ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

NASA เผยภาพใหม่ “กาแล็กซีซอมเบรโร” จากกล้องฯ เจมส์ เว็บบ์


Logo Thai PBS
แชร์

NASA เผยภาพใหม่ “กาแล็กซีซอมเบรโร” จากกล้องฯ เจมส์ เว็บบ์

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/2088

NASA เผยภาพใหม่ “กาแล็กซีซอมเบรโร” จากกล้องฯ เจมส์ เว็บบ์
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

NASA ได้เผยภาพใหม่ของกาแล็กซีซอมเบรโร (Sombrero) หรือ Messier 104 (M104) กาแล็กซีที่มีชื่อมาจากรูปร่างของมันที่คล้ายทรงของหมวกปีกกว้างเม็กซิกัน แต่จากการสังเกตการณ์ใหม่ของกล้องฯ เจมส์ เว็บบ์ พบว่ากาแล็กซีทรงหมวกแห่งนี้มีอัตราการเกิดของดาวฤกษ์ดวงใหม่ที่น้อยกว่าทางช้างเผือกของเราเสียอีก

กาแล็กซีซอมเบรโร หรือ Messier 104 แห่งนี้เป็นกาแล็กซีทรงรีที่มีฝุ่นรอบนอกที่หนา สวยงาม กับฝุ่นทรงกลมในส่วนของใจกลาง ที่เมื่อสังเกตจากกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกแล้ว กาแล็กซีแห่งนี้มีรูปร่างคล้ายกับทรงของหมวกปีกกว้างเม็กซิกัน ที่กลายมาเป็นชื่อเรียกของกาแล็กซีแห่งนี้

ภาพถ่ายเปรียบเทียบระหว่างภาพจากกล้องฮับเบิลในย่านแสงมองเห็นกับภาพจากกล้องเจมส์ เว็บบ์ในย่านอินฟราเรด

กาแล็กซีซอมเบรโรแห่งนี้อยู่ห่างจากโลก 31.1 ปีแสง ณ ใจกลางของกาแล็กซีแห่งนี้ มีหลุมดำมวลยิ่งยวดขนาดใหญ่ ซึ่งมีมวล 9 พันล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ กาแล็กซีแห่งนี้นับว่าเป็นกาแล็กซีที่เงียบสงบเมื่อเทียบกับกาแล็กซีอื่น ๆ ที่หลุมดำ ณ ใจกลางกาแล็กซีมีกิจกรรมกลืนกินมวลมากกว่านี้ และที่กาแล็กซีแห่งนี้ยังพบ “กลุ่มดาวทรงกลม” (Globular Clusters) ราว 2,000 กลุ่มอยู่ภายในกาแล็กซีแห่งนี้

ด้วยลักษณะที่โดดเด่นของมันทำให้มีการศึกษาและสำรวจโดยนักวิจัยต่าง ๆ มากมาย เมื่อเร็ว ๆ นี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ได้ถ่ายภาพกาแล็กซีแห่งนี้ในย่านคลื่นอินฟราเรด ซึ่งจะช่วยเผยให้เห็นดวงดาวที่อยู่ภายในกาแล็กซีโดยปราศจากการถูกรบกวนโดยฝุ่นที่ปกคลุมกาแล็กซี ภาพถ่ายได้เผยให้เห็นว่ากาแล็กซีแห่งนี้เมื่อไม่มีฝุ่นที่ปกคลุม มันมีรูปร่างคล้ายกับเป้ายิงธนูเสียมากกว่าหมวกปีกกว้างเม็กซิกัน อีกทั้งยังด้วยคุณภาพของภาพถ่ายของกล้องฯ เจมส์ เว็บบ์ยังทำให้เราเห็นรายละเอียดของการกระจายตัวของดาวฤกษ์และมวลภายในกาแล็กซีแห่งนี้ได้อย่างชัดเจน แสดงให้เห็นรายละเอียดของจานด้านในและด้านนอกของกาแล็กซีที่เหมือนกับปีกหมวกที่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนได้อย่างชัดเจน นับตั้งแต่กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ปลดระวางลงไป

ภาพถ่ายของกาแล็กซีซอมเบรโร โดยกล้องโทรทรรศน์เจมส์ เว็บบ์.png

คุณภาพของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถตรวจจับโมเลกุลของสาร Polycyclic Aromatic Hydrocarbons โมเลกุลของคาร์บอนที่สามารถมาใช้ในการวัดจำนวนประชากรของดาวฤกษ์อายุน้อยในกาแล็กซีได้ จากปริมาณของสารประกอบนี้ทำให้พบว่ากาแล็กซีแห่งนี้มีอัตราการเกิดของดาวฤกษ์ดวงใหม่ที่น้อยกว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกในอัตราที่น้อยกว่า 1 ดวงต่อปี เมื่อเทียบกับกาแล็กซีทางช้างเผือกที่มีอัตราการเกิดใหม่ของดาวฤกษ์ที่ประมาณ 2 ดวงต่อปี

อีกทั้งจากภาพถ่ายของกาแล็กซีซอมเบรโรแห่งนี้ยังถ่ายภาพติดกาแล็กซีอื่น ๆ ที่อยู่ในพื้นหลังมาด้วย ซึ่งสามารถสังเกตเห็นสีของกาแล็กซีพื้นหลังนั้นแตกต่างกัน เป็นผลมาจากระยะทางและองค์ประกอบต่าง ๆ ของกาแล็กซีเหล่านั้นมีความแตกต่างกัน นับเป็นอีกหนึ่งการสังเกตการณ์ที่น่าสนใจจากการถ่ายภาพกาแล็กซีทรงหมวกเม็กซิกันแห่งนี้


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

ที่มาข้อมูล : NASA

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

กาแล็กซีซอมเบรโรซอมเบรโรSombreroMessier 104กล้องเจมส์ เว็บบ์กล้องฯ เจมส์ เว็บบ์เจมส์ เว็บบ์กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ องค์การนาซานาซาNASAอวกาศThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech James Webb Space TelescopeSpace - Astronomy
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด