ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ใครสั่ง! "ลูกกอริลลา" ปลายทางเข้าไทย ยึดคาสนามบินอิสตันบูล

สิ่งแวดล้อม
24 ธ.ค. 67
11:29
846
Logo Thai PBS
ใครสั่ง! "ลูกกอริลลา" ปลายทางเข้าไทย ยึดคาสนามบินอิสตันบูล
ใครสั่ง! "ลูกกอริลลา" นั่งงงในลังไม้ หลังถูกศุลกากรยึดคาสนามบินอิสตันบูล ตุรกี พบปลายทางจะมา กทม.ประเทศไทย เอ็ดวิน วีค ชี้ราคา 2-3 ล้านบาทวอนกรมอุทยานฯ-ปทส.แกะรอยขบวนการลอบนำสัตว์บัญชี 1 ไซเตส

วันนี้ (24 ธ.ค.2567) สำนักข่าว Daily Sabah  รายงานว่า เจ้าหน้าที่ศุลกากร สนามบินอิสตันบูล ประเทศตุรกี พบลูกกอริลลา กำลังนั่งงง ๆ โผล่ออกมาจากลังไม้ โดยมันสวมเสื้อยืด หลังเจ้าหน้าที่ตรวจยึดได้และเปิดกรงไม้ออก 

ข้อมูลระบุว่า ทีมปฏิบัติการสนามบินอิสตันบูล ได้ติดตามสินค้าประเภทกรง ส่งจากไนจีเรีย มายังประเทศไทย จนได้พบกรงบรรจุลิงสายพันธุ์กอริลลา ซึ่งเป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง และอยู่ในบัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (CITES)

คาดว่าลูกลิงกอริลลาตะวันตกตัวนี้ มาจากขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า ส่งมาจากประเทศไนจีเรีย ส่งผ่านสนามบินอิสตันบูล ของตุรกี และมีปลายทางที่กรุงเทพ มหานคร หลังตรวจพบลูกกอริลลาถูกส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ เพื่อดูแล ข้อมูลล่าสุดอาการของลูกกอริลลา ดีขึ้นกว่าตอนแรกที่พบในกรง แต่ยังต้องเฝ้าดูอาการ

ข้อมูลจากหน่วยงานด้านป่าไม้ ระบุว่าปี 2566 ประเทศไนจีเรีย มีกอริลลาอยู่ประมาณ 100 ตัวใกล้สูญพันธุ์ แต่ยังมีปัญหาการลักลอบออกจากพื้นที่ 

อ่านข่าว“พาต้า” แจ้งครอบครองกอริลล่า “บัวน้อย” สัตว์บัญชีไซเตสแล้ว

ลูกลิงกอริลลา ที่ตรวจยึดได้ที่สนามบินอิสตันบูล ประเทศตุรกี (ภาพ:สำนักข่าว Daily Sabah World Forum ข่าวสารต่างประเทศ)

ลูกลิงกอริลลา ที่ตรวจยึดได้ที่สนามบินอิสตันบูล ประเทศตุรกี (ภาพ:สำนักข่าว Daily Sabah World Forum ข่าวสารต่างประเทศ)

ลูกลิงกอริลลา ที่ตรวจยึดได้ที่สนามบินอิสตันบูล ประเทศตุรกี (ภาพ:สำนักข่าว Daily Sabah World Forum ข่าวสารต่างประเทศ)

จี้สอบใครสั่ง-ของเล่นคนรวย-ราคาแพงหายาก

นายเอ็ดวิน วีค มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ขณะนี้อยากให้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) สืบหาขบวนการลักลอบนำกอริลลามาไทย ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าปลายทางที่เข้ามาเป็นสวนสัตว์หรือในบ้านคนรวย ที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก

เป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก ถ้าจะมีการลักลอบนำเข้ามาไทยจริง หรืออาจมีปลายทางไปประเทศที่สาม ซึ่งลูกกอริลล่าตัวนี้มีราคาแพง 2-3 ล้านบาท และมองว่า เป็นเรื่องยากมาก หากจะเลี้ยงกอริลลาโดยไม่มีข่าวรั่ว เพราะเป็นสัตว์ป่าขนาดใหญ่

