ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"รสนา" ขอนายกฯยกเลิกข้อเจรจา "คกก. - บีทีเอส" เหตุขัดคำสั่ง คสช.

การเมือง
14 มิ.ย. 65
18:57
233
Logo Thai PBS
"รสนา" ขอนายกฯยกเลิกข้อเจรจา "คกก. - บีทีเอส" เหตุขัดคำสั่ง คสช.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"รสนา" ส่งหนังสือถึงนายกฯชี้ผลเจรจาของคณะกรรมการกับบีทีเอสขัดต่อคำสั่งคสช.ที่3/2562 ขอให้เพิกถอนและหยุดบีบกทม.ต่อสัมปทานอีก 30 ปีแลกหนี้รัฐบาล

วันนี้ (14 มิย.2565) น.ส.รสนา โตสิตระกูล โพสต์เฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล โดยระบุถึง การส่งหนังสือ ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยผลเจรจาของคณะกรรมการกับบีทีเอสขัดต่อคำสั่งคสช.ที่ 3/2562 ขอให้เพิกถอนและหยุดบีบ กทม.ต่อสัมปทานอีก 30 ปี แลกหนี้รัฐบาล โดยมีเนื้อหา ดังนี้

ดิฉันส่งหนังสือขอให้ท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา พิจารณายกเลิกและเพิกถอนผลเจรจาระหว่างคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งมาตรา 44 ของ คสช.ที่ 3/2562 กับบริษัทผู้รับสัมปทาน(บีทีเอส) ในข้อ 3 วรรคสอง ซึ่งผลการเจรจาดังกล่าวตัดสินให้ กทม.ต้องขยายเวลาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลัก (จากสถานีหมอชิต - สถานีอ่อนนุช) ซึ่งจะหมดอายุในปี 2572 โดยขยายเวลาไปถึงปี 2602 ในราคา 65 บาทตลอดสายเพื่อแลกกับหนี้ค่าเดินรถส่วนต่อขยาย (2) ประมาณ 40,000 ล้านบาท และหนี้ค่าก่อสร้างส่วนต่อขยาย(2) อีกประมาณ 60,000 ล้านบาท (ตามเอกสารแนบ 1) ผลสรุปดังกล่าวเป็นการเจรจาที่ขัดต่อสาระหลักในข้อ 3 วรรคสี่ของคำสั่ง คสช.ที่3/2562

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

 

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

 

 

ข้อ 3 วรรคสี่ ระบุว่า “ในการดําเนินการตามวรรคสองและวรรคสาม ต้องคํานึงถึงประโยชน์ของรัฐและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนหรือผู้ใช้บริการ ความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้บริการ การประหยัดค่าโดยสาร และการแบ่งปันผลประโยชน์ต่อภาครัฐอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม” นั้น

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลักจะหมดอายุสัมปทานในปี 2572 และตกเป็นสมบัติของ กทม.โดยคนกทม.เป็นผู้จ่ายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลักผ่านค่าโดยสารตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี (2542 - 2572) เมื่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลักตกเป็นสมบัติ กทม.ค่าโดยสารหลังปี 2572 หลังหมดสัญญาสัมปทานแล้วจะไม่มีต้นทุนค่าโครงสร้างระบบรางจะเหลือเพียงค่าใช้จ่ายการเดินรถ และค่าบำรุงรักษา เมื่อพิจารณาจากงบการเงินของบริษัทบีทีเอส พบว่าระหว่างปี 2557-2562 ต้นทุนการเดินรถเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10 - 16 บาทต่อเที่ยว และในปี 2562 ที่การเดินรถรวมส่วนต่อขยายที่ (1 ) และ (2) มีต้นทุนเพียง 15.70 บาทเท่านั้น (เอกสารแนบที่ 2 )

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

นอกจาก ค่าโดยสารจะถูกลงแล้ว กทม.ยังจะได้รับรายได้ในการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ ค่าโฆษณา และ ค่าเช่าการเชื่อมต่อกับพื้นที่เอกชนที่เป็นรายได้ต่อปีอย่างน้อย 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นรายได้ของ กทม.ในการพัฒนาเมืองกรุงเทพด้านขนส่งสาธารณะให้มีราคาถูกลงทั้งระบบได้

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

 

ดังนั้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวและส่วนต่อขยาย (1)+(2) จะมีราคาถูกลงกว่า 65 บาทตลอดสาย และ กทม.ยังมีรายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์และโฆษณาของกิจการรถไฟฟ้าตลอด 30 ปี ไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท โดยคน กทม.ไม่ต้องแบกรับภาระค่าโดยสารแพงถึง 65 บาทอย่างแน่นอน

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

 

การที่คณะกรรมการเจรจาต่อรองกับผู้รับสัมปทาน และให้ขยายเวลาสัมปทานไปอีก 30 ปี ในราคา 65 บาทย่อมขัดต่อคำสั่งคสช.ที่ 3/2562 ในข้อ3 วรรคสี่ระบุว่า “ที่ต้องคํานึงถึงประโยชน์ของรัฐและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนหรือผู้ใช้บริการ ความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้บริการ การประหยัดค่าโดยสาร และการแบ่งปันผลประโยชน์ต่อภาครัฐอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม”

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

 

กรณีการนำหนี้การเดินรถ และค่าก่อสร้างระบบรางในส่วนต่อขยาย (2) ที่ไม่ใช่สมบัติของ กทม. แต่ในความเป็นจริงนั้นเป็นสมบัติของ รฟม.กระทรวงคมนาคม ทั้งยังเป็นเส้นทางการเดินรถจาก จ.ปทุมธานี และ จ.สมุทรปราการ ซึ่งอยู่นอกเขตการรับผิดชอบของ กทม.อีกด้วยนั้นมาบีบให้ผู้ว่าฯกทม.ต้องต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลักไปอีก 30 ปีในราคา 65บาท เพื่อแลกกับการใช้หนี้ส่วนต่อขยาย (2) ที่ไม่ใช่ทรัพย์สินของ กทม.นั้นจึงขาดความเป็นธรรมอย่างยิ่ง

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

 

รัฐบาลย่อมทราบดีอยู่แล้วว่า การก่อสร้างส่วนต่อขยาย (2) นั้นมีการประเมินผลแล้วว่าไม่คุ้มค่าเชิงธุรกิจ แม้จะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจที่สามารถช่วยให้ประชาชนจาก จ.ปทุมธานี และ จ.สมุทรปราการ เดินทางเข้ามาใน กทม.ได้สะดวก แต่ค่าใช้จ่ายทั้งการเดินรถ และค่าก่อสร้างส่วนต่อขยาย (2) ก็ควรเป็นภาระของรัฐบาล และ หรือกระทรวงคมนาคม ไม่ใช่ภาระของคน กทม.ที่ต้องแบกรับหนี้ก้อนนี้โดยแลกกับการที่คน กทม.ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงถึง 65 บาทตลอดสายไปอีก 30 ปี

ดิฉันเห็นว่า หนี้ค่าเดินรถส่วนต่อขยาย (2) จำนวน 40,000 ล้านบาท รัฐบาลและ/หรือ รฟม.กระทรวงคมนาคมควรรับผิดชอบจ่ายให้บีทีเอส เพื่อยุติการฟ้องร้องระหว่างบีทีเอส และ กทม. ทั้งนี้ เพื่อมิให้เป็นเงื่อนไขที่จะบีบบังคับผู้ว่า กทม.ให้สมยอมรับผิดชอบขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลักไปอีก 30 ปี เพื่อแก้ปัญหาหนี้ให้กับ รฟม.และรัฐบาล

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

FB : รสนา โตสิตระกูล

 

ดิฉันจึงขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกข้อเจรจาระหว่างคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งคสช.ที่ 3/2562 และบริษัท บีทีเอส ซึ่งข้อตกลงขัดต่อสาระหลักในข้อ 3 วรรคสี่ และขอให้รัฐบาลยุติการบีบบังคับให้ กทม.ต้องขยายสัญญาสัมปทานไปอีก 30ปี ในราคา 65 บาท

ดิฉันได้ส่งสำเนาหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียนพล.อ อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.กระทรวงมหาดไทย และคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ
กทม.ด้วยแล้ว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง