การออกจากป่าเข้ามาหากินในชุมชนยามค่ำคืน ของ "เจ้าด้วน" ช้างป่าในพื้นที่แ แทบจะกลายเป็นเรื่องปกติ สำหรับชาวบ้านหมู่ 5 ต.พวา อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี เพราะพบเห็นเป็นประจำกันมานานหลายปี
ชาวบ้าน เล่าว่า ที่ตั้งชื่อว่า "เจ้าด้วน" เป็นเพราะใบหูด้านซ้ายมีรอยแหว่ง ที่ผ่านมา มันมักชอบออกมาหากินพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ที่อยู่บริเวณแนวชายป่า ตามลำพัง และหลายครั้ง ก็มักจะเดินเลยเข้ามาในเขตชุมชน เพื่อกินเศษอาหารในถังขยะ ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ และจะกลับเข้าป่าไปในตอนเช้า เราเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของช้างป่าตัวนี้อยู่นาน พบว่า แม้จะมีลักษณะไม่ดุร้ายและดูคุ้นเคยกับคน แต่ทว่าการออกมาหากินนอกพื้นที่ป่าได้สร้างเดือดร้อนให้กับคนในพื้นที่
เจ้าหน้าที่และอาสมัครซึ่งเป็นทีมเฝ้าติดตามพฤติกรรมช้าง เพื่อหาแนวทางป้องกันและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพืชผลทางการเกษตร ซึ่งทีมข่าวไทยพีบีเอสได้ติดตามเข้าร่วมภารกิจด้วยด้วยสภาพพื้นที่ของ อ.แก่งหางแมว ที่มีแนวเขตติดต่อกับป่าสงวนแห่งชาติ กว่าร้อยละ 95 จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ พบเห็นช้างป่าที่นี่
ขณะเดียวกันการเพิ่มจำนวนประชากรช้าง ภายใต้แหล่งหากินที่ถูกจำกัดและแหล่งน้ำที่ลดลง ก็เป็นปัจจัยร่วมที่ถูกมองว่า กระตุ้นให้ช้างป่าออกมาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน ที่มีอยู่กว่า 500,000 ไร่ รอบผืนป่า
จุดแรกที่ เฝ้าสังเกต คือ บริเวณสันเขาฆ้อง ซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่า เป็นที่อาศัยของช้างป่า โดยเจ้าหน้าที่ทำแนวปิดกั้นทางออกบังคับเส้นทางให้ช้าง ที่จะเดินมายังหมู่บ้านกลับเข้าไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติ "เขาอ่างฤาไน" แต่หลังจากที่เราเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ไม่นานนัก พบว่า มีช้างป่าโขลงหนึ่ง พยายามเดินลงมา เจ้าหน้าที่จึงเริ่มปฏิบัติการ ด้วยการขยับเข้าไปประชิดแนวสันเขาเพื่อกดดันช้าง ไม่นานนัก ช้างป่าทั้งโขลงหันหลังเดินกลับเข้าป่าไปด้วยความเงียบ แต่เช้าวันถัดมาเจ้าหน้าที่กลับได้รับแจ้งจากชาวบ้าน ว่าเมื่อคืนนี้มีช้างป่า ลงมาหาอาหารในสวนยางพารา
นอกจากพื้นที่ หมู่ 5 ต.พวา ที่ได้รับความเดือดร้อน พื้นที่ใกล้เคียง อย่าง หมู่ 4 ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน นายบรรเจิด จักรบวรพันธ์ เจ้าของสวน พื้นที่กว่า 150 ไร่ รายนี้ บอกว่า ไม่กี่วันที่ผ่านมา มีช้างป่า 2-3 ตัว เข้ามาหากินในสวน จนผลผลิตได้รับความเสียหาย เขาเคยทำรั้วปล่อยกระแสไฟฟ้าป้องกันช้างแต่ก็ยิ่งทำให้ช้างป่าอาละวาด ทุกวันนี้ได้แต่ทำใจและเฝ้าระวังเท่าที่ทำได้
จากข้อมูลของเทศบาลตำบลพวาย้อนหลังตั้งแต่ปี 2558 - 2560 พบมีชาวบ้านถูกช้างป่าทำร้าย พิการ เกือบทุกปีมูลค่าความเสียหายทางการเกษตรและการจ่ายเงินชดเชยของรัฐรวมแล้วกว่า 443,856 บาท สะท้อนว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่ผ่านมายังไม่ได้ผลมากนัก
คืนนี้ ทีมข่าวไทยพีบีเอสได้ขอติดตามเจ้าหน้าที่เข้าร่วมภารกิจเฝ้าสังเกตพฤติกรรมช้างโขลงเดิม เป็นคืนที่ 2 หลังได้ข้อมูลว่า ช้างโขลงนี้ย้ายจากเขาฆ้องลงมาบริเวณเกาะกลางธีระพงศ์ ซึ่งอยู่ห่างจากจุดแรกประมาณ 4 กิโลเมตรจากรอยเท้าพบว่าโขลงนี้ มีมากกว่า 20 ตัว และกำลังมุ่งหน้าไปยังเส้นทางป่าอนุรักษ์จากการติดตาม พบว่าร่องรอยสุดท้ายสิ้นสุดที่ลำธารคลองประแกด รอยต่อหมู่ 8 ซึ่งมีอาสาสมัครอีกกลุ่ม เฝ้าระวังไม่ให้ช้างออกนอกเส้นทาง
สุเทพ สุริยะเจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญการ จากการติดตามภารกิจตลอด 2 คืน ที่ผ่านมา ทีมข่าวไทยพีบีเอส ได้เห็นถึงความพยายามในการจัดการปัญหาช้างป่า ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ทั้งเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ในระดับพื้นที่ ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาระดับนโยบาย
ขณะนี้มีการเร่งผลักดัน "แก่งหางแมวโมเดล" ซึ่งเป็นรูปแบบการแก้ไขปัญหาช้างป่า ที่นอกจากจะเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อย่าง กำแพงดิน คูน้ำ เพื่อป้องกันช้าง ยังมีแนวทางการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับท้องถิ่น แต่การตั้งงบประมาณไว้สูงถึง 1,000 ล้านบาท ก็ถูกตั้งคำถามถึงความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับ