ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"นอมินี" รุกกวาดเศรษฐกิจไทย เอเลียนสปีชีส์ ยึดพื้นที่ท่องเที่ยว

เศรษฐกิจ
26 ก.ค. 67
16:18
947
Logo Thai PBS
"นอมินี" รุกกวาดเศรษฐกิจไทย เอเลียนสปีชีส์ ยึดพื้นที่ท่องเที่ยว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เหตุการณ์การชกต่อย ท้าตี ระหว่างชาวต่างชาติและคนไทย ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในจังหวัดท่องเที่ยว หลายๆครั้ง ไม่ได้สะท้อนว่า เป็นเหตุการณ์ คนไทยรังแกชาวต่างชาติอย่างเดียว แต่อีกด้านหนึ่งชี้ให้เห็นว่า จังหวัดท่องเที่ยวดังๆ กลายเป็นพื้นที่ถูกยึดครองจากนักท่องเที่ยวสัญชาติ ต่าง ๆ ที่เข้ามาท่องเที่ยวและลงทุนทำธุรกิจอยู่ในพื้นที่

ข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ล่าสุด ระบุว่า ในปี 2567 มีการตรวจสอบธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลที่มีลักษณะนอมินี หรือ การให้คนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าวเพื่อหลีกเลี่ยงการขออนุญาตประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 พบว่า มีจำนวน 26,000 ราย

ส่วนใหญ่เข้ามาทำธุรกิจท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและรีสอร์ต เบื้องต้นล็อคเป้า 9 จังหวัดเป้าหมายท่องเที่ยวที่สุ่มเสี่ยงจะมีทุนเทาเข้ามาครอบครองพื้นที่ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ชลบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และกรุงเทพฯ

จากการคัดกรองเชิงลึกของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า 6 จังหวัดเป้าหมาย มี ชลบุรี เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี กทม. ประจวบฯที่มีกลุ่มทุนเทาเข้าข่ายนอมินี โดยขณะนี้กรมฯได้ออกหนังสือขอดูหลักฐานเพิ่มเติม

จังหวัดท่องเที่ยว เป้าหมาย นอมินีทุน “ยุโรป จีน อินเดีย ปากีสถาน”

ไทยพีบีเอส ออนไลน์ ตรวจสอบข้อมูลธุรกิจที่เข้าข่ายในลักษณะนอมินี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2558-2565 โดยปี 2558 พบเข้าข่าย 13 ราย , ปี 2559 เข้าข่าย 15 ราย , ปี 2560 เข้าข่าย 4 ราย , ปี 2561 เข้าข่าย 2 ราย , ปี 2562 เข้าข่าย 4 ราย , ปี 2563 เข้าข่าย 5 ราย และปี 2565 เข้าข่าย 3 ราย ซึ่ง ทั้งหมด ได้ส่งให้ ดีเอสไอ ตรวจสอบเชิงลึกไปแล้ว และได้ ดำเนินคดี ความผิดเกี่ยวกับนอมินีแล้วรวม 66 ราย

โดยปี2564 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบ พฤติกรรมของกลุ่มทุน ที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิดนอมินี มากสุดถึง 145 ราย เป็นธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง 44 ราย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเกี่ยวเนื่อง 89 ราย ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท 3 ราย และ ธุรกิจบริการ 9 ราย

ปี2566 ดำเนินคดีแค่ 8 ราย จากผลตรวจปี2566 จำนวน 15,000 ราย ตรวจเชิงลึกพบ 400 รายที่ส่อจะเข้าข่าย แต่สุดท้ายจับได้ 8 ราย ส่งดำเนินคดีแล้ว

ส่วนปี2567 ข้อมูลจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เอาจริงเอาจังในการกวาดล้างทุนเทา สามามรถ ดำเนินคดี ผู้ต้องหาได้ 231 ราย ในฐานะนิติบุคคล จำนวน 96 ราย ในฐานะบุคคล จำนวน 135 คน แยกเป็นผู้ต้องหาชาวต่างชาติที่ จำนวน 98 คน ประกอบด้วย ชาวรัสเซีย 67 คน ชาวจีน 4 คน ชาวยูเครน 3 คน ชาวอินเดีย 3 คน และสัญชาติอื่นๆ อีก 21 คน ในฐานความผิด พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และยังมีผู้ต้องหาชาวไทย จำนวน 37 ราย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ตรวจสอบอย่างเข้มข้น โดยล็อกเป้าจังหวัดท่องเที่ยวเป็นหลัก เช่น ที่จ.เชียงใหม่ มีการสอบเชิงลึกจำนวน 34 ราย แต่เบื้องต้นไม่พบความผิดตามพ.ร.บ. ต่างด้าวฯ แต่เหลืออีก 52 ราย ที่ต้องลงพื้นที่ตรวจสอบเพิ่มเติม

ส่วนที่จ.ภูเก็ต พบว่า 52 รายที่เข้าข่าย โดย 7 รายที่ยังไม่พบความผิดปกติ ขณะที่เขตกรุงเทพฯ ย่าน รัชดา ห้วยขวาง ปากคลองตลาด จากการลงพื้นที่ พบว่า 22 ราย ยังไม่พบความผิดปกติเช่นกัน และในพื้นที่กรุงเทพฯ มีเพียง 7 รายที่ยื่นเอกสารหลักฐานการถือครองหุ้นส่วน ซึ่งได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบเชิงลึกแล้ว

นอกจากนี้ ยังได้มีการคัดกรองข้อมูลนิติบุคคลกลุ่มเสี่ยงเบื้องต้น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเน้นธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม/รีสอร์ท และโลจิสติกส์ โดยได้ออกหนังสือให้นิติบุคคลชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการลงทุน รวม 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานีและกรุงเทพมหานคร รวม 495 ราย

สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักที่กรมจะเร่งลงพื้นที่ตรวจสอบในปีนี้ มีจำนวน 392 ราย และจะตรวจสอบเพิ่มเติมอีก 103 ราย แบ่งเป็น เป้าหมายของกรมฯ 29 ราย, ธุรกิจท่องเที่ยวตาม MOU จำนวน49 ราย และกลุ่มเป้าหมายหน่วยงานพันธมิตร จำนวน 25 ราย

อย่างไรก็ตามกรมฯได้ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการแล้ว 8 ครั้งใน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต กรุงเทพฯ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี เหลือในเขตกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะลงพื้นที่ตรวจสอบในช่วงเดือนส.ค. นี้

จากข้อมูลยังพบอีกว่า นักลงทุน 6 อันดับแรกที่เข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ 1.จีน 2.รัสเซีย 3.อังกฤษ 4.ฝรั่งเศส 5.เกาหลีใต้ และ 6.อินเดีย โดยธุรกิจที่ตรวจพบมีหลากหลายประเภทธุรกิจ ซึ่งกรมฯจะเน้นตรวจสอบธุรกิจตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ต่างด้าว และคนต่างด้าวสนใจลงทุน ได้แก่ ธุรกิจซื้อขาย ให้เช่า อสังหาริมทรัพย์ นายหน้าตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร เป็นต้น

นางอรมณ กล่าวว่า ปัญหานอมินิในการธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งที่ เชียงใหม่ ชลบุรี สุราษฎร์ ภูเก็ต ชลบุรี พัทยา ที่มีกลุ่มทุนต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มทุนจากรัสเซีย หรือกลุ่มทุนจากยุโรป กลุ่มทุนจีน ที่ รวมถึงกลุ่มทุน อินเดียและปากีสถานที่ลงทุนกระจายทั่วพื้นที่ของจังหวัดท่องเที่ยวหลักๆของไทย ซึ่เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาการเข้ามาถือครองอย่างไม่เป็นธรรมและป้องกันไม่ให้เข้ามาสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจไทย

