ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้ไหม ? “ปลา” ดื่มน้ำอย่างไร


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

26 ธ.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

รู้ไหม ? “ปลา” ดื่มน้ำอย่างไร

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/2089

รู้ไหม ? “ปลา” ดื่มน้ำอย่างไร
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

สัตว์ทุกชนิดต้องการ “น้ำ” เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับมนุษย์อย่างเรา ๆ การนำน้ำเข้าสู่ร่างกายนั้นแสนง่ายเพียงดื่มเข้าไป แล้ว “ปลา” ที่อาศัยอยู่ในน้ำล่ะ นำ “น้ำ” ไปหล่อเลี้ยงชีวิตด้วยวิธีไหนกัน ?

คำตอบของคำถามที่ว่าปลาดื่มด้วยวิธีไหนก็คือการ “ออสโมซิส” (osmosis) กระบวนการที่ปลาใช้ดูดซึมน้ำผ่านทางผิวหนังและเหงือก

อย่างไรก็ตาม การที่ปลาจำเป็นต้องดื่มน้ำหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ปลาได้รับหรือสูญเสียจากร่างกายผ่านกระบวนการออสโมซิส นอกจากนี้การอาศัยอยู่ใน “น้ำจืด” หรือ “น้ำเค็ม” ก็มีผลกับปริมาณน้ำที่ต้องการด้วย

ปลาอาศัยอยู่ในน้ำ

โดย “ปลาน้ำจืด” ของเหลวภายในร่างกายปลาจะมีความเค็มมากกว่าน้ำรอบ ๆ ตัว ดังนั้น เพื่อหาสมดุลทางเคมี น้ำจะถูกดูดซึมผ่านผิวหนังและเหงือกผ่านการออสโมซิส ซึ่งโดยทั่วไปปลาน้ำจืดไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำมากนัก เนื่องจากหากดื่มน้ำมากเกินความจำเป็น ความเข้มข้นของเกลือในร่างกายจะลดลงจนทำให้กล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานผิดปกติ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ “ปลาน้ำจืด” มักจะฉี่บ่อยเพื่อขับน้ำส่วนเกินออกไปนั่นเอง

ในทางกลับกัน “ปลาน้ำเค็ม” หรือ “ปลาทะเล” จำเป็นต้องดื่มน้ำเพื่อให้ทุกอย่างสมดุล โดยน้ำจะไหลออกจากอวัยวะภายในที่มีความเค็มน้อยกว่าผ่านผิวหนังและเหงือกไปยังน้ำที่อยู่รอบ ๆ ตัว ที่มีความเค็มมากกว่า โดยที่แตกต่างจากปลาน้ำจืดก็คือ ปลาน้ำเค็มจะมีการนำน้ำบางส่วนผ่านเข้ามาทางปากโดยตรงไปยังระบบย่อยอาหารแทนที่จะเป็นการออสโมซิสที่เหงือกแบบปลาน้ำจืด

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น “ปลาน้ำเค็ม” มีปัญหาสำคัญอยู่อย่างหนึ่งก็คือ แม้ว่า “น้ำ” จะเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แต่หากไม่ควบคุมการบริโภคน้ำเค็ม ร่างกายมีความเสี่ยงที่จะมีเกลือมากเกินไป ซึ่งเป็นปัญหาไม่แพ้การได้รับเกลือน้อยเกินไป เพื่อป้องกันปัญหานี้ “ปลาทะเล” จึงมีเซลล์พิเศษในเหงือกซึ่งทำหน้าที่ดูดเกลือออก

ขณะที่ “ฉลาม” จะมีอีกหนึ่งวิธีพิเศษใช้กำจัดเกลือส่วนเกินออกไปได้ด้วยนั่นก็คือ “ต่อมเกลือ” ในทวารหนัก


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : iflscience

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ปลาดื่มน้ำปลาดื่มน้ำน้ำน้ำจืดน้ำเค็มปลาน้ำเค็มปลาทะเลปลาน้ำจืดออสโมซิสosmosisวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์น่ารู้Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด