กรณีการระบาดของโรคฝีดาษวารนร หรือ (MPOX) ซึ่งล่าสุดในประเทศไทยเพิ่งมีรายงานผู้ป่วยรายแรกเป็นชาวยุโรป เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา รอผลตรวจยืนยันสายพันธุ์ว่าเป็น Clade 1B หรือไม่ พร้อมติดตามสอบสวนโรค 43 คนนั่งใกล้ชิดบนเครื่องบิน
- ไทยพบผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" รอผลตรวจยืนยันสายพันธุ์ Clade 1B
- ผู้เชี่ยวชาญเตือน "ไทย" เตรียมรับมือ "ฝีดาษลิง" สายพันธุ์ใหม่
วันนี้ (20 ส.ค.2567) เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ภายหลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้เตรียมความพร้อมในการขึ้นทะเบียนชุดตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อฝีดาษวานร (MPOX) เพื่อรองรับสถานการณ์
โดยขณะนี้ได้จัดทำแนวทางการประเมินด้านคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอด ภัยของชุดตรวจวินิจฉัยฝีดาษวานร มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ผลิต และผู้นำเข้าชุดตรวจสามารถจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับข้อกำหนด เช่น รายงานการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย มาตรฐานที่อ้างอิง ทำให้กระบวนการขึ้นทะเบียนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการวินิจฉัยโรคได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
ทั้งนี้ อย.ได้มีการขึ้นทะเบียนชุดตรวจการติดเชื้อฝีดาษวานรแล้ว โดยสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้ทาง https://medical.fda.moph.go.th/
อ่านข่าว สภากาชาดไทยเปิดฉีดวัคซีนฝีดาษลิง "ไม่ฟรี" ป้องกันได้ 80-85%
การมีชุดตรวจที่มีคุณภาพมาตรฐานในประเทศ จะช่วยลดภาระด้านสาธารณสุขในระยะยาว ด้วยการควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดได้ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งการตรวจพบและรักษาได้อย่างรวดเร็วจะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ ป้องกันการแพร่กระจายของโรคสู่ชุมชน ทำให้ระบบสาธารณสุขของไทยมีความมั่นคง และพร้อมรับมือกับโรคฝีดาษวานรในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สถานการณ์โรคฝีดาษลิง (MPOX) หลังพบการระบาดจากทวีปแอฟริกา
นอกจากนี้นย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จได้เปิดจุดบริการเฉพาะสำหรับรองรับการขึ้นทะเบียนชุดตรวจ เพื่อให้การบริการขึ้นทะเบียนเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยตรวจสอบเว็บไซต์กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ของ อย. https://medical.fda.moph.go.th/press-release/newsmpox/ หรือทาง QR Code
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่าการระบาดของเชื้อ mpox ในพื้นที่บางส่วนของแอฟริกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีความน่ากังวลระดับนานาชาติโรคติดต่อร้ายแรงนี้ ซึ่งเดิมเรียกว่าโรคฝีดาษลิง ได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 450 คน ระหว่างการระบาดครั้งแรกในคองโก
ปัจจุบันโรคนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วบริเวณบางส่วนของแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันออกแล้ว นักวิทยาศาสตร์ต่างกังวลว่าโรคกลายพันธุ์ใหม่จะแพร่กระจายเร็วแค่ไหน และอัตราการเสียชีวิตที่สูงแค่ไหน
อ่านข่าว
อนามัยโลกชี้ "เอ็มพอกซ์" ไม่ระบาดรุนแรงเท่าโควิด-19
รายแรก! "ฝีดาษลิง" ในฟิลิปปินส์ ไม่มีประวัติเดินทางนอกประเทศ