ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“ปะการังฟอกขาว” ภาพสะท้อน “โลกร้อน” ขั้นวิกฤต

สิ่งแวดล้อม
4 มิ.ย. 67
08:59
1,194
Logo Thai PBS
“ปะการังฟอกขาว” ภาพสะท้อน “โลกร้อน” ขั้นวิกฤต
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งสำรวจ “ปะการังฟอกขาว” ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน พร้อมป้องกันฟอกขาวและตายเพิ่ม ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ปิดอุทยานฯ ทางทะเล งดกิจกรรมที่ส่งผลกระทบแล้ว 12 แห่ง ขณะที่พบ “ปะการังฟอกขาว” ใน 21 อุทยานฯ ทางทะเล

เดือน เม.ย.2567 ที่ผ่านมา อุณหภูมิในประเทศไทย สูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ในหลายพื้นที่ นอกจากส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในภาพรวมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่า สัตว์น้ำ และท้องทะเล โดยเฉพาะปะการัง ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) และหน่วยงานความริเริ่มด้านแนวปะการังระหว่างประเทศ (ICRI) ประกาศภาวะ “ปะการังฟอกขาว” ครั้งใหญ่ ในระดับโลก ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 15 เม.ย.2567 ที่ผ่านมา

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลกและปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และส่งผลให้แนวปะการังทั่วโลกได้อย่างน้อย 54 ประเทศ และดินแดนเผชิญกับภาวะปะการังฟอกขาว ตั้งแต่เดือน ก.พ.2023 ที่ผ่านมา

ซึ่งภาวะ “ปะการังฟอกขาว” จะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของมหาสมุทรอุ่นขึ้น จนเกินจุดที่ปะการังจะทนไหว ซึ่งแน่นอนว่า ก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลกเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้น

และทำให้ “ปะการังฟอกขาว” เนื่องจากความร้อนในน้ำทำให้ปะการังขับเอาสาหร่ายที่มีสีสันสดใสซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการังออกไปจากตัวเอง

บางครั้งเมื่ออุณหภูมิของน้ำเย็นลงปะการังบางประเภทสามารถฟื้นตัวได้ แต่สภาวะที่ปะการังเผชิญกับความร้อนมากจนเกินไปสามารถทำให้ตายได้เช่นกัน

อ่านข่าว : NOAA ประกาศโลกเผชิญภาวะ “ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่” รอบที่ 4

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2566 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ปี 2022 ระบุในรายงานฉบับที่ 6 ว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่โลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายใน 2030-2040

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

แต่ข้อเท็จจริงอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นทะลุ 1.5 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2015 ส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศทั้งบนดินและในทะเลลึก โดยเฉพาะปะการัง

อ่านข่าว : โลกร้อนพ่นพิษ นับถอยหลัง 30 ปี ปะการังทั่วโลกตาย 90 %

ซึ่งไม่เพียงแต่ในทะเลต่าง ๆ ทั่วโลก ที่เกิดปรากฏการณ์ “ปะการังฟอกขาว” แม้แต่ในทะเลไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน โดยเฉพาะในปีนี้ (2567) เกิดปรากฎการณ์ “ปะการังฟอกขาว” จำนวนมากในหลายพื้นที่

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ประกาศปิดอุทยานแห่งชาติทางทะเล ให้ปะการังฟื้นตัว

ล่าสุด วันที่ 1 มิ.ย.2567 ที่ผ่านมา นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ และพันธุ์พืช ระบุว่า ตามที่ได้เกิด “ปะการังฟอกขาว” ในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล ทั้งฝั่งอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย ข้อมูลถึงปัจจุบันรวม 21 แห่ง (ข้อมูลระหว่างวันที่ 2 เม.ย.-29 พ.ค.2567) ประกอบด้วย

1.อุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอ่าวไทย จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จ.ตราด อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จ.ระยอง อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ อุทยานแห่งชาติหาดวนกร จ.ประจวบคีรีขันธ์

อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) จ.ประจวบคีรีขันธ์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จ.ชุมพร อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี อุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี และอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ (เตรียมการ) จ.นครศรีธรรมราช

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

2.อุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอันดามัน 12 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง จ.ระนอง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา อุทยานแห่งชาติแหลมสน จ.ระนอง อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จ.ภูเก็ต อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จ.พังงา

อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จ.กระบี่ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จ.สตูล และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จ.สตูล

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ซึ่งสถานการณ์ล่าสุด พบ “ปะการังฟอกขาว” ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล 163 บริเวณ แบ่งเป็น ฟอกขาวรุนแรงมาก (การฟอกขาวมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์) จำนวน 63 บริเวณ ฟอกขาวรุนแรง (การฟอกขาว 11-50 เปอร์เซ็นต์) จำนวน 61 บริเวณ ฟอกขาวไม่รุนแรง (การฟอกขาว 1-10 เปอร์เซ็นต์) จำนวน 37 บริเวณ ปะการังสีซีดจาง 2 บริเวณ และเริ่มมีปะการังตายจากการฟอกขาว 1-10 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 7 บริเวณ

จึงสั่งการให้อุทยานแห่งชาติทางทะเลทุกแห่ง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤตฟอกขาวเพิ่มขึ้น ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทางทะเล พิจารณาประกาศปิดการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งปะการัง เพื่อลดกิจกรรมที่จะก่อผลกระทบเร่งการเกิดปะการังฟอกขาว

มีการปิดแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ของอุทยานแห่งชาติไปแล้ว 12 แห่ง ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ ที่ปิดการท่องเที่ยวตามฤดูกาล 6 แห่ง และปิดเนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉิน 6 แห่ง

ล่าสุดได้รับรายงานสถานการณ์ฟอกขาวของปะการัง ในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล จากการสำรวจและติดตามของอุทยานแห่งชาติทางทะเล และศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล 1-5 โดยการติดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเลอย่างต่อเนื่อง

นายอรรถพลกล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พ.ค.-ต.ค. ส่งผลให้สถานการณ์ปะการังฟอกขาวในขณะนี้ มีแนวโน้มคงที่ ไม่มีการฟอกขาวในระดับที่รุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีฝนตกและมีปริมาณเมฆเพิ่มขึ้น

เมฆจะช่วยในการบดบังแสงแดด ที่ตกกระทบสู่ท้องทะเล ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลลดลง เฉลี่ย 30-31 องศาเซลเซียส นอกจากนี้บางพื้นที่มีกระแสน้ำเย็น ช่วยทำให้แนวโน้มการฟอกขาวดีขึ้น

สำหรับอนาคตอันใกล้นี้คาดว่า สถานการณ์จะดีขึ้น เนื่องจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมา อีกทั้งบางพื้นที่ยังมีแนวปะการังที่มีสภาพสมบูรณ์ สามารถเป็นแหล่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ต่อไปได้ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการังจากการฟอกขาวเพิ่มขึ้น

อ่านข่าว : ทะเลอ่าวไทยอุ่นขึ้น 1 องศาฯ จับตา 3 เดือนเสี่ยงปะการังฟอกขาว

อุทยานแห่งชาติบางแห่ง ได้ประกาศปิดแหล่งท่องเที่ยว เพื่อลดผลกระทบจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจเป็นการเร่งให้ปะการังเกิดการฟอกขาว ในอุทยานแห่งชาติทางทะเล จนกว่าสถานการณ์การฟอกขาวของปะการังจะคลี่คลาย

ขณะที่กรมทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งรับผิดชอบทรัพยากรในทะเลทั่วประเทศ เฝ้าจับตาสถานการณ์ “ปะการังฟอกขาว” อย่างต่อเนื่อง และพบว่า สถานการณ์ขณะนี้อยู่ในข่าย “วิกฤต”

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รายงานสถานการณ์ “ปะการังฟอกขาว” ว่า ขณะนี้มหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน กำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ El Niño-Southern Oscillation (ENSO) ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย (SST)

คาดการณ์ว่า จะเกิดปะการังฟอกขาวในประเทศไทย ในช่วงระหว่างเดือนเม.ย.-ก.ค.2567 โดยระดับความรุนแรงอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่

ออกสำรวจ-ติดตาม-ปกป้อง "ปะการังฟอกขาว"

นอกจากนี้พบว่า ในช่วง 1 เดือน ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ. ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง) ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง

เกาะมันใน จ.ระยอง

วันที่ 9 พ.ค.2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) สำรวจและติดตามสถานการณ์การเกิดปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะมันใน อ่าวต้นเลียบ และหาดหน้าบ้าน จ.ระยอง

เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก สำรวจและติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว เกาะมันใน อ่าวต้นเลียบ และหาดหน้าบ้าน จ.ระยอง (ขอบคุณภาพจากเพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก สำรวจและติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว เกาะมันใน อ่าวต้นเลียบ และหาดหน้าบ้าน จ.ระยอง (ขอบคุณภาพจากเพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก สำรวจและติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว เกาะมันใน อ่าวต้นเลียบ และหาดหน้าบ้าน จ.ระยอง (ขอบคุณภาพจากเพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า เกาะมันใน อ่าวต้นเลียบ ที่ระดับความลึก 4-5 เมตร ปะการังสภาพปกติ 10 % สีซีดจาง 25 % ปะการังฟอกขาว 50 % และปะการังตาย 15 % บริเวณหาดหน้าบ้าน ที่มีระดับความลึก 3-5 เมตร ปะการังสภาพปกติ 10 % สีซีดจาง 20 % ปะการังฟอกขาว 50 % และปะการังตาย 20 %

ปะการังที่เริ่มมีสีซีดจาง ได้แก่ ปะการังสมองร่องใหญ่ (Lobophyllia spp.) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) และปะการังที่ฟอกขาว ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora sp.) ทั้งนี้พบปะการังตายจากการฟอกขาว ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora sp.)

เกาะไข่ จ.พังงา

วันที่ 9 พ.ค.2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน สำรวจและติดตามสถานการณ์ การเกิดปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะไข่ใน เกาะไข่นอก จ.พังงา เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะรังใหญ่ เกาะตะเภาใหญ่ และอ่าวตั้งเข็ม จ.ภูเก็ต

การสำรวจปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะไข่ใน เกาะไข่นอก จ.พังงา เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะรังใหญ่ เกาะตะเภาใหญ่ และอ่าวตั้งเข็ม จ.ภูเก็ต (ขอบคุณภาพจากเพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

การสำรวจปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะไข่ใน เกาะไข่นอก จ.พังงา เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะรังใหญ่ เกาะตะเภาใหญ่ และอ่าวตั้งเข็ม จ.ภูเก็ต (ขอบคุณภาพจากเพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

การสำรวจปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะไข่ใน เกาะไข่นอก จ.พังงา เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะรังใหญ่ เกาะตะเภาใหญ่ และอ่าวตั้งเข็ม จ.ภูเก็ต (ขอบคุณภาพจากเพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

จากการสำรวจแนวปะการัง โดยการดำน้ำตื้นพบว่า เกาะไข่นอก และเกาะไข่ใน มีปะการังฟอกขาวประมาณ 10 % สีซีดจาง 30 % และปะการังสภาพปกติ 60 %

สำหรับเกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะรังใหญ่ เกาะตะเภาใหญ่ และอ่าวตั้งเข็ม ส่วนใหญ่ปะการังมีสีซีดจาง 40 % และปะการังสภาพปกติ 60 % ส่วนปะการังที่ฟอกขาว ได้แก่ ปะการังดอกเห็ด (Cycloseris spp.) ปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังเขากวาง (Acropora spp.)

การสำรวจปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะไข่ใน เกาะไข่นอก จ.พังงา เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะรังใหญ่ เกาะตะเภาใหญ่ และอ่าวตั้งเข็ม จ.ภูเก็ต (ขอบคุณภาพจากเพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

การสำรวจปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะไข่ใน เกาะไข่นอก จ.พังงา เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะรังใหญ่ เกาะตะเภาใหญ่ และอ่าวตั้งเข็ม จ.ภูเก็ต (ขอบคุณภาพจากเพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

การสำรวจปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะไข่ใน เกาะไข่นอก จ.พังงา เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะรังใหญ่ เกาะตะเภาใหญ่ และอ่าวตั้งเข็ม จ.ภูเก็ต (ขอบคุณภาพจากเพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

ส่วนปะการังที่เริ่มมีสีซีดจาง ได้แก่ ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora spp.) ปะการังดอกเห็ด (Cycloseris spp.) ปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังเขากวาง (Acropora spp.) อุณหภูมิน้ำทะเลทุกพื้นที่สำรวจวัดได้ 32 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ยังไม่พบปะการังตายจากการฟอกขาว

เกาะหนู และเกาะแมว จ.สงขลา

วันที่ 14 พ.ค.2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ติดตาม ตรวจสอบการเกิดปะการังฟอกขาว บริเวณแนวปะการังเกาะหนู และเกาะแมว จ.สงขลา

จากการสำรวจแนวปะการังด้วยสายตาโดยวิธีการดำน้ำลึก พบปะการังฟอกขาวบริเวณเกาะหนู ประมาณ 40 % สีจางลง 40 % และปกติ 20 % ปะการังที่ฟอกขาวและสีเริ่มจางลงส่วนใหญ่เป็นปะการังโขด (Porites sp.)

ส่วนเกาะแมว พบปะการังฟอกขาว ประมาณ 70 % สีจางลง 20 % และปกติ 10 % ปะการังที่ฟอกขาว ได้แก่ ปะการังโขด (Porites sp.) ปะการังรังผึ้ง (Goniastrea sp.) และปะการังช่องเล็ก (Montipora sp.)

ส่วนปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) พบสีเริ่มจางลง จากการติดตามอุณหภูมิน้ำทะเลด้วยวิธีวาง data temperature logger ระหว่างวันที่ 18 เม.ย.-14 พ.ค.2567 อุณหภูมิน้ำทะเลเฉลี่ย 32.69 องศาเซลเซียส ซึ่งมีค่าสูงกว่าช่วงเดือนที่ผ่านมา 1.74 เซลเซียส เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการเกิดปะการังฟอกขาว บริเวณแนวปะการังเกาะหนู และเกาะแมว

เกาะมันใน (อ่าวต้นเลียบ,หาดหน้าบ้าน) และหินต่อยหอย จ.ระยอง
วันที่ 16 พ.ค.2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก สำรวจและติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะมันใน (อ่าวต้นเลียบ,หาดหน้าบ้าน) และหินต่อยหอย

ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ที่ความลึก 2-5 เมตร อุณหภูมิน้ำทะเล 32 เซลเซียส โดยเฉลี่ยปะการังสภาพปกติ 5 % สีซีดจาง 20 % ฟอกขาว 55 % และตายจากการฟอกขาว 20 % ปะการังกลุ่มที่ฟอกขาว (อ่อนไหว) ได้แก่ ปะการังโขด (Porites spp.) และปะการังเขากวาง (Acropora spp.)

ปะการังกลุ่มที่มีสีซีดจาง (ทนทาน) ได้แก่ ปะการังสมองร่องสั้น (Platygyra spp.) และปะการังวงแหวน (Dipsastraea spp.) พร้อมทั้งทดลองช่วยชีวิตหอยมือเสือ จากการฟอกขาว โดยการย้ายหอยมือเสือ (Tridacna squamosa) จำนวน 5 ตัว บริเวณหินต่อยหอย จากแนวน้ำตื้น 1.4 เมตร ไปบริเวณน้ำลึก 4-5 เมตร

ติดตั้งสแลนลดแสง (Shading) แนวปะการังเกาะกา จ.กระบี่

วันที่ 16 พ.ค.2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โดยส่วนฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ทดลองติดตั้งสแลนลดแสง (Shading) บริเวณแนวปะการังเกาะกา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

โดยทดลองจำนวน 5 แปลง กับปะการัง 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบแผ่น รูปแบบก้อน และรูปแบบกิ่งก้าน ที่มีลักษณะสีซีดจาง และเปรียบเทียบกับปะการังรูปแบบเดียวกันในบริเวณใกล้เคียง ที่ไม่ได้กางสแลนลดแสง และได้ติดตั้ง data temperature logger เพื่อติดตามอุณหภูมิน้ำทะเล

กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โดยส่วนฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ติดตั้งสแลนลดแสง (Shading) บริเวณแนวปะการังเกาะกา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่

กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โดยส่วนฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ติดตั้งสแลนลดแสง (Shading) บริเวณแนวปะการังเกาะกา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่

กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โดยส่วนฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ติดตั้งสแลนลดแสง (Shading) บริเวณแนวปะการังเกาะกา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่

ประเมินสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช

วันที่ 13-17 พ.ค.2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (สงขลา) สำรวจประเมินสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช

เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (สงขลา) สำรวจประเมินสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช (ขอบคุณภาพ เพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (สงขลา) สำรวจประเมินสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช (ขอบคุณภาพ เพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (สงขลา) สำรวจประเมินสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช (ขอบคุณภาพ เพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

ผลการสำรวจแนวปะการังที่ระดับน้ำทะเลลึกประมาณ 5-15 เมตร อุณหภูมิน้ำ 31.9 องศาเซลเซียส ความเค็ม 32 พีพีที พบปะการังกลุ่มเด่น ได้แก่ ปะการังเขากวางแบบกิ่ง (Acropora sp.) ปะการังที่พบได้โดยทั่วไป ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังสมองร่องยาว (Platygyra daedalea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ฯลฯ และพบปะการังฟอกขาวประมาณ 20 % สีซีดจาง 60 % และปะการังสภาพปกติ 20 %

เจ้าหน้าที่สำรวจสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช (ขอบคุณภาพ เพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

เจ้าหน้าที่สำรวจสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช (ขอบคุณภาพ เพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

เจ้าหน้าที่สำรวจสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช (ขอบคุณภาพ เพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

ปะการังที่ฟอกขาว ได้แก่ ปะการังโขด (Porites sp.) ปะการังจาน (Turbinaria sp.) และปะการังดอกเห็ด (Fungia sp.) ทั้งนี้ยังไม่พบปะการังตายจากการฟอกขาว ส่วนปะการังที่เริ่มมีสีซีดจาง ได้แก่ ปะการังเขากวาง (Acropora sp.) ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora sp.) และปะการังช่องเล็ก (Montipora sp.)

เจ้าหน้าที่สำรวจสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช (ขอบคุณภาพ เพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

เจ้าหน้าที่สำรวจสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช (ขอบคุณภาพ เพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

เจ้าหน้าที่สำรวจสถานภาพปะการังบริเวณหมู่เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช (ขอบคุณภาพ เพจกรมทรัพยากรทางทะเลฯ)

ปลากลุ่มเด่น ได้แก่ ปลาสลิดหินคอดำ (Dascyllus reticulatus) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่พบ คือ เม่นทะเล (Echinotrix calamaris) พบหอยทาก (Drupella sp.) เกาะกินปะการังในบางพื้นที่ ขยะในแนวปะการรังที่พบเป็นพวกเศษอวน เชือก และสายเอ็น เป็นต้น

ติดตั้งสแลนลดแสงแนวปะการัง ด้านทิศตะวันออกของเกาะไม้ท่อน จ.ภูเก็ต

วันที่ 17 พ.ค.2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน และเจ้าหน้าที่โรงแรมเกาะไม้ท่อน ติดตั้งสแลนลดแสง (Shading) บริเวณแนวปะการังด้านทิศตะวันออกของเกาะไม้ท่อน อ.เมือง จ.ภูเก็ต

โดยทดลองกับปะการัง 3 แปลง ที่มีลักษณะสีซีด ฟอกขาว และลักษณะปกติ เปรียบเทียบกับปะการังชนิดเดียวกันในบริเวณใกล้เคียง ที่ไม่ได้กางสแลนลดแสง

อ่านข่าว : โลกเดือด! อุณหภูมิไทยแตะ 43 องศาฯ ปะการังฟอกขาว

สำรวจและติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาวบริเวณเกาะยา จ.ตรัง

วันที่ 18 พ.ค.2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) สำรวจและติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาวบริเวณเกาะยา จ.ตรัง จากการสำรวจด้วยการดำน้ำลึก ที่ระดับความลึก 2-9 เมตร พบว่า เกาะยา มีปะการังสีซีดจาง 10 % ปะการังฟอกขาว 70 % และปะการังสภาพปกติ 20 %

ส่วนใหญ่ปะการังที่ฟอกขาว ได้แก่ ปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปะการังจาน (Turbinaria sp.) ปะการังวงแหวน (Dipsastraea spp.) และปะการังสมองร่องสั้น (Platygyra spp.) และพบกลุ่มดอกไม้ทะเลฟอกขาวและบางส่วนมีสีซีดจางจนเกือบขาว

สำหรับข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเลที่ได้จาก data temperature logger ที่ระดับความลึก 6 เมตร พบว่า อุณหภูมิของน้ำทะเลช่วงกลางเดือนเม.ย.-พ.ค.2567 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 32.78 ± 0.41 องศาเซลเซียส

สำรวจ-ชี้จุดที่สามารถวางทุ่นของเรือบาร์จ ในการซ่อมปรับปรุงกระโจมไฟ สำรวจติดตามสถานการณ์ "ปะการังฟอกขาว" บริเวณเกาะโลซิน

วันที่ 21–23 พ.ค.2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา) ร่วมปฏิบัติงานสำรวจและชี้จุด ที่สามารถวางทุ่นของเรือบาร์จในการซ่อมปรับปรุงกระโจมไฟ เกาะโลซิน ซึ่งดำเนินงานโดยกรมช่างโยธาทหารเรือ

พร้อมนี้ได้สำรวจติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะโลซิน พบปะการังฟอกขาวประมาณ 40 % สีจางลง 30 % และปกติ 30 % ปะการังที่ฟอกขาว ได้แก่ ปะการังโขด (Porites sp.) ปะการังช่องเล็ก (Montipora sp.) และกลุ่มปะการังเขากวางแผ่แบนแบบโต๊ะ (Acropora spp.)

ส่วนปะการังที่มีสีเริ่มซีดจาง ได้แก่ ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora sp.) ปะการังเขากวางแบบกิ่งก้าน (Acropora spp.) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) และปะการังจาน (Turbinaria sp.) อุณหภูมิน้ำทะเล 31 องศาเซลเซียส

ในการสำรวจครั้งนี้ พบปะการังฟอกขาวเพิ่มขึ้น 30 % จากการสำรวจในครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2567 และพบปะการังโขดเริ่มตายจากการฟอกขาว (recently dead)

อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ เริ่มมีฝนตกลงมาในพื้นที่ คาดว่าน่าจะช่วยให้อุณหภูมิน้ำทะเลลดลงได้บ้าง และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังการเกิดปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะโลซิน

จากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เราพบเห็น และการเร่งแก้ไขสถานการณ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจไม่ทันเวลา หรือล่าช้า ซึ่งนั่นหมายถึงผู้คนต่าง ๆ ในประเทศเรา ต้องร่วมมือกันช่วยเหลือ เพื่อป้องกันมิให้เกิด “ปะการังฟอกขาว” เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

นั่นเท่ากับว่า เราต้องทำให้ “โลกเย็นขึ้นด้วย”

เรียบเรียง : เอมพงศ์ บุญญานุพงศ์

อ่านข่าว : โลกเผชิญ “ซูเปอร์เอลนีโญ-ลานีญา” 5 ครั้ง

ขอบคุณภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง