ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แกะรอย "นอมินีทุนจีน" ปลูกทุเรียนพันธุ์ "มูซังคิง"กลางป่าไทย

สิ่งแวดล้อม
19 ก.พ. 68
18:10
1,493
Logo Thai PBS
แกะรอย "นอมินีทุนจีน" ปลูกทุเรียนพันธุ์ "มูซังคิง"กลางป่าไทย
แกะรอย "นอมินีทุนจีน" ปลูกทุเรียนพันธุ์จีนในป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เบื้องต้นพบรุกพื้นที่กว่า 500 ไร่ วางระบบน้ำครบ พบป้ายติดสายพันธุ์ทุเรียน Black Thorn

วันนี้ (19 ก.พ.2568) เจ้าหน้าที่หลายหน่วยสนธิกำลังตรวจสอบสวนทุเรียน ที่ปลูกในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ในต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดยนายพัชร์ภารุจ สุคนธร ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ทหารพราน  กอ.รมน.  ป.ป.ท., ป.ป.ช. และ DSI เข้าตรวจสอบ 

นายพัชร์ภารุจ กล่าวว่า จากการการตรวจสอบสวนทุเรียนพบว่า มีการลักลอบปลูกรวมกว่า 500 ไร่ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 โซน โซนแรกมีพื้นที่ 370 ไร่ และโซนที่สองมีพื้นที่ 236 ไร่ 

อ่านข่าว "ชีวะภาพ" เล็งดำเนินคดีทุนจีนบุกรุกพื้นที่ปลูกทุเรียนจันทบุรี-ตราด

กลุ่มทุนบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ทำ สวนทุเรียนกว่า 500 ไร่ ใน อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา

กลุ่มทุนบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ทำ สวนทุเรียนกว่า 500 ไร่ ใน อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา

กลุ่มทุนบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ทำ สวนทุเรียนกว่า 500 ไร่ ใน อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา

เจ้าหน้าพบบริเวณสวนทุเรียนมีการขุดบ่อน้ำขนาดใหญ่ ที่ระดับความลึกถึง 30 เมตร การติดตั้งระบบเดินเครื่องสูบน้ำแรงดันสูง และการวางแนวระบบจ่ายน้ำอย่างดีไว้บริเวณรอบสวนทุเรียน รวมถึงข้อมูลที่พบการกว้านซื้อที่ดินจากบริษัท ที่อาจมีกลุ่มทุนเข้าไปเกี่ยวข้อง ส่วนจะเป็นชาวจีนหรือไม่ อยู่ระหว่างการขยายผลตรวจสอบ

นายพัชร์ภารุจ สุคนธร ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ฉะเชิงเทรา

นายพัชร์ภารุจ สุคนธร ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ฉะเชิงเทรา

นายพัชร์ภารุจ สุคนธร ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ฉะเชิงเทรา

ขณะเดียวกันยังขยายผลด้วยว่า มีพันธุ์ทุเรียนที่นำมาปลูก เป็นสายพันธุ์ต่างชาติของกลุ่มทุนใหญ่ ที่ลักลอบปลูก ในพื้นที่ด้วยหรือไม่ หลังมีข้อมูลว่าอาจเป็นสายพันธุ์ "มูซังคิง"

การขุดบ่อน้ำลึกถึง 30 เมตร ทำระบบเครื่องปั๊มน้ำแรงดันสูง แสดงว่ามีการใช้เงินลงทุนสูง การเดินท่อต่อระบบน้ำฉีดรอบสวนทุเรียน ชาวบ้านธรรมดาไม่สามารถทำได้ 
พบวางระบบน้ำวางท่อตลอดแนวแปลงสวนทุเรียน

พบวางระบบน้ำวางท่อตลอดแนวแปลงสวนทุเรียน

พบวางระบบน้ำวางท่อตลอดแนวแปลงสวนทุเรียน

ทุนจีนรุกปลูกทุเรียน "มูซังคิง" ในป่าสงวน 

นายชัยนันท์ อิ่มเจริญ หัวหน้าหน่วยป้องกันและรักษาป่าหนองคอก กรมป่าไม้ ระบุว่า เบื้องต้นมีความผิด ตามมาตรา 14 ยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแควระบมและป่าสียัด โดยไม่ได้รับอนุญาต มาตรา 54 พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 ยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยพื้นที่ปลูกทุเรียนพบอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่ง และบางส่วนพบในที่ดินที่กรมป่าไม้ อนุญาตให้จังหวัดมาจัดนโยบายที่ดิน (คทช.)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบริษัทที่เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ พบข้อมูลว่า มีชื่อว่า บ.มูซังคิง มีนายไซมอน เป็นประธาน เจ้าหน้าที่ระบุว่า หลังจากนี้จะเชิญมาให้การกับเจ้าหน้าที่ด้วย ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสวนทุเรียนที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

ขณะที่เจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ระบุว่า หากพบว่าเรื่องนี้ มีความซับซ้อน และเข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ ก็จะรวบรวมข้อมูลรายงานเสนอต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้พิจารณาตามขั้นตอน

เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานเข้าตรวจสอบปัญหาสวนทุเรียนรุกป่าสงวนแห่งชาติ

เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานเข้าตรวจสอบปัญหาสวนทุเรียนรุกป่าสงวนแห่งชาติ

เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานเข้าตรวจสอบปัญหาสวนทุเรียนรุกป่าสงวนแห่งชาติ

แกะรอย "นอมินี" ปลูกทุเรียนพันธุ์จีนในป่าไทย 

ผูัสื่อข่าวรายงานว่า บริเวณสวนทุเรียนจุดที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ พบว่า มีป้ายที่ระบุข้อความภาษาอังกฤษ ซึ่งระบุถึงทุเรียนพันธุ์ Black Thorn (แบล็ก ทอร์น) หรือ Ochee (โอชี่) หรือหนามดำ ติดไว้บริเวณดังกล่าวด้วย ด้วยระบุข้อมูลวันเดือนปีไว้ด้วยว่าเป็นปี 2566 ซึ่งเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการขยายผลตรวจสอบเช่นกัน

นอกจากนี้ยังสังเกตพบว่า ตลอดการลงพื้นที่สวนทุเรียน ไม่พบแรงงานหรือตัวแทนของเจ้าของสวนทุเรียนแต่อย่างใด

พบวางระบบน้ำวางท่อตลอดแนวแปลงสวนทุเรียน

พบวางระบบน้ำวางท่อตลอดแนวแปลงสวนทุเรียน

พบวางระบบน้ำวางท่อตลอดแนวแปลงสวนทุเรียน

แหล่งข่าวระบุว่า บริษัทนี้ ก่อตั้งปี 2564 โดยนายไซมอน ชาวจีน เป็นประธานบริษัท และมีนายไว ชาวจีน เป็น CEO และมีคนไทยเป็น เป็นผู้จัดการสวนในโซนต่างๆ 3 คน คือ นายสมศักดิ์ น.ส.ขวัญชนก และน.ส.อรอุมา และยังมีรายงานว่าบริษัทเริ่มต้นปลูกทุเรียนในไทย เมื่อปี 2564 หรือ 3,020 ไร่

อ่านข่าว

ถึงคิว! 17 จว.เหนือรับมือไฟป่า-ฝุ่น Hotspot พุ่ง 2,021 จุด 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง