ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ม.หอการค้า สำรวจแรงงานไทย 1.2 พันคน พบ 99% แบกภาระหนี้

เศรษฐกิจ
29 เม.ย. 65
07:06
466
Logo Thai PBS
ม.หอการค้า สำรวจแรงงานไทย 1.2 พันคน พบ 99% แบกภาระหนี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจแรงงานไทย 1,260 ตัวอย่าง พบค่าเเรงไม่พอกับค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะราคาสินค้าที่แพงขึ้น ท่ามกลางแรงงานเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ที่มีภาระหนี้สิน

เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2565 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสหภาพแรงงาน กรณีศึกษาผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน จำนวน 1,260 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18-24 เม.ย. พบว่า ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 99 มีหนี้สิน


ส่งผลให้ปีนี้มีภาระหนี้ของครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 217,952.59 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.09 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี เป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มาจากการใช้จ่ายประจำวัน มีหนี้บัตรเครดิต และจากที่อยู่อาศัย และมีร้อยละ 31.5 เคยผิดนัดชำระหนี้ เพราะจำนวนหนี้และค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ได้รายได้ไม่เพียงพอ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์ ฯ ระบุว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือน ที่เกิดจากค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทั้งค่าสินค้าอุปโภค บริโภค และค่าน้ำมัน ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้จ่ายลดลงเเละจะทำให้หนี้ครัวเรือนในปี 2565 มีโอกาสสูงสุดร้อยละ 95 ของตัวเลข GDP


ส่วนผลสำรวจค่าเเรงขั้นต่ำ แรงงานมองว่า ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม เนื่องจากราคาสินค้าแพง รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย อยากให้มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ให้มีความสอดคล้องกับค่าครองชีพ ซึ่งปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณร้อยละ 4-5 ขณะเดียวกันการปรับค่าแรงขั้นต่ำก็ควรเป็นไปตามไตรภาคีในแต่ละจังหวัด เมื่อค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้น แรงงานก็จะมีอำนาจซื้อมากขึ้น

ทั้งนี้ นายธนวรรธน์ ระบุว่า ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 336 บาท การที่ลูกจ้างเรียกร้อง ขอขึ้นค่าแรงเป็น 492 บาทนั้น มีการปรับขึ้นถึงร้อยละ 10-20 ถือว่า อยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจำนวนมาก จะเป็นการเร่งทำให้นายจ้างขาดสภาพคล่องทันที จากราคาต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้นควรยึดตามความสามารถของนายจ้างมากกว่า


นอกจากนี้ มองว่า โครงการคนละครึ่งเฟส 5 สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของการเพิ่มรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ง่ายและเร็วที่สุด หากรัฐขยายโครงการคนละครึ่งเป็นเฟส 5 และหากให้วงเงิน 1,000-1,500 บาท จะช่วยเพิ่มเงินเข้าในระบบเศรษฐกิจ 45,000 ล้านบาท เพียงพอกับเม็ดเงินที่สูญเสียไปกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และจะสามารถเข้ามาชดเชย ทำให้เศรษฐกิจยังคงเติบโตได้

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

คสรท.-สรส.ชงรัฐขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาททั่วประเทศ

"สรรพสามิต" ชี้แจงลดภาษีน้ำมันดีเซลลิตรละ 3 บาทถึง 20 พ.ค.นี้

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขอขึ้นราคาซองละ 1 บาท

ถึงคิวปลาหายาก-น้ำมันแพง จ่อปรับราคา "ลูกชิ้นปลา"

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง