดการอักเสบของแบคทีเรียจะเรียกว่ากินเนื้อก็ได้ ที่เกิดจากแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำทะเล โดยทั่วไปจะเป็น Shewanella algae แต่รายงานนี้เป็นรายงานแรกที่ผมได้รายงานเป็นภาษาอังกฤษ ที่เกิดจากเชื้อ Shewanella haliotis ในผู้ป่วยที่กินยากดภูมิต้านทาน แบคทีเรียตัวนี้ที่พบครั้งแรกพบในหอยเป๋าฮื้อ ที่ได้ เผยแพร่ในในวารสาร EID
อ่านข่าว : ญี่ปุ่นตรวจโรงงานอาหารเสริม "ข้าวยีสต์แดง" ปมเสียชีวิต 5 คน