ครอบครัวอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ตัดสินใจเปิดเผยอาการป่วยของอดีตผู้นำ เพื่อต้องการให้คนได้เข้าใจและตระหนักถึงความน่ากลัวของ "ภาวะสมองเสื่อม" ไทยพีบีเอสออนไลน์ชวนทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และแนวทางการดูแลผู้ป่วยจากอาการนี้
ยาคลายกล้ามเนื้อ คือ ยาที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดเฉียบพลันจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อส่วนคอ กล้ามเนื้อส่วนหลัง กล้ามเนื้อแขนขา หรือข้อต่อตามส่วนต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการบาดเจ็บ นั่งทำงานผิดท่า หรือเกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งก็มีข้อมูลว่าหากมีการรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อบ่อย ๆ เสี่ยงทำให้สมองเสื่อมได้ ข้อมูลนี้จะจริงหรือไม่ หากผู้ป่วยสมองเสื่อมแต่เดิมรับประทานยาชนิดนี้แล้วจะเป็นอย่างไร ผู้ที่จะมีความเสี่ยงเหล่านี้ได้จะต้องมีการใช้งานยาในปริมาณมากน้อยแค่ไหน ร่วมพูดคุยกับ รศ. ภก.บดินทร์ ติวสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
ความเผ็ดจากพริกในอาหารมาจากแคปไซซิน (Capsaicin) หรือสารให้ความเผ็ดที่อยู่ในพริกมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา ลดอาการปวดเมื่อย แต่สำหรับผู้สูงอายุต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงต่อการระคายเคืองกระเพาะอาหาร เกิดอาการสำลักพริกส่งผลให้ปอดติดเชื้อ และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้ ติดตามความรู้จาก นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุประมาณ 7 ล้านคน เป็นผู้มีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 10 หรือประมาณ 7 แสนคน ซึ่งจะมีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในอนาคต การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอย่างการควบคุมน้ำหนัก ห้ามอ้วน งดบุหรี่ งดเหล้า อย่าเศร้าซึม และบริหารจัดการยาอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ห่างไกลจากภาวะสมองเสื่อม ติดตามความรู้จาก ผศ. พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน สาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ภาวะสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคหลอดเลือด ความดัน เบาหวาน อ้วนลงพุง ภาวะเหล่านี้หากคุมไม่ดีจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัว เส้นเลือดแข็ง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ดีส่งผลทำให้สมองเสื่อม ส่วนอัลไซเมอร์คือ ภาวะสมองเสื่อมประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของสมรรถภาพสมอง ทำให้ความสามารถทางการรับรู้และเข้าใจลดลง ผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
ครูตูน ธิวาภรณ์ สังขพงศ์ จะมาแนะนำท่าโยคะง่าย ๆ ช่วยยืดเหยียดข้อต่อสะโพก เหมาะสำหรับคนที่นั่งทำงานนาน ๆ จนมีอาการปวดตึงที่สะโพกร้าวไปถึงสะบักและขา เพราะท่านี้จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าว และยังได้ฝึกสมาธิอีกด้วย ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak