วันนี้ (9 ส.ค.2561) นายวิทูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ผู้อำนวยการเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง กล่าวในเวทีสนทนาประชาชนเขื่อนในลาว (แต่)ไม่ใช่เขื่อนลาว ต่อกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในแขวงอัตตะปือ ทางตอนใต้ของลาวแตก ซึ่งตามแผนเขื่อนแห่งนี้จะส่งไฟขายให้กับรัฐบาลไทย
โดยยืนยันว่าภาพรวมกำลังผลิตไฟฟ้าในระบบยังมีเพียงพอมีตัวเลขที่ 42,299 เมกกะวัตต์ ขณะที่การใช้ไฟฟ้าสูงสุดในวันพีคสูงสุดเพียง 29,968 เมกกะวัตต์เมื่อวันที่ 24 เม.ย.61 และสัดส่วนการใช้เพิ่มขึ้นเพียง 1.1% ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ
ตัวเลขการผลิตในประเทศ 36 % และนำเข้าจากลาวเพียง9%หรือประมาณ 3,900
เมกกะวัตต์ และไทยกำลังไฟ้าที่ 42,299 เมกกะวัตต์ ดังนั้นดังนั้นแผนพลังงานไทยที่จะลงทุนสร้างเขื่อนและซื้อไฟฟ้าทั้งในลาวและเพื่อนบ้านในภูมิภาค จึงยังไม่จำเป็น
เพราะขณะนี้หากไทยลงทุนในเรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามแผน AEDP ที่กระทรวงพลังงานวางไว้ในปี 2015-2067 โดยมีตัวเลขรวม 19,000 เมกกะวัตตืจากตัวเลขปัจจุบัน 10,000 เมกกะวัตต์
นายวิทูรย์ กล่าวอีกว่า ถ้าดูตามตัวเลขนี้ไทยยังมีไฟฟ้าสำรองอยู่เพียงพอ และถ้านำมาพัฒนาพลังงานหมุนเวียนได้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากนอกประเทศ ร่วมกับการผลิตไฟฟ้าจากเอกชน ความต้องการใช้ไฟฟ้าในไทยจะไม่ใช่เหตุผลสร้างเขื่อนในลาว แต่มาจากเหตุผลประโยชน์อื่น ทั้งจากการธนาคารและบริษัทก่อสร้าง ถ้าไม่ระวังหรือทบทวนจะกลายเป็นต้นทุนกับผู้บริโภค
หนุนลาวใช้โอกาสทบทวนเขื่อนจากนักลงทุน
สิ่งที่รัฐบาลลาวจะประกาศทบทวนยุทธศาสตร์เขื่อนไฟฟ้าในลาวทั้งหมดเห็นด้วย เป็นโอกาสที่ดีเพราะว่ามีการศึกษาจากสภาแม่น้ำโขงแล้วว่าการลงทุนสร้างเขื่อนไม่ควรเป็นทางออกพลังงาน เพราะเกิดผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ควรมองพลังงานอื่น และเชื่อว่าลาวมีศักยภาพอื่นและไม่จำเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย
ข้อเสนอคืออยากให้มีหน่วยงานอิสระ เข้าไปศึกษาความเสียหายเพื่อให้เห็นคำตอบในเชิงมูลค่า และส่งไปยัง 4 บริษัทที่ลงทุนได้แสดงความรับผิดชอบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และทรัพยากร เพราะสิ่งที่เห็นตอนนี้คือการทำตามยถากรรม ไม่สามารถประเมินความเสียหาย
ขณะที่ยังตั้งข้อสังเกตว่าเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ยังไม่เก็บกักน้ำแบบเต็มพื้นที่ แต่กลับมีตะกอนดินโคลนมหาศาล อาจจะมากกว่าตอนกรณีดินโคลนถล่มที่กะทูนของประเทศไทย นอกจากนี้อนาคตถ้าเขื่อนนี้ยังเดินหน้าต่อ หากมีน้ำล้นเขื่อนเซเปียน น้ำจะถูกพร่องลงในลำน้ำพรมแดนไปยังเซกอง ของกัมพูชาโดยตรงเพราะเป็นจุดรวมของแม่น้ำโขง แล้วใครจะรับผิดชอบ
ปัจจุบันไทยลงทุนเขื่อนในลาว 11 โครงการและเป็นบริษัทลูกของกฟผ.เข้าไปลงทุนทำให้เกิดคำถามว่าเป็นทั้งผู้ผลิต และผู้ซื้อไฟฟ้ ท้ายที่สุดผู้บริโภคจะได้รับความเป็นธรรมจริงหรือไม่
สำหรับโครงการเขื่อนไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อย ดำเนินการโดยบริษัท ไฟฟ้า เซเปียน-เซน้ำน้อย จำกัด เป็นการร่วมทุนของบริษัทข้ามชาติชั้นนำ 4 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท SK Engineering and Construction จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 26 บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 25 บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 25 และ Lao Holding State Enterprise ถือหุ้นร้อยละ 24