นักวิชาการชี้ "ภาวะโลกร้อน" ส่งผลเครื่องบินตกหลุมอากาศถี่ขึ้น

สังคม
22 พ.ค. 67
09:12
2,275
Logo Thai PBS
นักวิชาการชี้ "ภาวะโลกร้อน" ส่งผลเครื่องบินตกหลุมอากาศถี่ขึ้น
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ระบุ อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกสูงขึ้น โอกาสเครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น ชี้อัตราการเกิดหลุมอากาศเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าภายในปี 2050 เครื่องบินต้องเผชิญหลุมอากาศเพิ่มขึ้น 40% ขณะที่เครื่องบินอาจตกหลุมอากาศบ่อยขึ้นแม้ท้องฟ้าปลอดโปร่ง

วันนี้ (22 พ.ค.2567) จากกรณีเครื่องบินสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 ซึ่งมีผู้โดยสารจำนวน 211 คน และลูกเรือจำนวน 18 คน เส้นทางการบินจากท่าอากาศยานฮีทโธรว์ ปลายทางท่าอากาศยานชางงี ขอลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ. ) เนื่องจากเกิดเหตุเครื่องบินตกหลุมอากาศ

อ่านข่าว : ระทึก! เที่ยวบิน SQ321 ลงฉุกเฉินสุวรรณภูมิตาย 1 เจ็บ 30

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ระบุข้อความว่า

โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น..เพราะอะไร?

1.เครื่องบินที่บินในบริเวณซีกโลกตะวันตกหรือบินจากโลกตะวันตกมายังซีกโลกตะวันออกมีโอกาสที่จะตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้นทำให้ลมกรด หรือ Jet stream ซึ่งเป็นลมที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการบินแปรปรวน

facebook : Sonthi Kotchawat

facebook : Sonthi Kotchawat

facebook : Sonthi Kotchawat

2. Jet Streams หรือลมกรดเป็นกระแสลมที่ไหลเวียนในระดับความสูงประมาณ 7.0 ถึง 16 กม.เหนือจากพื้นโลกมีความเร็วสูงมากถึง 200-400 กม./ชม.เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกของโลก ดังนั้นถ้าเครื่องบินบินจากซีกตะวันตกมาทางซีกตะวันออกก็ควรวางแผนการบินให้บินตามกระแสของ Jet stream จะทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นช่วยประหยัดพลังงานและลดเวลาในการบินสั้นลง แต่หากจะบินจากตะวันออกมาทางตะวันตกก็ควรบินหลบ Jet stream ให้มากที่สุดเพราะจะสวนกระแสลมทำให้ใช้เวลาการบินมากขึ้น

อ่านข่าว : "หลุมอากาศ" อันตรายมองไม่เห็น ผู้โดยสารโปรดรัดเข็มขัดทุกที่นั่ง

facebook : Sonthi Kotchawat

facebook : Sonthi Kotchawat

facebook : Sonthi Kotchawat

3.อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้นเนื่องจากโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นทำให้ลมกรด หรือ Jet stream ลดความเร็วลงในบางช่วง มีงานวิจัยระบุว่า อุณหภูมิในบรรยากาศที่สูงขึ้นในแถบทวีปอาร์กติกซึ่งร้อนขึ้นเกือบสี่เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกกำลังส่งผลให้กระแสลมกรด (jet stream) ซึ่งเป็นลมที่มีกำลังแรงพัดอยู่บนชั้นบรรยากาศในบางช่วงมีความเร็วลดลงทำให้เกิดอากาศแปรปรวน (Clear Air Turbulance) มากขึ้น (ทั้งที่ไม่ได้บินผ่านเมฆหรือพายุ) เนื่องจากช่วงที่ความเร็วของลมกรดลดลงจะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศในบริเวณดังกล่าวบางลงซึ่งทำให้เกิด "หลุมอากาศ" ขึ้น ในขณะที่เครื่องบินได้บินผ่านหลุมอากาศ แรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกะทันหันทำให้ตัวเครื่องตกลงไปในหลุมอากาศ ซึ่งจะตกมากหรือน้อยอยู่ที่ขนาดของความหนาแน่นของมวลอากาศ

4.นักวิจัยชี้ว่าอัตราการเกิดหลุมอากาศจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าภายในปี 2050 และอาจมีเครื่องบินต้องเผชิญกับหลุมอากาศที่รุนแรงมากขึ้นถึง 40%

facebook : Sonthi Kotchawat

facebook : Sonthi Kotchawat

facebook : Sonthi Kotchawat

เครื่องบินตกหลุมอากาศบ่อยขึ้นแม้ท้องฟ้าปลอดโปร่ง

ล่าสุด ดร.สนธิ ได้อธิบายถึงกรณีเครื่องบินอาจตกหลุมอากาศบ่อยขึ้นแม้บินอยู่ในท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง..สัมพันธ์กับการที่โลกเข้าสูภาวะ "โลกเดือด"

1.โลกร้อนทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงขึ้น 1.2 ถึง 1.4 องศาฯ จากยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ยิ่งระดับความสูงจากผิวโลกขึ้นไปเกือบ 20 กม. อุณหภูมิบรรยากาศยิ่งร้อนขึ้นจึงไปทำให้ลมระดับบนที่ระยะความสูงระหว่าง 7.0 ถึง 16 กม. จากผิวโลกที่เรียกว่าลมกรด หรือ Jet stream ซึ่งมีความเร็วเฉลี่ย 200 ถึง 400กม.ต่อ ชม. และเคลื่อนที่จากซีกโลกตะวันตกไปยังตะวันออกมีความเร็วลดลงในบางช่วงบางขณะซึ่งจะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศบริเวณนั้นลดลงด้วยทำให้เกิดความแปรปรวนของอากาศทั้งที่อากาศช่วงนั้นปลอดโปร่งไม่มีพายุหรือเมฆฝนใดๆ เรียกว่า Clear Air Turbulance หรือ CAT หากมีเครื่องบินบินผ่านแรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกะทันหันและเครื่องจะตกลงไปในมวลอากาศที่บางลงซึ่งเรียกว่าการตกหลุมอากาศ (Air Pocket)

facebook : Sonthi Kotchawat

facebook : Sonthi Kotchawat

facebook : Sonthi Kotchawat

2.โลกร้อนขึ้น อุณหภูมิในบรรยากาศโลกสูงขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะเครื่องบินตกหลุมอากาศมากขึ้น ทั้งๆ ที่เครื่องบินบินอยู่ในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งได้ ซึ่งเรื่องนี้เกิดบ่อยขึ้น นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาค้นพบว่าตั้งแต่ปี 1979 ถึงปี 2020 มีเครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านั้นถึงร้อยละ 55 และมีความสัมพันธ์โดย ตรงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนพื้นโลกสู่บรรยากาศทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ

หากไม่ดำเนินการใดๆ ในปี 2050 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นถึง 1.5 องศาฯ ซึ่งเรียกว่า "สภาวะโลกเดือด" อาจจะทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงมากขึ้นถึง 40% จากปี 2023 แม้ในขณะที่บินผ่านในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งก็ตาม

อ่านข่าว : 

สิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 ถึงสิงคโปร์แล้ว 79 คนบาดเจ็บยังพักรักษา กทม.

แถลง "สิงคโปร์แอร์ไลน์" ลงจอดฉุกเฉินสุวรรณภูมิ ตาย 1 คน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง