ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชมภาพปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์บังดาวเสาร์" ครั้งสุดท้ายของปี

Logo Thai PBS
ชมภาพปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์บังดาวเสาร์" ครั้งสุดท้ายของปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดภาพปรากฏการณ์หาชมยาก "ดวงจันทร์บังดาวเสาร์" และ ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ ครั้งสุดท้ายของปี 2567

วันนี้ (15 ต.ค.2567) เพจเฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เปิดเผยภาพปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์บังดาวเสาร์" ครั้งสุดท้ายของปี ที่เกิดขึ้นในช่วงเช้ามืดของวันนี้ ในช่วงเวลาประมาณ 02.19 - 03.00 น. (ในแต่ละพื้นที่มีช่วงเวลาการบังเริ่มและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน) ช่วงดังกล่าวตรงกับดวงจันทร์ขึ้น 13 ค่ำ มีดาวเสาร์ปรากฏเป็นจุดดาวเล็ก ๆ ใกล้กับดวงจันทร์ ขณะเริ่มต้นปรากฏการณ์ ดวงจันทร์ฝั่งพื้นที่ผิวส่วนมืด เคลื่อนไปบังดาวเสาร์ จนดาวเสาร์ลับหายไป และโผล่พ้นออกมาทั้งดวงอีกครั้งด้านฝั่งเสี้ยวสว่างของดวงจันทร์

ภาพ : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพ : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพ : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ปรากฏการณ์ดังกล่าวสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าเฉพาะภาคเหนือ บางส่วนของภาคกลาง บางส่วนของภาคตะวันตก และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนพื้นที่อื่นสังเกตเห็นเป็นปรากฏการณ์ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์

"ดวงจันทร์บังดาวเสาร์" เป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่หาชมยาก เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เป็นมุมมองจากโลกในแนวสายตา เมื่อมองจากโลกออกไปจึงเห็นว่าดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวเสาร์ในช่วงเวลาหนึ่ง ในปี 2567 นี้ ในไทยสามารถสังเกตการณ์ได้ 2 ครั้ง ครั้งแรก คืนวันที่ 25 ก.ค.2567 และครั้งที่สอง คืนวันที่ 15 ต.ค.2567

สำหรับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในเดือน ต.ค.ที่น่าติดตามถัดจากนี้ ได้แก่ "ซูเปอร์ฟูลมูน" หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี คืนวันที่ 17 ต.ค.2567 ตรงกับวันออกพรรษา ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย สังเกตการณ์ได้ตลอดคืน

นอกจากนี้ ยังมีดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส หรือ C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ปรากฏในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตก ไปจนถึงช่วงปลายเดือน ต.ค. 

อ่านข่าว :

เปิดภาพ "ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส" เหนือฟ้าเมืองไทย

"สเปซเอ็กซ์" จอดบูสเตอร์เทียบแท่นปล่อยยานสำเร็จครั้งแรก

คืนออกพรรษา 17 ต.ค.นี้ "ซูเปอร์ฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง