"ผู้ช่วย รมต.กต." เผยแจง "กมธ.มั่นคงฯ" ปมส่งตัวชาวอุยกูร์เป็นไปสร้างสรรค์ ย้ำส่งกลับจีนเป็นทางออกดีสุด เล็งหารือเชิญผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรีไปติดตามชีวิตชาวอุยกูร์ แจงส่งตัวกลับครั้งนี้ต่างจาก 11 ปีที่แล้ว จีนมีหนังสือการันตีความปลอดภัย
ภาคประชาสังคม-นักสิทธิมนุษยชน ถกประเมินสถานการณ์ หลังไทยส่งชาวอุยกูร์กลับจีน พร้อมแถลงจุดยืน รัฐบาลแก้ปัญหาชาวอุยกูร์ล่าช้า -ไม่เข้าใจหลักมนุษยธรรม เรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลอัตลักษณ์ชาวอุยกูร์ และกระบวนการส่งกลับทั้งหมด เพื่อยืนยันความโปร่งใส
แม้จะมีเสียงคัดค้านการส่งตัวชวอุยกูร์กลับประเทศจีน แต่สิ่งที่รัฐบาลย้ำตลอดเป็นการกลับโดยสมัครใจ และเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งนายกฯ ได้รับรายงานจากคณะผู้แทนไทยส่งชาวอุยกูร์ 40 คน ขณะที่สถานทูตจีนเผยแพร่ภาพกลับบ้านของชาวอุยกูร์ ชี้ว่า มีการปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมาย ไม่ได้มีความผิดรุนแรง จะเน้นการปกป้องสิทธิของบุคคลเหล่านี้อย่างดีที่สุด
กระแสข่าวเรื่องการส่งตัวชาวอุยกูร์ในไทยกลับจีน ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจเกี่ยวกับชะตากรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้อีกครั้ง ท่ามกลางความกังวลว่า สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์กำลังถดถอย ชาวอุยกูร์ในต่างประเทศหลายคน ระบุว่า พวกเขาต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัว โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลของประเทศที่พวกเขาอาศัยอยู่ ยกระดับความสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน
ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กังวลที่รัฐบาลไทยส่งชาวอุยกูร์ 40 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวที่ประเทศไทยมานานกว่า 11 ปี ไปยังประเทศจีน ชี้เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ในหลักการไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตราย กรณีที่มีความเสี่ยงต่อการทรมาน ทารุณกรรม หรือการทำร้ายที่ไม่สามารถแก้ไขได้หากถูกส่งกลับ
การเดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี วันที่ 5-8 ก.พ. นี้ ได้รับความสนใจเป็นวงกว้างจากกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากจีนอาจเพิ่มแรงกดดันให้ไทยยอมส่งตัวชาวอุยกูร์ 48 ชีวิต กลับไปยังจีนด้วย ชวนวิเคราะห์แนวโน้มของการส่งตัวชาวอุยกูร์กลุ่มนี้กลับจีน มีความเป็นไปได้มากแค่ไหน
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการส่งตัวชาวอุยกูร์ 48 คน กลับไปจีน กำลังสร้างแรงกดดันต่อไทยไม่น้อย และอาจกระทบต่อบทบาทไทยในเวทีโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองและความมั่นคง ประเมินว่า ไทยมีโอกาสมากกว่าความเสี่ยงในการแก้ปัญหานี้ ไทยต้องปรับสมดุลใหม่ สานสัมพันธ์กับสหรัฐฯ แต่ไม่ทอดทิ้งจีน
เมื่อ 13 มี.ค. 67 ครบ 10 ปี ที่ชาวอุยกูร์ มากกว่า 200 คน ถูกพบในสวนยางพารา จ.สงขลา ผู้หญิงและเด็ก ถูกส่งตัวไปตุรกี ขณะที่บางส่วนถูกผลักดันกลับจีน จนถูกกดดันจากประชาคมโลก ทำให้ส่วนที่เหลือยังคงถูกกักตัวในไทย การกักตัวที่ยาวนานถึง 10 ปี มีข้อมูลระบุว่า หน่วยงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ และถูกตั้งข้อสังเกตว่า อาจเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ
ติดตามชมข่าววันใหม่ ไทยพีบีเอส : สั่งติดตามผู้ก่อความไม่สงบหลังยิงถล่ม ชคบ., ประมงพื้นบ้านออกหาปลาฤดูมรสุมเลี้ยงครอบครัว, วิกฤติน้ำเค็มสงขลารอบ 30 ปี ชาวบ้านเร่งกู้นาข้าว ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 05.00 - 08.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live