กานต์ธีรา เตชะภัทรธนากุล หรือ น้ำผึ้ง หญิงสาวในเสื้อกาวน์นักเทคนิคการแพทย์ ประจำศูนย์สุขภาพพร้อม คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ บทบาทในวิชาชีพที่มาจากความมุ่งมั่นพยายามของเด็กนักเรียนไร้สัญชาติจากครอบครัวชาวชาติพันธุ์ไทใหญ่ใน จ.เชียงราย
แม้การแก้ปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่มนักเรียนไร้รัฐไร้สัญชาติ หรือ นักเรียนรหัส Gจะถูกกำหนดให้เป็นเรื่องเร่งด่วนของหลายหน่วยงาน แต่จำนวนเด็กกลุ่มนี้ก็ยังเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุหลักแนวปฏิบัติยังไม่ชัดเจน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
ปัญหาสามเณรไร้รัฐ ไร้สัญชาติใน จ.เชียงใหม่ เข้าไม่ถึงการศึกษาในระดับประถมศึกษา เนื่องจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ไม่รับสามเณรเข้าเรียนกับเด็กทั่วไป ร.ร.พระปริยัติธรรมจัดการศึกษาเฉพาะ ม.1 ถึง ม.6 และอายุก็ไม่ถึงเกณฑ์เข้าเรียน กศน.
การดำเนินคดีกับผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ข้อหานำเด็กไม่มีสัญชาติไทย 128 คน จากชายแดน อ.แม่สาย จ.เชียงราย มาเรียนใน จ.อ่างทอง แต่ครูปุ๊ ส่งนักเรียนไปไม่ถึงฝั่ง เพราะถูกทางการไทยผลักดันกลับไปยังเมียนมา
หญิงชาว จ.อุบลราชธานี ร้องขอความช่วยเหลือบิดามารดาเป็นคนไทย แต่กลับไม่มีสัญชาติ เพราะระหว่างที่ครอบครัวไปทำงานที่ จ.จันทบุรีและให้กำเนิดตนเอง แต่ไม่ได้แจ้งเกิดในท้องที่ กระทั่งกลับอุบลราชธานี เมื่ออายุ 3 ขวบ จึงไปแจ้งเกิด แต่นายทะเบียนไม่รับแจ้ง
แม้ไทยจะมีกฎหมายเพื่อพัฒนาสถานะทางทะเบียนให้กับเด็ก และผู้ที่เกิดและอยู่อาศัยในประเทศไทย แต่ขั้นตอนเหล่านี้ยังมีความซับซ้อน ทำให้ยังมีคนไร้รัฐอีกจำนวนหนึ่ง ที่เข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล ไม่ได้รับสิทธิเดินทาง และเรียนหนังสือในระดับที่สูงขึ้น วันนี้จึงมีความพยายามจากหลายหน่วยงาน ทำห้องทะเบียนเคลื่อนที่ เพื่อให้ได้เข้าถึงสิทธิที่ควรได้