“วราวุธ” เผย ปี 2567 ไทยคงระดับ Teir 2 ปี สะท้อนความมุ่งมั่นป้องกัน-ปราบปรามค้ามนุษย์

สังคม
25 มิ.ย. 67
19:36
172
Logo Thai PBS
“วราวุธ” เผย ปี 2567 ไทยคงระดับ Teir 2 ปี สะท้อนความมุ่งมั่นป้องกัน-ปราบปรามค้ามนุษย์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

วันนี้ (25 มิ.ย.2567) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2567 เวลา 22.00 น. กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี 2024 (2024 Trafficking in Persons Report : 2024 TIP Report) ซึ่งเป็นการจัดระดับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 186 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ

โดยในปีนี้ประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับ Tier 2 เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่น ความพยายาม แม้ว่าจะยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำ

รายงานดังกล่าว ระบุถึงการดำเนินงานของประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงพัฒนาการสำคัญที่รัฐบาลไทยและภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมกันดำเนินการ เช่น การเพิ่มจำนวนการสืบสวนสอบสวนและการดำเนินคดี การเพิ่มการระบุตัวตนผู้เสียหาย และการส่งต่อเพื่อรับบริการ การดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และการระบุตัวตนผู้เสียหาย ที่เป็นแรงงานข้ามชาติได้เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

ตลอดจนศาลมีคำสั่งเรียกค่าสินไหมทดแทน แก่ผู้เสียหายเพิ่มขึ้น และการเปิดศูนย์บูรณาการการคัดแยก (Victim Identification Centers)

นายวราวุธ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการที่ยังไม่สอดคล้องตามมาตรฐานขั้นต่ำของสหรัฐอเมริกา เช่น ขาดความสม่ำเสมอและประสิทธิภาพ ในการสัมภาษณ์แรงงานระหว่างการตรวจแรงงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ยังมีความพยายามไม่เพียงพอ ในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกบังคับใช้แรงงาน

โดยเฉพาะในกรณีการหลอกลวงธุรกรรมออนไลน์ การกำหนดให้ผู้เสียหายชาวต่างชาติต้องพำนักในสถานคุ้มครอง ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งยังมีช่องว่างในการให้บริการของรัฐต่อผู้เสียหาย

การทุจริตคอร์รัปชัน และการมีส่วนเกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่รัฐ อันเป็นอุปสรรคต่อความพยายาม ในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในภาพรวม

นายวราวุธ กล่าวด้วยว่า รายงานดังกล่าว สหรัฐอเมริกามีข้อเสนอแนะที่สำคัญต่อการดำเนินงานของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวง พม. เช่น การบังคับใช้กลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referral Mechanism : NRM) และระยะเวลาฟื้นฟูไตร่ตรอง (Reflection Period) อย่างเต็มที่

การกำหนดให้สถานคุ้มครองของรัฐและองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ (NGOs) ดูแลผู้เสียหายโดยคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหายและให้การดูแลผู้เสียหายรายบุคคล (Individualized Care) อย่างเพียงพอ การรวมแบบฟอร์มคัดกรองการบังคับใช้แรงงานหรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานของกระทรวงแรงงาน

และแบบคัดกรองของกระทรวง พม. ให้เป็นแนวทางเดียวกัน และการเพิ่มการใช้ล่ามและการเข้าถึงบริการล่ามแปลภาษาสำหรับให้บริการผู้เสียหายทั้งในสถานคุ้มครองและในกระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาล เป็นต้น

อ่านข่าว : ยอมเสี่ยง! 94 แรงงานไทยชุดแรกกลับอิสราเอลสู้เพื่อครอบครัว

แม่ยาย "กำนันนก" ให้ปากคำ DSI ปฏิเสธฮั้วประมูล

"พิมล" ถกคณะอนุกรรมการฯ ร่วมคาดการณ์มูลค่าศก. "มวยไทยซอฟต์พาวเวอร์"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง