ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปลอมซะเหมือน ! คลิปเก่าเล่าใหม่ หลอกคลิก 8 แสนวิว


Verify

22 ต.ค. 67

ณัฐพล ทุมมา

Logo Thai PBS
แชร์

ปลอมซะเหมือน ! คลิปเก่าเล่าใหม่ หลอกคลิก 8 แสนวิว

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/1759

ปลอมซะเหมือน ! คลิปเก่าเล่าใหม่ หลอกคลิก 8 แสนวิว
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ขณะที่พายุเฮอร์ริเคนมิลตันเคลื่อนตัวผ่านรัฐฟลอริดาในเดือนตุลาคม 2567 ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้แชร์วิดีโอตัดต่อที่เพิ่มพายุหมุนและสายฟ้าฟาดเข้าไปในคลิป โดยวิดีโอดังกล่าวมียอดรับชมหลายแสนครั้ง อย่างไรก็ตาม คลิปต้นฉบับนั้นบันทึกเหตุการณ์จากพายุเฮอร์ริเคนแมทธิวที่พัดถล่มฟลอริดาตั้งแต่ปี 2559 และไม่มีความเกี่ยวข้องกับเฮอร์ริเคนมิลตันปี 2567

"โคตรน่ากลัว เฮอร์ริเคนมิลตันในรัฐฟลอริดา" ผู้ใช้งาน X เขียนคำบรรยายประกอบวิดีโอในโพสต์เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567

โพสต์ดังกล่าวแชร์วิดีโอที่แสดงให้เห็นพายุหมุนและฟ้าผ่าอยู่หลังอาคาร

พายุเฮอร์ริเคนมิลตันพัดขึ้นฝั่งรัฐฟลอริดาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567 โดยลม ฝน และคลื่นพายุรุนแรงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 16 ราย และครัวเรือนนับล้านไม่มีไฟฟ้าใช้ (ลิงก์บันทึก)

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ X ที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ

คลิปดังกล่าวถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างลักษณะเดียวกันในเฟซบุ๊กและติ๊กตอก ซึ่งมีผู้เข้าชมแล้วกว่า 800,000 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม วิดีโอดังกล่าวถูกตัดต่อจากวิดีโอต้นฉบับ ซึ่งบันทึกภาพพายุเฮอร์ริเคนแมทธิวในปี 2559

พายุเฮอร์ริเคนแมทธิว

การค้นหาภาพย้อนหลังพบวิดีโอที่สอดคล้องกันในช่วงที่ 59.25 ของวิดีโอในช่องยูทูบชื่อ ทอร์นาโดแทร็กเกอร์ส (Tornado Trackers)

คลิปวิดีโอดังกล่าวเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2560 แต่ไม่มีพายุหมุนหรือฟ้าผ่าเหมือนที่ปรากฏในโพสต์เท็จ (ลิงก์บันทึก)

เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์ X ที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ (ซ้าย) และวิดีโอต้นฉบับที่ถูกเผยแพร่ในยูทูบ (ขวา)

วิดีโอต้นฉบับนั้นถูกดัดแปลงด้วยการเพิ่มพายุหมุนและสายฟ้าฟาดเข้าไปในวิดีโอต้นฉบับ

คำบรรยายของวิดีโอระบุว่า วิดีโอนี้ถ่ายภาพเฮอร์ริเคนแมทธิวเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2559 ในเมืองแจ็กสันวิลล์ รัฐฟลอริดา

AFP สามารถระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของสถานที่ที่ปรากฏในวิดีโอได้จากภาพระดับถนนในกูเกิลว่าคือที่ชายหาดแจ็กสันวิลล์ รัฐฟลอริดา (ลิงก์บันทึก)

เฮอร์ริเคนแมทธิว ซึ่งเป็นพายุระดับ 5 ได้พัดถล่มแถบแคริบเบียนและชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 500 คนในประเทศเฮติ (ลิงก์บันทึก)

วิดีโอดังกล่าวยังถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์คลังภาพ Adobe Stock อีกด้วย (ลิงก์บันทึก)

ก่อนหน้านี้ วิดีโอเดียวกันนี้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จว่าเป็นภาพเหตุแผ่นดินไหวในไต้หวันเมื่อเดือนเมษายน 2567 และพายุไซโคลนฮิดายาซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในแทนซาเนียในเดือนพฤษภาคม 2567

ข้อมูลจาก AFP

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวปลอมคลิปตัดต่อหลอกลวงด้วย AIหลอกลวงพายุหลอกผู้สูงอายุโดนหลอกAIAI GenAI Generated
ณัฐพล ทุมมา
ผู้เขียน: ณัฐพล ทุมมา

จากทหารถือปืน เปลี่ยนมาเป็นนักข่าวถือไมค์ สู่การเป็นนักเขียนถือปากกา

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด