สนข. ชี้คน กทม. จะยังเผชิญ
สภาพท้องถนนที่มีอยู่จำกัด สวนทางกับปริมาณรถที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกวัน เป็นผลทำให้ช่วงเวลาเร่งด่วนในกรุงเทพมหานครต้องเกิดปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนัก ข้อมูลจากสำนักนโยบายเเละเเผนการขนส่งจราจร(สนข.) ระบุว่า บนถนนในกรุงเทพจะรถยนต์เพิ่มขึ้นทุกวันเฉลี่ยวันละ 1,100-1,200 คัน ซึ่งตัวเลขนี้ยัง ไม่รวมกับโครงการรถคันเเรกของรัฐบาล ซึ่งเชื่้อได้ว่า เป็นผลให้ช่วงเวลาเร่งด่วนในกรุงเทพมหานครต้องเกิดปัญหาการจราจรติดขัดมากขึ้น
โดยขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งแก้ไขปัญหาจราจร ไปพร้อมๆกับการพัฒนาและก่อสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้า ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในแผนของรัฐบาล แต่โครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆเช่น ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ระยะ 23 กม. ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเเล้วเสร็จอย่างน้อยในปี 2559 ดังนั้นผู้ใช้รถใช้ถนนอาจต้องเผชิญกับการจราจรท่ติดขัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เช่นเดียวกับนาย ครรชิต ผิวนวล นักวิชาการด้านขนส่งมวลชน ระบุว่า ผู้ใช้รถใช้ถนนในกรุงเทพฯต้องพบกับสภาพการจราจรที่ติดขัดเช่นนี้ ไปอีกไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงปัญหาอื่นๆ ได้แก่ค่าใช้จ่ายที่จะมีเพิ่มขึ้น ทั้งจากค่ารถ ค่าประกันรถ ค่าน้ำมันรถ ค่าผ่านทาง นอกจากนี้ ปัญหารถติดยังทำให้เกิดความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับสังคม โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้มลภาวะอากาเป็นพิษ เเต่ละปีคิดเป็นมูลค่ามากกว่าร้อยละ 1 ของ จีดีพี หรือกว่า 1,300 ล้านบาทเเละท้ายสุดต้องตกเป็นภาระของรัฐบาล
ในขณะที่การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ นี้คืออยู่ระหว่างดำเนินการ รัฐบาบต้องเร่งวางนโยบาย ปรับปรุงการใช้ที่ดิน เพิ่มชุมชนเเละจำนวนประชากรให้มีผู้ที่อยู่อาศัยตามเเนวรถไฟฟ้า เพื่อให้การลงทุนในระบบรถไฟฟ้านั้นเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
สำหรับโครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง ที่เป็นนโยบายรัฐบาล จะมีระยะทางรวมกัน 464 กิโลเมตร เชื่อมโยง ตั้งแต่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร เเละ ปริมณฑล ซึ่งแต่ละสายทางก็เร่งดำเนินการให้เเล้วเสร็จตามเเผนที่วางไว้ ภายใต้งบประมาณนับเเสนล้านบาท ซึ่งตามเเผนของกระทรวงคมนาคมระบุว่า ปี 2559 นี้ประชาชนจะได้ใช้รถไไฟฟ้าสายสีม่วงสาย สีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เเล้ว3 โครงการระยะทางรวม 79.5 กม. ได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