- นักวิชาการชี้ "ภาวะโลกร้อน" ส่งผลเครื่องบินตกหลุมอากาศถี่ขึ้น
- สิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 ถึงสิงคโปร์แล้ว 79 คนบาดเจ็บยังพักรักษา กทม.
เหตุระทึกบนเครื่องบินสายการบิน SQ321 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ เส้นทางลอนดอน-สิงคโปร์ ขอลงจอดฉุกเฉินสนามบินสุวรรณภูมิ เหตุตกหลุมอากาศ เบื้องต้นมีผู้โดยสารเสียชีวิต 1 บาดเจ็บ 30 คน
ไทยพีบีเอสออนไลน์ เปิดข้อมูลเหตุใด "ตกหลุมอากาศ" ถึงทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตได้ เหตุระทึกบนเครื่องบินที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.princess-it-foundation.org/ ระบุว่า
การเดินทางด้วยเครื่องบินว่ากันว่า เป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด แต่สำหรับคนที่เดินทางไม่บ่อยก็คงไม่ค่อยไว้ใจการเดินทางด้วยวิธีนี้สักเท่าไร เพราะต้องอยู่บนที่สูง หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ก็ไปรอที่ด้านล่างได้เลย
ดังนั้นเวลาเครื่องสั่น เลี้ยว บินขึ้นลง หลายคนถึงขั้นเกร็ง สวดมนต์กันอยู่ในใจ โดยเฉพาะเวลาเครื่องบินตกหลุมอากาศ กรี๊ดกันทั้งลำเลยทีเดียว
อ่านข่าว ระทึก! เที่ยวบิน SQ321 ลงฉุกเฉินสุวรรณภูมิตาย 1 เจ็บ 30
ปัจจัยเครื่องบินตกหลุมอากาศ
คงเคยได้ยินคำว่า "เครื่องบินตกหลุมอากาศ" กันมาแล้ว แต่จะรู้กันหรือไม่ว่าหลุมอากาศที่พูดถึงเป็นอย่างไร ข้อมูลระบุว่า "การบิน" กับ "สภาพอากาศ" เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง ถ้าสภาพอากาศดี การบินก็จะราบรื่น นั่งนิ่มสบายกายสบายใจไปตลอดทาง
แต่บางช่วงเวลาในบางเส้นทางอาจต้องเจอกับสภาพอากาศแปร ปรวน ทำให้เครื่องบินสั่น ตั้งแต่ระดับน้อยไปจนถึงมาก หากรุนแรงหน่อยก็จะรู้สึกวูบ เหมือนเล่นรถไฟเหาะในสวนสนุก แต่คนที่เจอจะรู้ว่าไม่สนุกเลย
เวลาเครื่องบินแล่นจากพื้นสู่อากาศ และบินอยู่กลางอากาศ จะต้องอาศัยแรงยกจากการที่อากาศ เคลื่อนที่ผ่านปีกไป ซึ่งโดยปกติแล้วอากาศจะมีความหนาแน่นเท่า ๆ กันและเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอไปพร้อม ๆ กัน
แต่บางครั้งเครื่องบินบินผ่านบริเวณที่อากาศมีความหนาแน่นต่างกันมาก ๆ จากความหนาแน่นอากาศมากไป หากความหนาแน่นอากาศน้อย อากาศบริเวณรอยต่อนี้จะเคลื่อนที่คล้ายคลื่น
ความหนาแน่นที่น้อยกว่านี้เอง ทำให้แรงยก เครื่องบินน้อยตามไปด้วย เครื่องก็จะตกลงตามแรงดึงดูดโลก จนถึงขั้นทำให้รู้สึกว่าเครื่องบิน ร่วงหล่นลงมาอย่างรวดเร็ว เราจึงเรียกกันว่า "หลุมอากาศ"
ผลที่ตามมานอกจากผู้โดยสารจะตกใจแล้ว หากรุนแรงมาก บนเครื่องก็อาจจะวุ่นวายได้ ลองนึกภาพเครื่องบินตกจากที่สูง ของที่เคยตั้งอยู่บนเครื่องอย่างจาน ช้อนส้อม เครื่องดื่ม อาหารต่าง ๆ พร้อมใจกันลอยขึ้นกระแทกเพดาน กระจัดกระจายไปหมด
ผู้โดยสารที่ไม่ยอมรัดเข็มขัด ก็มีสิทธิ์หลุดออกจากเก้าอี้ ได้รับอันตราย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรคาดเข็มขัดนิรภัยอยู่ตลอดเวลา เพราะอุบัติเหตุบางครั้ง ก็ไม่สามารถแจ้งเตือนกันได้ทัน
ยกตัวอย่างเหตุการณ์เครื่องบินตกหลุมอากาศที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ เช่น เครื่องบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ308 จากสิงคโปร์-ลอนดอน เกิดอุบัติเหตุตกหลุมอากาศ 20 เมตร ข้าวของกระจัดกระจาย และมีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ แต่สุดท้ายก็ถึงที่หมายได้ปลอดภัย
รู้จัก "หลุมอากาศ 3 ระดับ"
หลุมอากาศระดับเบา (Light Turbulence) ทั้งลูกเรือและนักบินจะมีการสื่อสารกัน หากต้องทำการเสริฟอาหารในระหว่างนี้ หากรุนแรงมากขึ้นก็จะทำการเปิดสัญญาณให้ทุกคนคาดเข็มขัด (Seat belt sign on) เพื่อความปลอดภัย
หลุมอากาศระดับกลาง (Moderate Turbulence) จะสั่นแรงเพิ่มขึ้นมา หากไม่คาดเข็มขัด หรือเดินอยู่บริเวณทางเดินอาจจะสั่นจนตัวลอยขึ้นมาได้ เพื่อความปลอดภัยควรหาที่สามารถนั่งได้ใกล้เคียง และคาดเข็มขัดให้เร็วที่สุด
หลุมอากาศระดับรุนแรง (Severe Turbulence) จังหวะนี้ต้องรีบคาดเข็มขัดโดยเร็ว เพราะความรุนแรงนั้นอาจทำให้ของหล่นกระจัดกระจาย หรือหากไม่คาดเข็มขัดตามสัญญาณ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ไม่มากก็น้อย
โดยปกติแล้วหลุมอากาศทั้ง 3 แบบ นักบินจะสามารถมองเห็นได้จากเรดาร์ (Rader) แต่จะมีหลุมอากาศอีกประเภทที่เรดาห์ไม่สามารถตรวจจับได้ เรียกว่า “Clear Air Turbulence” เป็นหลุมอากาศที่เกิดจากกระแสลมแรง เปลี่ยนทิศกระทันหัน ซึ่งมีความรุนแรงกว่า severe turbulence
ดังนั้นแล้วในเวลาที่นั่งอยู่กับที่นั่งหากรัดเข็มขัดได้ตลอดเวลาก็จะเพิ่มความปลอดภัยได้มากขึ้น และไม่ต้องกลัวหลุมอากาศเลย
ขอบคุณที่มา : "ตกหลุมอากาศ"เหตุระทึกบนเครื่องบินที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ" จาก http://www.dek-d.com/education/35400/ สืบคั้น 27 ส.ค.2557
อ่านข่าว
“ตักบาตรเที่ยงคืน” วันวิสาขบูชา ประชาชนแน่นวัดนางชีโชติการาม
"โค้ชอ๊อด" ลาออก ปธ.เทคนิค รับผิดชอบวอลเลย์บอลหญิงแพ้รวด
"อายุไม่ถึง แต่พึ่งได้" หนุ่มสาวสมัคร สว.ไม่ได้แต่มีส่วนร่วมได้