ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

Before-After "แหลมยามู" ก่อนจะเป็นจุดเกิดเหตุ "ฝรั่งเตะหมอ"

สังคม
7 มี.ค. 67
09:28
880
Logo Thai PBS
Before-After "แหลมยามู" ก่อนจะเป็นจุดเกิดเหตุ "ฝรั่งเตะหมอ"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ก่อนที่คนทั้งประเทศจะรู้จัก “แหลมยามู” กว่าจะถึงวันนี้ ที่นี่ผ่านอะไรมาบ้าง

“แหลมยามู” เมื่อก่อนนี้ เคยเป็นชุมชนมุสลิม ริมชายฝั่งทะเลอันดามัน มีหมู่บ้านเล็ก ๆ เลียบไปตามแนวถนนระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

ลักษณะเป็นแหลมยื่นไปในทะเล เคยเป็นสถานที่ชื่นชอบ อีกแห่งหนึ่งในภูเก็ต เวลาจะไปดูพระอาทิตย์ตกทะเล ตอนเย็น ๆ

“แหลมยามู” เคยเต็มไปด้วยแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ เป็นแหล่งปะการังมากถึง 75 ไร่ เป็นแหล่งพบหญ้าทะเลแหล่งอาหารของพะยูน ถึง 4 ชนิด เช่น หญ้าคาทะเล หญ้าใบมะกรูด หญ้าชะเงาใบมน และหญ้าชะเงาใบเลื่อย พื้นที่แนวหญ้าทะเลประมาณ 10 ไร่ ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูเก็ต และที่นี่เคยมีชาวบ้านพบเห็น “พะยูน”

เมื่อปี 2549 มีโครงการก่อสร้างท่าเรือมารีนาบริษัท เดอะยามู จำกัด ซึ่งมีนักลงทุนชาวต่างชาติ คือ “เอียน ไมเคิล ซาร์ส แฮนรี” แต่โครงการนี้ถูกชาวบ้านคัดค้าน “ไม่เห็นด้วย”

ท่าเทียบเรือมารีนาของบริษัท เดอะ ยามู จำกัด มีขนาดไม่เกิน 30 ตันกรอสส์ และจะต้องขุดลอกพื้นที่ประมาณ 18,000 ลูกบาศก์เมตร ความลึกเฉลี่ย 1.65 เมตร รองรับเรือได้ 39 ลำ และยังมีโรงแรมบนชายฝั่งแหลมยามูด้วย

โรงแรมที่มีเจ้าของเป็นบริษัทร่วมทุนต่างชาติ ได้ออกเอกสารสิทธิ์ครอบทางสาธารณะของชุมชนชาวบ้านยามู ที่ใช้เส้นทางนี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพื่อเดินทางลงชายหาดทำการประมง แต่มีข้อตกลงทำสร้างสาธารณะลงไปที่ชายหาดให้ใหม่ ที่เรียกว่า “ทางภาระจำยอม”

บริษัท อันดามัน เอนไวรอนเมนทอล คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบการทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เคยทำการสำรวจว่า ในพื้นที่โครงการก่อสร้างท่าเรือมารีนา ไม่พบปะการังและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เนื่องจากมีลักษณะเป็นดินเลนโคลน และน้ำมีความขุ่นมาก

แต่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน เข้าตรวจสอบทรัพยากรชายฝั่ง รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่า รายงานฉบับของบริษัทสำรวจ "ขัดแย้งกับความจริง"

เพราะบริเวณที่จะก่อสร้างท่าเทียบเรือยามู มีแนวปะการัง อยู่ด้านขวาของโครงการก่อสร้างเป็นบริเวณกว้างถึงปลายแหลมยามู และบางส่วนของแนวปะการัง ทางด้านซ้ายของโครงการฯ ห่างจากโครงการก่อสร้างประมาร 200 เมตร

จึงให้ชาวบ้านไปสำรวจใหม่อีกครั้ง พบว่า บริษัทที่รับผิดชอบก่อสร้าง นำรถแบคโฮ และกลุ่มคนงาน เข้าถอนหญ้าทะเล ทำลายปะการัง เช่น พบเศษหญ้าทะเลลักษณะถูกถอนขึ้น ฝุ่นทรายจากการก่อสร้างก็มีผลทำให้หญ้าทะเลจำนวนมากตายลง

แต่ในอีกไม่กี่ปีต่อมา ก็ปรากฏท่าเรือ และหมู่บ้านหรู ประกาศขาย ก็อย่างที่เห็นในภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง