ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ร้อน ร้อน แบบนี้ แนะ 6 วิธีคลายร้อน ช่วงอุณหภูมิสูงแตะ 40 องศาฯ

ไลฟ์สไตล์
7 มี.ค. 67
11:26
11,032
Logo Thai PBS
ร้อน ร้อน แบบนี้ แนะ 6 วิธีคลายร้อน ช่วงอุณหภูมิสูงแตะ 40 องศาฯ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ร้อน ร้อน แบบนี้ อย่าให้ "เหงื่อ" จากอากาศที่ร้อนจัด มาเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต มาลองหาวิธีคลายร้อนแบบง่าย ๆ ให้ทุกวันของ "ซัมเมอร์" นี้ผ่านไปแบบสบาย ๆ สดชื่น และไม่ "เจ็บป่วย"

เข้าสู่เดือน "มีนาคม 2567" แบบร้อนระอุ หลายคนบอกปีนี้ร้อนเร็ว และร้อนจัด สาเหตุส่วนหนึ่ง คือ "เอลนีโญ" และผลจาก "โลกร้อน" ที่ยิ่งชัดเจนขึ้น ความปั่นป่วนของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบไม่ใช่แค่สภาพร่างกายจากความร้อนของอุณหภูมิเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิถีชีวิตด้วย

วันนี้จะพาไปดูวิธีคลายร้อนปรับอุณหภูมิร่างกาย ป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายเผชิญความร้อนมากเกินไป ที่สำคัญอย่าปล่อยให้ตัวเอง "ป่วย" ดีที่สุดมีอะไรน่าสนใจ อย่างไรบ้าง ติดตามได้ที่นี่

อ่าน : ร้อนฉ่า! กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนมี.ค.-เม.ย.ร้อนจัดเกิน 40 องศาฯ

อ่าน : สู้ภัยแล้ง! เทคนิคประหยัดน้ำในบ้าน ช่วยเซฟเงินในกระเป๋า

1. ดื่มน้ำเปล่า จิบน้ำบ่อย ๆ ระหว่างวัน

"ดื่มน้ำเปล่า" ในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการดื่มน้ำเปล่า 8-10 แก้วต่อวัน ช่วยทดแทนน้ำที่ร่างกายต้องสูญเสียไปจากอากาศร้อน อีกอย่าง การดื่มน้ำในปริมาณที่พอดี จะช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคร้าย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งลำไส้ และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้อีกด้วย 

ดื่มน้ำเปล่า ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ผิวสดใส ผิวหนังมีสุขภาพดี ตรงกันข้ามหากดื่มน้ำน้อยส่งผลเสียต่อผิวหนัง ได้เช่นกัน เช่น ทำให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื่น ดูแห้งกร้าน  

อากาศร้อนหลายคนอยากสงสัยแล้วอยากหาดื่มน้ำชนิดอื่นทดแทนได้หรือไม่ เช่น น้ำหวาน ชา กาแฟ เครื่องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มได้แต่อาจทำให้เกิดการขับน้ำออกจากร่างกาย เช่น "กาแฟอีน" จะกระตุ้นการขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น  

ส่วน "น้ำตาล" ที่เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มเหล่านี้ เป็นสาเหตุของระดับน้ำตาลในเลือดสูง นำไปสู่โรคเบาหวานได้ โดยในผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก "การขับปัสสาวะ" จะมีมากกว่าปกติได้

อ่าน : "7 โรค" พบบ่อยช่วง "หน้าร้อน" รู้ก่อนป้องกันป่วย

อย่างไรก็ตาม แม้น้ำเปล่ามีข้อดีแต่หลายคนไม่ชอบดื่มน้ำเปล่า เพราะไม่ชอบรสชาติที่จืดชืด ยิ่งช่วงอากาศร้อน ๆ เครื่องดื่มที่มีรสชาติหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ น้ำหวาน ยิ่งทำให้รู้สึกสดชื่น แต่เพื่อสุขภาพที่ดี

การดื่มน้ำเปล่าให้ชิน และเลือกเป็นน้ำเย็นที่ทำให้รู้สึกสดชื่น จึงเป็นตัวช่วยทำให้ร่างกายของเราสดชื่นจิบน้ำเปล่าบ่อย ๆ ช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย ทดแทนการเสียน้ำจากเหงื่อ ป้องกันอาการฮีทสโตรกได้อีกทางหนึ่ง

อ่าน : "ผัก - ผลไม้ - สมุนไพรไทย" ฤทธิ์เย็น มีประโยชน์ ช่วยคลายร้อน

2. กิน ผัก ผลไม้ฤทธิ์เย็น  

หากต้องการเครื่องดื่มสมุนไพร ฤทธิ์เย็น เป็นตำรับยาสมุนไพรปรับธาตุในฤดูร้อน สรรพคุณช่วยรักษาอาการร้อนใน ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ทำให้สดชื่น มีข้อแนะนำว่าลองหา ผัก ผลไม้ และสมุนไพร มารับประทาน 

น้ำย่านาง ซึ่ง ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น ปรับสมดุลลดความร้อนในร่างกาย, น้ำบัวบก แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ลดอาการปวดศีรษะข้างเดียว บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ, น้ำกระเจี๊ยบ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการร้อนในภายในช่องปาก ลดความดันโลหิต นอกจากนี้ มียังมี น้ำใบเตย ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่น

กินผลไม้มีคุณค่าทางโภชนาการ เต็มไปด้วยใยอาหาร ช่วยให้สดชื่น คลายร้อน เช่น แตงกวา ช่วยลดความร้อนและทำให้ร่างกายสดชื่น , แตงโมและแคนตาลูป มีส่วนประกอบของน้ำสูงถึงร้อยละ 95 สามารถทดแทนน้ำในร่างกายที่สูญเสียไปเนื่องจากอากาศร้อนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แตงกวา คะน้า มะเขือเทศ มะละกอ ฝรั่ง และสะระแหน่

3. อาบน้ำระหว่างวัน 

การอาบน้ำเย็น เป็นอีกตัวเลือกแรก ๆ ของหลาย ๆ คน เพื่อคลายร้อน ปกติเราจะอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็นอยู่แล้ว แต่ในหน้าร้อนแบบนี้ เหงื่อจากความร้อนอาจทำหลายคนหงุดหงิด หากจะอาบน้ำเพิ่มอีกสัก 1-2 รอบก็คงไม่เป็นไร เอาน้ำเย็น ๆ มาลูกตัวหน่อยอาจทำให้สบายตัวขึ้นก็ได้ 

อย่างไรก็ตาม  แนะนำให้อาบน้ำเย็นที่เป็นอุณหภูมิปกติ จะทำให้ร่างกายสดชื่น และหากอยากได้ความเย็นเป็นพิเศษลองใช่สูตรเย็นดู 

4. หลีกเลี่ยงแสงแดด ในช่วง 10.00-15.00 น. 

แสงแดดที่คอยแผดเผา ในทุก ๆ วัน กับอุณหภูมิที่พุ่ง สิ่งที่ต้องระวัง คือ โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรก ที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายร้อนจัดจนส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน จึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีแดดจัดต่อเนื่องนานเกินไป และหลีกเลี่ยงสถานที่ที่อากาศร้อน อับ และถ่ายเทไม่ดี 

แต่หากจำเป็นต้องอยู่กลางแดดจะมีวิธีในการป้องกันตัวเอง ได้อย่างไรบบ้าง  

  • กฎของเงา หลีกเลี่ยงแสงแดดจนกว่าเงาจะยาวกว่าตัวของเรา คือ ช่วงเช้าก่อน 11.00 น. และช่วงเย็นหลัง 14.00 น. ซึ่งจะเป็นช่วงที่ปลอดภัย เพราะจะมีแสงยูวีบี (UVB) น้อย
  • กางร่ม เนื้อผ้าของร่มส่วนใหญ่จะป้องกันแสงแดดได้ดีประมาณ 80-90% ซึ่งประสิทธิภาพในการป้องกันแดดของร่มขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และระยะห่างของร่ม ถ้าร่มและตำแหน่งของดวงอาทิตย์อยู่ เหนือศีรษะพอดีก็จะป้องกันได้ดีที่สุด 
  • สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง ทาครีมกันแดด ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ผ้าโปร่งสบาย ระบายอากาศได้ดี
  •  เมื่อจอดรถอยู่กลางแดด อย่าทิ้งใครไว้ในรถโดยเฉพาะเด็กเล็ก รถที่จอดตากแดดโดยไม่เปิดเครื่องปรับอากาศอาจมีอุณหภูมิสูงขึ้นได้เร็วมากภายใน 10-20 นาที
  • หากอยู่ในห้องที่มีแดดส่อง ควรจะใช้ม่านบังตาหรือดึงผ้าม่านลงเพื่อป้องกันแสง แต่ไม่ต้องปิดหน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ทั้งนี้ การโดนแดดสะสมเป็นเวลานาน โดยไม่มีการป้องกันจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิด มะเร็งผิวหนัง ได้ 

5. ออกไปเดินเล่นตามห้างฯ / สวนสาธารณะ

หากไม่อยากเสียค่าไฟไปกับการเปิดเครื่องปรับอากาศ ลองหาสถานที่ออกไปเดินเล่นตามห้างสรรพสินค้า หรือไม่ก็สวนสาธารณะที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ได้อาศัยร่มไม้บังแดดรับลมเย็นจากธรรมชาติ ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยคลายร้อนได้อีกวิธี    

6. กินไอศกรีมคลายร้อน

ไอศกรีม เป็นสิ่งที่หลายคนกินเพื่อคลายร้อน แต่ต้องระวังจำกัดปริมาณในการกิน เพราะไอศกรีม มีส่วนผสมของไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลสูง หากกินในปริมาณมากไป เสี่ยงไขมันสะสม น้ำหนักตัวเพิ่มได้ 

การเลือกกินไอศกรีม ควรหลีกเลี่ยงชนิดที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเนื่องจากไอศกรีมดัดแปลง 1 แท่ง (50 – 70 กรัม) ให้พลังงาน 150 – 230 กิโลแคลอรี มีไขมันอิ่มตัว 12 – 15 กรัม มีน้ำตาล 4 – 5 ช้อนชา ไอศกรีม 1 สกู๊ป(100 กรัม)ให้พลังงาน 250 – 350 กิโลแคลอรี มีไขมันอิ่มตัว 7 – 11 กรัม น้ำตาล 6 – 9 ช้อนชาโดยใน 1 วัน ไม่ควรกินไขมันและน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา

ไอศกรีมจึงควรกินเป็นครั้งคราวและจำกัดปริมาณ เลือกกินชนิดไขมันน้ำตาลน้อย 

ปีนี้ ประเทศไทยอากาศร้อนจัด วิธีเหล่านี้เป็นแค่แนวทางในการคลายร้อย ใครหลายคนอาจหาวิธีคลายร้อนอย่างอื่นได้อื่นได้อีก หรือหากใครมีวิธีการใกก็สามารถมาแบ่งปันหรือแชร์กันได้ 

อ้างอิงข้อมูลบ้างสวนจาก กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านข่าวอื่น ๆ

ไทยเข้าสู่ "ยุคโลกเดือด" เสี่ยงกระทบสุขภาพ

ร้อนฉ่า! ไทยเข้าสู่ฤดูร้อนปลาย ก.พ.นี้ แตะ 43-44.5 องศาฯ

ไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว อุณหภูมิสูงสุด 44.5 องศา สิ้นสุดกลาง พ.ค.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง