สหรัฐฯ ออกมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องประดับสำหรับเด็ก

ต่างประเทศ
25 พ.ย. 54
14:17
27
Logo Thai PBS
สหรัฐฯ ออกมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องประดับสำหรับเด็ก

ASTM วางมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องประดับสำหรับเด็ก โดยเฉพาะสารแคดเมียม

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.)  กระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 หน่วยงาน American Society for Testing and Method (ASTM) 1/ สหรัฐอเมริกาได้อนุมัติมาตรฐาน ASTM F2923-11 ว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องประดับสำหรับเด็ก วิธีการทดสอบและการจำกัดปริมาณแคดเมียมในสินค้าเครื่องประดับสำหรับเด็กที่ทำจากโลหะ โดยปรับใช้จากข้อกำหนดของ the US Consumer Product Safety Commission (CPSC) วัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก สาระสำคัญ
 
1.มาตรฐานใหม่ครอบคลุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องประดับสำหรับเด็ก แม่เหล็ก แบตเตอรี่ นิกเกิล ตะกั่วจากสีและที่อยู่ในพื้นผิว รวมทั้งโลหะหนักอื่นๆ ที่ใช้เคลือบพื้นผิว
 
2.เครื่องประดับสำหรับเด็ก หมายถึง เครื่องประดับที่ออกแบบหรือตั้งใจผลิตเพื่อให้ใช้กับเด็กอายุต่ำกว่าหรือเท่ากับ 12 ปี เช่น Fine and Fashion Jewelry แต่ไม่รวม เครื่องประดับที่ใช้กับตุ๊กตาเด็กเล่น,กระเป๋า,เข็มขัด และรองเท้า
 
3.ข้อกำหนดเกี่ยวกับสารเคมี
3.1 ตะกั่วในพื้นผิว : ให้มีตะกั่วได้ไม่เกิน 100 ppm. ทั้งนี้ ไม่รวมตะกั่วในสิ่งทอ ไม้ โลหะมีค่า หินมีค่า วัสดุที่มีแหล่งกำเนิดจากพืชหรือสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมาย Consumer Product Safety Improvement Act (CPSIA)
3.2 สารละลายโลหะหนักที่ใช้เคลือบพื้นผิว : กำหนดปริมาณสูงสุดของสารละลายโลหะหนัก
3.3 แคดเมียมในวัสดุพื้นผิวที่เป็นโลหะและพลาสติก: เครื่องประดับสำหรับเด็กที่มีส่วนประกอบของโลหะและพลาสติก/โพลิเมอร์จะต้องทดสอบปริมาณสารแคดเมียมที่ migrate ออกมา ทั้งนี้ หากมีน้อยกว่า 300 ppm. ไม่ต้องทดสอบ กรณีที่มีส่วนประกอบมากกว่า 300 ppm. ต้องทดสอบการ migrate หรือ การละลายดังนี้
(2) ส่วนประกอบที่ไม่ใช่ชิ้นส่วนขนาดเล็กและอาจจะเอาเข้าปากได้ จะต้องทดสอบการ extract ของแคดเมียมตามมาตรฐาน CPSC Standard Operating Procedure for Measuring Lead in Children’s Metal Jewelry, February 3,2005, Section II  แคดเมียมที่ถูกสกัดออกมาจะต้องไม่เกิน 18 µg
3.4 นิกเกิลในวัสดุที่เป็นโลหะ : ใช้วิธีทดสอบการ migrate ของนิกเกิล
3.5 liquid Filled Jewelry เช่น การทำความสะอาดเครื่องสำอาง แป้งพอกหน้า แป้งผง เจล และแป้งที่ใช้ในเครื่องประดับสำหรับเด็ก (ไม่รวมวัสดุที่ใช้ในทางศิลปะ) : การทดสอบความเป็นอันตรายและทดสอบจุลินทรีย์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐาน ASTM F963
 
4. Mechanical Requirement : ต้องทดสอบความเป็นอันตรายโดยใช้มาตรฐาน ASTM F963 Toy Safety Standard เช่น อันตรายจากแม่เหล็กที่อาจหลุดออกมาจากสินค้าและเด็กอาจกลืนเข้าสู่ร่างการ ต่างหูที่ใช้แม่เหล็กแนบติดผิว การทดสอบการบีบรัดของสร้อยคอ เครื่องประดับสำหรับเด็กที่มีแบตเตอรี่ ฯลฯ เป็นต้น 
 
นายสุรศักดิ์ กล่าว ว่ามาตรฐาน ASTM F2923-11 เป็นมาตรฐานสมัครใจและได้รับการยอมรับจากภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ ซึ่งในอนาคตรัฐบาลสหรัฐฯ อาจนำมาอ้างอิงและกำหนดเป็นกฎระเบียบหรือมาตรฐานบังคับใช้ในประเทศ ผู้ประกอบการจึงควรทำความเข้าใจมาตรฐานดังกล่าวเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป

ทั้งนี้ ASTM เป็นองค์กรที่ไม่เน้นผลกำไรมีขนาดใหญ่ที่สุดองค์กรหนึ่ง ทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานสมัครใจและเป็นเวทีสำหรับการพัฒนามาตรฐานสมัครใจระหว่างประเทศในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและภาคบริการ สมาชิกประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ภาครัฐและนักวิชาการ จัดทำมาตรฐานภายใต้หลักเกณฑ์ของ WTO และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง