ยูเอ็นชี้
คำเตือนนี้มีขึ้นจากรายงานฉบับที่ 5 ของโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ ซึ่งสรุปออกมา 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการประชุมสุดยอด ริโอ+20 ในบราซิล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติระบุว่า เวลาเหลือน้อยเต็มทีขณะที่โลกกำลังจะมีประชากร 9,000 ล้านคนในปีคริสตศักราช 2050 ดังนั้นประเทศต่าง ๆ ต้องเร่งมือป้องกันสิ่งแวดล้อมโลกจากหายนะและภัยพิบัติ
นอกจากการเพิ่มของประชากรแล้วการขยายตัวของเมืองและการบริโภค ยังถูกระบุว่า จะเป็นตัวสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมโลกอย่างที่ไม่สามารถแก้ไข อย่างการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่เป็นฟอสซิล หรือ ซากพืชซากสัตว์ที่ถูกกดอัดถมทับกันมาเป็นเวลานานนั้น นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าเป็นตัวเร่งให้เกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น แล้งจัด หรือน้ำท่วมรุนแรง
โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ เพ่งเล็งนโยบายไปที่สาเหตุเบื้องหลังของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศดังกล่าว ซึ่งรวมถึงโลกาภิวัฒน์ ซึ่งสหประชาชาติ ยังระบุด้วยว่า ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2.5 องศาเซลเซียสในปีคริสตศักราช 2100 จะมีความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นประมาณร้อยละ 1-2 ของจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก