วันนี้ (16 ส.ค.2567) เวลา 10.00 น. มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 2 ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ต่อจาก นายเศรษฐา ทวีสิน หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา
ถ่ายทอดสด โหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 31
อ่านข่าว : มติเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล "แพทองธาร" นั่งนายกรัฐมนตรี
ขั้นตอนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159
สำหรับขั้นตอนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 มีดังนี้
1.แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่จะถูกเสนอชื่อมาโหวตต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 88 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรคการเมืองนั้นจะต้องเป็นพรรคที่มี สส. 25 คนขึ้นไป ผู้ที่ถูกเสนอชื่อต้องมี สส. รับรองอย่างน้อย 50 คน (ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร)
2.การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 ด้วยการขานชื่อ สส. ตามลำดับอักษร และให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นรายคน
3.สภาผู้แทนราษฎรจะคัดเลือก สส. ขึ้นมาเป็นกรรมการนับคะแนน ทั้งนี้ บุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาจึงจะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี
4.เมื่อมีความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วประธานรัฐสภา คือ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา จะเป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ
สำหรับ สส.ทั้งหมดจำนวน 493 คน โดย สส. 6 คน ที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงเนื่องจากกรณีการยุบพรรคก้าวไกล และถูกตัดสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง ประกอบด้วย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์, นายชัยธวัช ตุลาธน, นายอภิชาติ ศิริสุนทร, น.ส.เบญจา แสงจันทร์ , นายสุเทพ อู่อ้น , นายปดิพัทธ์ สันติภาดา
และอีก 1 คน นางมุกดาวรรณ เลื่องศรีนิล สส.นครศรีธรรมราช เขต 8 พรรคภูมิใจไทย ที่ถูกศาลฎีกาสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่
ซึ่งบุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภา ปัจจุบันมีจำนวน สส. 493 คน จึงต้องได้คะแนนเสียงตั้งแต่ 248 เสียงขึ้นไป
อ่านข่าว :
เปิดประวัติ "แพทองธาร" แคนดิเดตนายกฯคนที่ 31