วันนี้ (23 พ.ย. 2566 ) นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีกลุ่มนักเรียนอาชีวะ มีการรวมกลุ่มเป็นลักษณะองค์กร และมีการช่วยเหลือทางคดีว่า การก่อคดีของกลุ่มนร.อาชีวะต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เรื่องของนักเรียนทุกคน เป็นแค่เฉพาะบุคคล และไม่ใช่ระหว่าง 2 สถาบัน คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันเท่านั้น แต่โดยรวมพบ 2 ปัจจัยที่ทำให้มีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง ปัจจัยแรกเป็นเรื่องของบุคลิกภาพ และแนวโน้มการก่อความรุนแรง มีอยู่ในพื้นฐานเฉพาะบุคคลอยู่แล้ว
อ่านข่าว ตร.จับเพิ่มอีก 1 ต้องสงสัยเกี่ยวข้องคดียิง นศ.อุเทนถวายฯ-ครูเจี๊ยบ
2. ปัจจัยแวดล้อม หรือ ปัจจัยเสริม ได้แก่ รุ่นพี่ หรือ นักเรียนในอดีตของสถาบันฯ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ ล้วนแต่มีปัญหาเรื่อง Self-esteem – การเห็นคุณค่าในตนเอง ที่เป็นในทางลบ ไม่ใช่การชักชวนการแสดงออกในทางบวก
จิตแพทย์แนะแก้ปัญหาอาชีวทั้งระบบ
นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า วิธีการแก้ปัญหา ต้องทำในระบบอาชีวศึกษาทั้งระบบ โดยสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ควรเปลี่ยนระบบการดูแลเด็กใหม่ เป็นแบบทวิภาคี ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาแบบเหวี่ยงแห แต่ต้องดูเฉพาะนักเรียนที่มีปัญหา ซึ่งเชื่อว่าครูประจำชั้น มีวิธีการสังเกตและทราบพฤติกรรมเด็กอยู่แล้ว สามารถสังเกตเห็นได้ การขาดเรียน ,ผลการเรียน หรือ ให้ทำแบบสอบถาม ทุกอย่างเหล่านี้ชี้ชัด สามารถแบ่งแยกเด็กได้ จึงไม่อยากให้แก้ปัญหาแบบเหมารวม เพราะคนมีปัญหาเป็นคนส่วนน้อย
อ่านข่าว ตร.ตรวจจุดพ่นเปลี่ยนสีรถจักรยานยนต์ คดียิงครูเจี๊ยบ-นศ.อุเทนถวายฯ
คนที่มีปัญหาคือ เด็กที่ไม่เรียน ส่วนผู้เสียชีวิต มักเป็นเด็กเรียนเสมอ ดังนั้นควรส่งเสริมให้เด็กอาชีวะเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เพื่อให้มีความรับผิดชอบ และได้อยู่กับผู้ใหญ่ที่ดีเหมือนในประเทศเยอรมัน ที่สัดส่วนของเด็กเรียนอาชีวะ มากกว่าระดับอุดมศึกษา และไม่มีปัญหาเกิดขึ้น ทุกคนอยู่ในระบบ จากนั้นจึงแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องอาวุธปืน
การแก้ไขปัญหา นักเรียนอาชีวะ ทำได้ในดีในช่วงเปิดเทอม เพราะเด็กที่เปิดเรียนเชื่อในระบบ และพร้อมปฎิบัติตาม และส่งเสริมให้เกิด Self-esteem เชิงบวก
เร่งตำรวจจัดการพวกรุ่นพี่ยุก่อเหตุ
นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ส่วนการแก้ไขปัญหารุ่นพี่ที่แอบ แฝงเข้ามาหาประโยชน์ หรือ การสร้างการยอมรับในหมู่รุ่นน้องนั้น เชื่อว่า ทางตำรวจ มีระบบการจัดการได้ สามารถตรวจสอบ และจับกุม หากมีการส่งเสริมให้กระทำความผิด แต่การนำเสนอข่าว หรือ พฤติกรรมของรุ่นพี่ เหล่านี้ เมื่อเป็นเรื่องที่ถูกเปิดเผยขึ้น ต้องไม่นำเสนอแบบดราม่า ยกย่อง เพราะอาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ กลายเป็นการส่งเสริม ให้เกิด Self-esteem ในทางที่ผิด
อ่านข่าว
ตร.จับเพิ่มอีก 1 ต้องสงสัยเกี่ยวข้องคดียิง นศ.อุเทนถวายฯ-ครูเจี๊ยบ
ตร.ตรวจจุดพ่นเปลี่ยนสีรถจักรยานยนต์ คดียิงครูเจี๊ยบ-นศ.อุเทนถวายฯ
ตร.ทำแผน 2 ผู้ต้องหายิงนศ.เทคนิคดุสิต-เยียวยาครูเจี๊ยบ 2 แสน
จับแล้ว "มือยิง" นักศึกษาเทคนิคดุสิต-ยังเหลืออีก 2 หลบหนี