เครือข่ายใหญ่ไทย รัสเซีย-จีน แบ่งโซนสัมปทาน

แหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กล่าวว่า ธุรกิจที่กลุ่มทุนเหล่านี้เข้ามาลงทุน ส่วนใหญ่จะเป็น ธุรกิจบันเทิงและร้านอาหาร ร่วมถึงอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในอดีตเป็นกลุ่มรัสเซีย แต่ปัจจุบันมีหลากหลายกลุ่ม ทั้ง กลุ่มทุนจีน อินเดีย ยุโรป เข้ามาทั้งหมด ซึ่งกลุ่มที่เข้ามาแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน เช่น จ.ภูเก็ต ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มรัสเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเพราะเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว

โดยจะจะมีศูนย์กลางที่เป็นเครือข่าย กลุ่มจีน รัสเซีย ปากีสถาน เรียกตัวเองว่า “แก็ง” คุมพื้นที่ต่างๆแม้ว่าจะมีไม่ถึง 10 กลุ่ม แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับคนในพื้นที่รวมถึงเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วย ซึ่งพบว่ามีคนไทยที่มีความเชื่อมโยงในกลุ่มทุนหลายกลุ่ม มีการแบ่งโซนรับผิดชอบ ซึ่งจะมีบริษัทรับทำบัญชีที่จะทราบดี มีการชิงพื้นที่ และรู้ว่าจะติดต่อใครได้

กลุ่มจีนเทาที่เข้ามาลงทุนในไทย คือ คนกลุ่มนี้จะเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจไทยเช่นในอดีต อย่าง ทัวร์ศูนย์เหรียญที่เคยสร้างความเสียหายให้กับระบบท่องเที่ยวของไทยที่กำลังกลับมาอีกครั้ง

ข้อมูลจากกองธุรกิจ พบว่า เม็ดเงินที่ทุนจีนเข้ามาจดทะเบียนใหม่ในช่วง 3 ปี พบว่า ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ทั้ง 3 จังหวัด คือ ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต โดยเพิ่มสูงสุดใน ชลบุรี เพิ่มขึ้นเป็น 846 ล้านบาท

ขณะที่ทุนรัสเซีย พบว่า นับตั้งแต่ช่วงปี 2562 จนถึง ปลายเดือนเม.ย.ปีนี้ ชาวรัสเซียเดินทางเข้ามาใน จ.ภูเก็ต สูงถึง 92,764 คน จากจำนวนชาวรัสเซียที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดต่างๆประเทศไทย 115,329 คน หรือคิดเป็นจำนวน ร้อยละ 81 เมื่อเทียบกับชาวรัสเซียที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดอื่นๆ

 ชาวรัสเซีย ที่เข้ามาจดทะเบียน มีจุดประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่สงวนไว้ให้กับคนไทย

ข้อมูลการขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า มีสถิติสูงขึ้น นับตั้งแต่ปี 2559 - 2565 โดยมีชาวรัสเซียยื่นจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทในพื้นที่ภูเก็ต เฉลี่ย 30 บริษัทต่อปี แต่เมื่อเทียบกับช่วงปี2566 จนถึงเดือนมี.ค.ปีนี้ พบว่า มีชาวรัสเซียจดทะเบียนบริษัทเพิ่มสูงถึง 1,603 บริษัทถือว่าสูงขึ้นกว่า 50 เท่า และ บริษัทฯส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต

สำหรับ สัดส่วนการลงทุนจากสัญชาติรัสเซีย ปี 2566 เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จาก 3 จังหวัด คือ ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต โดยเพิ่มสูงสุดในภูเก็ต มูลค่าเพิ่มขึ้น 29.38 ล้านบาทและยังพบอีก 4 จังหวัด คือ ชลบุรี กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี มีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติเทียบกับไทยสูงขึ้นในทุกๆปี ตั้งแต่ 2564-2567

จากการลงพื้นของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในจังหวัดท่องเที่ยว พบว่า มี 37 คน ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ 35 คน ที่สมุย โดยมี 4 คนที่เข้าข่ายเป็นนอมินีอย่างชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในธุรกิจเช่า/ซื้อสังหาริมทรัพย์ นายหน้า ธุรกิจท่องเที่ยว

ขายชื่อ “จดทะเบียนธุรกิจ -ถือหุ้น” พฤติการณ์นอมินีไทย

สำหรับพฤติกรรมคนไทยที่ยอมให้นักลงทุนต่างชาติใช้ชื่อไปจดทะเบียนธุรกิจ จะได้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 3,000 บาทต่อปีต่อหนึ่งบริษัท บางรายอาจจะใช้ชื่อจดทะเบียนบริษัทมากกว่า 10 แห่งขณะที่นายหน้าหรือกรรมการผู้ถือหุ้นบริษัทบัญชีจะได้ค่าตอบแทน 3-5 หมื่นบาทต่อบริษัท

และอีกรูปแบบ คือ ชาวต่างชาติที่ถือวีซ่าท่องเที่ยว จะติดต่อ นายหน้าให้จดทะเบียนบริษัท หรือ ใช้ชื่อบริษัท ที่นายหน้าจดทะเบียนจัดตั้งไว้ แต่ไม่มีการประกอบกิจการจริง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทคนไทยถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้กรรมการคนไทยรับรอง ยื่นของ Visa non-b และนำไปขอ work permit ให้กับต่างชาติกลุ่มนี้ ต้องการได้รับสิทธิ์อยู่ในประเทศไทย 1 ปี และ เปิดบัญชีธนาคารได้หรือมี Digital wallet

คนไทยที่เป็นนอมินี สังเกตได้ไม่ยาก พฤติกรรมที่พบ คือ เป็นพนักงานบริษัทรับทำบัญชี รวมไปถึงเครือญาติ เข้าไปนั่งเป็นกรรมการผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 51 ต่อ 49 บางรายถือหุ้นถึง 130 บริษัทฯซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ถ้าเทียบกับพฤติกรรมหลายๆอย่างๆ

กฎหมายไทย โทษไม่แรง เปิดช่องสมยอม

นางอรมน กล่าวว่า การกระทำความผิดนอมินีส่วนใหญ่เกิดจากคนไทยยอมรับผลประโยชน์ หรือสมยอม หรือมีที่ปรึกษา กฎหมาย/สำนักงานบัญชีแนะนำ ขอย้ำให้คนไทยระมัดระวังและอย่าให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือ ถือหุ้นแทนคนต่างด้าวเพื่อให้คนต่างด้าวสามารถประกอบธุรกิจ

อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 - 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีโทษปรับรายวันอีกวันละ 10,000 - 50,000 บาท จนกว่าจะเลิกฝ่าฝืน

ซึ่งที่ผ่านมากรมได้ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในการแก้ไขปัญหาการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ระหว่าง 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมสอบสวนคดีพิเศษ กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

มีการลงนามใน MOU ร่วมกัน เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2566 ที่ผ่านมา เพื่อให้การดำเนินงานด้านการประสานแลกเปลี่ยนข้อมูล การกำกับดูแลและการป้องปราม การส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว และการจัดศูนย์ปฏิบัติการร่วมแก้ไขปัญหามีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น และจะมีการหารือร่วมกันในแผนการปฏิบัติงานร่วมกันต่อไป

ปัญหาการถือครองทรัพย์สินแทนต่างชาติยังคงฝั่งรากลึกอยู่ในสังคมไทย ตราบใดที่คนไทยบางส่วนยังคงเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนอยู่และเจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่ฉวยโอกาสช่องโหว่ทางกฎหมาย เปิดทางให้กลุ่มทุนเทาเข้ามาหาผลประโยชน์ในไทยอย่างเอิกเกริกเช่นนี้ ยากที่จะหาทางออกได้

อ่านข่าว:

ไทยเนื้อหอม 6 เดือน เงินลงทุนพุ่ง 4.5 แสนล้าน บีโอไอเร่งโรดโชว์

น่าห่วง! 500 ธุรกิจสมุนไพรเสี่ยงปิดยังไม่ผ่าน GMP

เช็ก! เงื่อนไข "ดิจิทัลวอลเล็ต" ขั้นตอนลงทะเบียน "ทางรัฐ"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง