แนวโน้มการกลับสู่หน้าฉากการเมืองกัมพูชาของ "ฮุน เซน" เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น หลังจากผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ชี้ว่าพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลกวาดที่นั่งถล่มทลาย ส่งผลให้ "ฮุน เซน" อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา วัย 71 ปี เตรียมก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา ซึ่งสวมหลายหัวโขนทั้งตำแหน่งประธานองคมนตรีและตำแหน่งหัวหน้าพรรค CPP และยังเปิดทางให้ทำหน้าที่ในฐานะประมุขแห่งรัฐ เมื่อกษัตริย์เสด็จประพาสต่างประเทศด้วย ทำให้ยิ่งสร้างความแข็งแกร่งให้อาณาจักรทางการเมืองใต้เงาตระกูลฮุนอย่างมาก
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ของกัมพูชาวันนี้ (25 ก.พ. 67) สมเด็จฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา จ่อนั่งเก้าอี้ประธานวุฒิสภา เนื่องจากผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนส่วนใหญ่ คือ สมาชิกของพรรคประชาชนกัมพูชา หรือ CPP พรรครัฐบาลปัจจุบัน ถือเป็นการเปิดทางให้อดีตผู้นำกลับสู่เส้นทางการเมืองหลังก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อปีที่ผ่านมา
ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร กับ "ฮุน เซน" การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย - กัมพูชา และทิศทางการเมืองระหว่าง 2 ประเทศ จะเป็นอย่างไร ร่วมพูดคุยกับ "ทรงฤทธิ์ โพนเงิน" ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง โดยมองว่าขณะนี้ การเมืองไทยและกัมพูชา อยู่ในระยะถ่ายโอนสู่รุ่นลูก พร้อมวางแนวทางให้รุ่นต่อไปสานต่อ
21 ก.พ. 67 "บ้านจันทร์ส่องหล้า" เปิดรับ "สมเด็จฯ ฮุนเซน" อดีตนายกฯ กัมพูชา ที่จะบินมาเยี่ยม อดีตนายกฯ "ทักษิณ ชินวัตร" โดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซน ประธานคณะองคมนตรีกัมพูชา อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะเดินทางมาเยี่ยมนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ในวันนี้ โดยเป็นการเดินทางมา หลังจากที่มีการนัดหมายกับนายทักษิณล่วงหน้า เป็นการมาพบแบบส่วนตัว เพราะอาจจะมีความเป็นห่วง มีรายงานว่า เวลา 09.00-14.00 น. คือ กำหนดการที่สมเด็จฯ ฮุน เซน จะเข้าเยี่ยมนายทักษิณ ก่อนจะบินกลับพนมเปญ ทั้งนี้ที่ผ่านมา ทักษิณ และ ฮุน เซน มีความสัมพันธ์ที่ "แน่นแฟ้น" โดยในช่วง 15 ปี ที่ทักษิณหลบหนีคดีอยู่ในต่างประเทศ มีรายงานการเดินทางไปเยือนกัมพูชา ในช่วงที่ ฮุน เซน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อยู่หลายครั้ง
สถานการณ์ในเมียนมาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียน ไม่ได้เชิญ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เข้าประชุม ASEAN SUMMIT ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ที่กรุงพนมเปญ ประเด็นนี้ “สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี” สื่อมวลชนอาวุโส มองว่า มาตรการนี้เป็นที่รู้กัน หลังเมียนมาไม่ทำตามฉันทามติ 5 ข้อ แต่เชื่อว่าเมียนมาไม่สนใจ เพราะยังได้แรงหนุนจากรัสเซียและจีน ส่วน “ยาแรง” กว่านี้ ก็มีผู้เสนอ แต่ยังไม่มีการใช้ ซึ่งอาเซียนต้องพูดกันในประเด็นนี้อย่างจริงจัง