กระทรวงคมนาคมสิงคโปร์เปิดเผยผลสอบสวนขั้นต้นกรณี SQ321 เที่ยวบินวันที่ 20 พ.ค.2567 เกิดอุบัติเหตุทางอากาศขอลงฉุกเฉินสนามบินสุวรรณภูมิ ข้อมูลจากกล่องดำพบเครื่องบินเข้าเขตสภาพอากาศแปรปรวน สูญเสียระดับความสูง ส่วน Autopilot พยายามปรับให้กลับสู่ความสูงเดิม
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ระบุ อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกสูงขึ้น โอกาสเครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น ชี้อัตราการเกิดหลุมอากาศเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าภายในปี 2050 เครื่องบินต้องเผชิญหลุมอากาศเพิ่มขึ้น 40% ขณะที่เครื่องบินอาจตกหลุมอากาศบ่อยขึ้นแม้ท้องฟ้าปลอดโปร่ง
จากกรณีเที่ยวบิน SQ321 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ตกหลุมอากาศ จนต้องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งถ้าพูดถึง "สภาพอากาศแปรปรวน" จาก 2 ปัจจัย ได้แก่ เมฆฝนฟ้าคะนอง (Clear Air Turbulence) และลมที่พัดผ่านภูเขาสูง หรือ Mountain Wave และอากาศวนที่เกิดจากเครื่องบินลำอื่น จะกระทบกับเครื่องบินอย่างไร
จากกรณีเครื่องบินสายการบิน "สิงคโปร์แอร์ไลน์ส" เที่ยวบิน SQ321 ขอลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากมีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บจากเหตุเครื่องบินตกหลุมอากาศนั้น เครื่องบินตกหลุมอากาศ เป็นเหตุที่เกิดขึ้นได้ แต่หลังจากนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดได้บ่อยขึ้นแม้แต่วันที่อากาศแจ่มใส โดยมีงานวิจัยที่ชี้ว่า เกิดจากการภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