วันนี้ (11 พ.ย.2562) นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าได้กำชับให้โรงพยาบาลในสังกัดที่อยู่ใกล้สถานที่จัดงานลอยกระทง เตรียมความพร้อมรับมืออุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉินรวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทในโรงพยาบาลโดยให้ประสานตำรวจ ฝ่ายปกครอง หากมีผู้บาดเจ็บจากเหตุทะเลาะวิวาทเข้ามารักษา ให้กันญาติออกจากห้องฉุกเฉิน หรือหากมีประตูนิรภัยให้ปิดล็อกประตูทันที พร้อมประสานตำรวจคุมเข้มไม่ต้องรอให้เกิดเรื่อง
สำหรับ 7 มาตรการความปลอดภัยในโรงพยาบาลโดยเฉพาะห้องฉุกเฉิน มีดังนี้
- ทำแนวทางปฏิบัติป้องกันและจัดการความรุนแรง ทบทวน ฝึกซ้อม ปรับปรุง
- จัดระบบควบคุมประตู หรือมีทางเข้า-ออก หลายช่องทาง
- จัดสถานที่พักคอยสำหรับญาติ จำกัดการเข้า-ออก
- ตรวจสอบกล้องวงจรปิดให้พร้อมใช้งานและติดตั้งเพิ่มในจุดเสี่ยง
- จัดระบบคัดกรองโดยเฉพาะผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน สื่อสารกับญาติผู้ป่วยเป็นระยะ
- จัดเวรยามตลอด 24 ชม.
- จัดหาสัญญาณเตือนภัยหรืออุปกรณ์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินและมีช่องทางแจ้งเหตุด่วนกับตำรวจ ฝ่ายปกครอง
เพิ่มโทษผู้ก่อเหตุในห้องฉุกเฉิน
นอกจากนี้ ยังเพิ่มประตูทางเข้าห้องฉุกเฉินเป็น 2 ชั้นโดยใช้ระบบสแกนนิ้วหรือคีย์การ์ด และมีทางออกของเจ้าหน้าที่หลายช่องทางในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงประเมินความเสี่ยงเกิดเหตุร่วมกับตำรวจและฝ่ายปกครอง แต่ก็ยังพบการก่อความรุนแรงในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมีมาตร การขั้นเด็ดขาด เพื่อลดความรุนแรงเพิ่มความปลอดภัยเจ้าหน้าที่และผู้ที่มารับบริการ
โดยให้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุทันทีและให้ลงโทษขั้นเด็ดขาดตาม ม.360 ม.364 และม.365 มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี รวมถึงทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการให้ช่วยดำเนินการ
สำหรับสาเหตุที่โรงพยาบาลไม่แจ้งความดำเนินคดีในบางรายเป็นเพราะอะลุ่มอล่วย เป็นคนรู้จักในพื้นที่และเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาลไม่ได้รับความเสียหายมากนัก แต่หากเจ้าหน้าที่บาดเจ็บหรือเสียหายมากก็ฟ้องร้องดำเนินคดี
ปี 62 คดีในห้องฉุกเฉินพุ่ง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
คู่อริยกพวกตีกันในห้องฉุกเฉิน รพ.อ่างทอง
ผู้ว่าฯ ชลบุรี ตั้งกรรมการสอบ อส.ทุบคนไข้คาเตียงห้องฉุกเฉิน