นายเอ็ดวิน กล่าวอีกว่า ขณะนี้อยากให้ไซเตส และหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของไทย และปทส.ต้องสืบหาขบวนการลักลอบนำลิงกอริลลามาไทยให้ชัดเจนและวางมาตรการป้องกัน เพราะไม่ใช่แค่ลิงหายากชนิดนี้

แต่ในช่วงต้นเดือน ธ.ค.นี้ ยังมีหลักฐานว่า มีการลักลอบนำอุรังอุตัง 2-3 ตัวจากเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เข้ามาไทยแล้ว โดยอยากให้ตำรวจสืบหาคนที่เป็นคนสั่งตัวจริงไม่ใช่แค่คนกลาง

สแกนใบสั่งกอริลลา ไม่ตัดไทยแค่ทางผ่าน

ขณะที่นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ขณะนี้ได้ประสานกับไซเตส และทางการของไนจีเรีย และตุรกี รวมทั้งประสานกับตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) และตำรวจ ปทส. เพื่อตรวจสอบเส้นทางการลักลอบนำลูกกอริลลาเข้ามาไทยจริงหรือไม่ หรือเป็นแค่การกล่าวอ้างและใช้ไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศที่สาม

จากการตรวจสอบเบื้องต้นไทยไม่มีการอนุญาตให้นำเข้ากอริลลาเข้าไทย เพราะเป็นสัตว์ป่าในบัญชี 1 ห้ามซื้อ ห้ามขาย ยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัยระหว่างสวนสัตว์ แต่ก็ไม่พบว่ามีใครขออนุญาตผ่านทางไซเตสประเทศไทย

บัวน้อย กอริลลา1 เดียวในไทย นำเข้าก่อนปี 2535

บัวน้อย กอริลลา1 เดียวในไทย นำเข้าก่อนปี 2535

บัวน้อย กอริลลา1 เดียวในไทย นำเข้าก่อนปี 2535

โดยไทยมีกอริลลาตัวเมียตัวเดียวคือ บัวน้อย ที่อยู่กับสวนสัตว์พาต้า และเข้ามาก่อนที่จะมีกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 ซึ่งหลังจากกรมอุทยานฯได้เปิดให้ขึ้นทะเบียนสัตว์ป่าควบคุมพิเศษประเภท ก.ในบัญชีไซเตส เจ้าของได้นำมาแจ้งครอบครองแล้ว

ค่อนข้างตกใจที่มีชื่อของไทยเป็นปลายทางในการลักลอบนำลูกกอริลลาเข้ามา ขณะนี้มอบหมายให้สแกนทุกสวนสัตว์ที่มีการครอบครองสัตว์ป่าควบคุมชนิด ก. ที่มีจำนวน 10 ชนิดในนั้นมีกอริลลารวมอยู่ด้วย

สำหรับกอริลลา ในไทยมีเพียงบัวน้อย ที่อยู่ในสวนสัตว์พาต้ามาเกือบ 30 ปี โดยถือเป็นกอริลลาเพียงตัวเดียว ซึ่งก่อนหน้านี้ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรา 19 กำหนดอนุบัญญัติให้มีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่า ปัจจุบันมี 67 ชนิด 4 กลุ่มมีผลบังคับใช้

โดยผู้ครอบครองสัตว์ป่าควบคุมชนิด ก. หรือสัตว์ดุร้าย และมีขนาดใหญ่ จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ สิงโต กอริลลา ชิมแพนซี โบโนโบ้ อนาคอนดา อุรังอุตังสุมาตรา อุรังอุตังบอร์เนียว กอริลลาภูเขา เสือชีต้า เสือจากัวร์ ต้องแจ้งครอบครองภายใน 60 วันโดยครบกำหนดสำหรับกลุ่มนี้เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา

อ่านข่าว : "กัญจนา" บริจาค 40 ล้าน ให้คณะสัตวแพทย์ มช. สร้าง รพ.ช้าง อุทิศให้ "พังกันยา"

สปสช.ออกประกาศเลื่อนบังคับใช้มะเร็งรักษาทุกที่ 31 มี.ค.68

พม.ลดราคาที่อยู่อาศัยให้กลุ่มเปราะบาง ของการเคหะฯ 102 โครงการทั่วประเทศ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง