วันนี้ (28 มี.ค.2567) นางสาวน.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นายวิษณุ นุ่นทอง กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือต่อ นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีนักข่าวรับเงินจากแหล่งข่าว ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่เกิดคดีที่ตำรวจเข้าตรวจค้นบ้าน พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.และปรากฏข้อมูลว่ามีนักข่าวบางส่วนรับเงินจากแหล่งข่าว
- "ทนายตั้ม" ยื่นหลักฐานสอบบิ๊ก ตร.โยงเว็บพนัน "บิ๊กเต่า" ยันไม่ละเว้นหากผิด
- สมาคมนักข่าวฯ โต้ "ทนายตั้ม" ปัดรับเงินบริจาค-ขู่ฟ้องกลับ
ษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม
และล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มี.ค.จากการแถลงข่าวของนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม ที่อ้างมีข้อมูลว่านักข่าวและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีส่วนรับเงินจากเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์ โดยอ้างชื่อ ตัวย่อ "ว." ตำแหน่งอุปนายก จึงขอให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ด้านนายจีรพงษ์ เผยอีกว่า เมื่อวานนี้ตนเองได้พบกับทนายษิทราและได้พูดคุยกันเล็กน้อยและสอบถามถึงข้อเท็จจริง โดยชี้แจงว่าอุปนายกของสมาคมฯ ตัวย่อ "ว." ในอดีตมีหลายคน ซึ่งทนายษิทราก็ยืนยันว่าข้อมูลการรับเงินเป็นไปตามที่เผยแพร่ และเป็นเรื่องของบุคคล ไม่ได้พาดพิงถึงตัวองค์กร ส่วนจะเป็นอุปนายกท่านใดนั้น ให้ทางสมาคมฯ ไปตรวจสอบกันเอง
นายจีรพงษ์ยอมรับว่าการที่ทนายษิทราออกมาเปิดเผยแค่ตัวย่อ ทำให้ยากที่องค์กรจะตรวจสอบ เพราะไม่อยากพุ่งเป้าไปที่คนใดคนหนึ่ง เพียงเพราะมีตัว ย่อ ว. เหมือนกัน จะกลายเป็นการกล่าวหาบุคคลนั้น ทั้งที่ตัวย่อดังกล่าวมีหลายคน แต่ทั้งนี้ทางสมาคมฯ ยินดีที่จะถูกตรวจสอบหรือถูกคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรียกมาให้ข้อมูล
วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ด้านนายกสภาทนายความ เปิดเผยว่า การตรวจสอบนักข่าวที่รับเงินจากแหล่งข่าวในคดีแรกนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างสอบข้อเท็จจริงพยานไปเกือบเสร็จแล้ว เหลืออีกแค่บางปากก็จะเสร็จสมบูรณ์ และเมื่อมีการยื่นขอให้ตรวจสอบกรณีที่ทนายตั้มออกมาเปิดเผยเพิ่มเติม ตนเองก็จะรับเรื่องไว้ และคาดว่าน่าจะสอบพยานเพิ่มเติมอีกไม่มาก จากเดิมที่สภาทนายความตั้งกรอบระยะเวลาไว้ 90 วัน ตอนนี้ใกล้ครบกำหนดแล้ว ดังนั้นก็คาดว่าจะขยายเวลาออกไปอีกประมาณ 1 เดือน ก็น่าจะเพียงพอในการตรวจสอบทั้ง 2 กรณี ก่อนจะมีการเปิดเผยผลการตรวจสอบในคราวเดียวกัน
ส่วนการแถลงข่าวของทนายความ นายกสภาทนายความ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า การทำหน้าที่ของทนายความทุกคนต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับของสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ หากเป็นการหมิ่นหรือผิดข้อบังคับก็มีช่องทางที่จะนำเข้าสู่กระบวนการร้องเป็นคดีมรรยาทได้ ทั้งนี้นายกสภาทนายความไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีมรรยาท แต่อำนาจจะอยู่ในส่วนของประธานคณะกรรมการพิจารณาคดีมารยาท เมื่อคดีเข้าสู่กระบวนการแล้วหากคดีมีมูลก็จะรับไว้พิจารณาแต่งตั้งกรรมการทำการสอบสวนและพิจารณาลงโทษต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :