ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

6 ทริกป้องกันหลอกโหลด “แอปฯ เงินกู้ปลอม”


Verify

15 ม.ค. 68

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

6 ทริกป้องกันหลอกโหลด “แอปฯ เงินกู้ปลอม”

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/2172

6 ทริกป้องกันหลอกโหลด “แอปฯ เงินกู้ปลอม”
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ปัจจุบันการขอสินเชื่อเงินกู้แบบออนไลน์ทำได้ง่ายและสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ที่อยากจะกู้เงิน ซึ่งมิจฉาชีพอาศัยโอกาสนี้ในการหลอกลวงประชาชน ทำให้มีประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพจำนวนมาก

woman-crying-while-reading-message-cellphone

Thai PBS Verify, Thai PBS Sci & Tech และ ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) มี 6 วิธี ที่จะช่วยให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของแอปฯ เงินกู้ปลอม ดังนี้

1. ไม่โหลดแอปฯ ที่ไม่น่าเชื่อถือ

เพราะมิจฉาชีพมักจะสร้างแอปฯ ปลอมที่มีลักษณะคล้ายกับของธนาคาร ดังนั้นก่อนที่จะดาวน์โหลดต้องดูรายละเอียดก่อนติดตั้งให้ดี

2. ไม่โหลดแอปฯ จากลิงก์หรือข้อความทาง SMS หรือ Email การส่งข้อความมาทาง SMS หรือ Email โดยมีข้อความที่ดึงดูดใจพร้อมกับแนบลิงก์ ทำให้คนอ่านสนใจ

กดลิงก์เพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน มิจฉาชีพมักหลอกเหยื่อโดยวิธีแบบนี้เป็นจำนวนมาก อย่ากดลิงก์เด็ดขาด

3. ไม่โหลดแอปฯนอก Store

หากดาวน์โหลดแอปฯ ต้องผ่าน Apple Store, Google play เท่านั้น เพราะแอปที่อยู่ใน Apple Store, Google play จะผ่านการตรวจสอบมาแล้ว ดังนั้นจะมีความปลอดภัย

4. ไม่ใช้ Wifi สาธารณะ ในการโหลดแอปฯ

เพราะ Wifi อาจจะเป็นกลลวงของมิจฉาชีพ หากมีการเชื่อม Wifi ที่ไม่รู้จัก อาจจะทำให้ข้อมูลต่าง ๆ หลุดไปมือมิจฉาชีพได้

5. ระวังการกรอกข้อมูลสำคัญ

การขอสมัครสินเชื่อจะมีการขอข้อมูลส่วนตัว เอกสารสำคัญ ฉะนั้นต้องระวังเรื่องการกรอกข้อมูลส่วนตัว ต้องเซ็นสำเนาถูกต้อง และระบุวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลนั้น ๆให้ชัดเจน

6. จำกัดวงเงินในแต่ละวัน

แอปฯ เงินกู้ปลอม หรือแอปฯ ผิดกฎหมายมักจะจำกัดวงเงินในแต่ละวันอยู่ที่ 2,000-4,000 บาท เพราะมิจฉาชีพรู้อยู่แล้วว่าหากเป็นคนที่เดือดร้อนเรื่องเงิน ไม่ว่าเงินเท่าไหร่ก็จะตัดสินใจกู้อยู่ดี

ด้วยความห่วงใย หากต้องการจะกู้เงินหรือสินเชื่อออนไลน์ควรศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน หรือติดต่อสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้

คนใช้งานมือถือ

หากตกเป็นเหยื่อ “แอปฯ เงินกู้ปลอม” – “แอปฯ กู้เงินเถื่อน” ต้องทำอย่างไร

ณ อดีตจนถึงปัจจุบัน มีผู้ที่ได้รับความเสียหายหลายรายที่ถูกหลอกลวง ทั้งการคุกคามด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม ทวงหนี้แบบผิดกฎหมาย ปลอมแปลงหรือขโมยข้อมูลของผู้ใช้งาน Thai PBS Verify, Thai PBS Sci & Tech และ “สภาผู้บริโภค” จึงชวนมารับมือกับแอปฯ กู้เงินเถื่อนเหล่านี้ หากหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อไปแล้ว เราจะมีวิธีจัดการปัญหานี้อย่างไรบ้าง

     - มีสติตอนถูกทวงเงิน ซึ่งเจ้าหนี้ก็ต้องทำตามกฎหมายหากต้องการทวงเงินด้วย คือ เจ้าหนี้ติดต่อทวงถามหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 20.00 น. ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์และวันหยุดราชการจะทวงหนี้ได้ในเวลา 08.00 – 18.00 น. นอกจากนี้ เจ้าหนี้ห้ามพูดจาดูหมิ่นลูกหนี้ ห้ามข่มขู่ใช้ความรุนแรง หรือห้ามประจานลูกหนี้

     - หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านข้อความหรือรับโทรศัพท์จากแอปฯ กู้เงินเถื่อนที่มาทวงหนี้

     - หยุดก่อหนี้เพิ่ม และติดต่อสายด่วนแก้หนี้ 1213 หรือ สายด่วนชนะหนี้ 1443

     - เล่าข้อเท็จจริงและรูปแบบการกระทำของมิจฉาชีพ ลงบนโซเชียลมีเดียเพื่อเตือนภัยให้กับคนรู้จัก

     - แจ้งสายด่วน 1559 หรือสายด่วนของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) หากถูกปลอมแปลงหรือขโมยข้อมูลออนไลน์ เพื่อกู้คืนหรือแก้ไขบัญชีให้ถูกต้อง

     - ติดตามข่าวสารและเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยหนี้ที่ภาครัฐจัดขึ้น

จิ้มหน้าจอมือถือ (1).jpg

วิธีแจ้งความและป้องกันตัวแบบง่าย ๆ

     - ทำบัตรประชาชนใหม่ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพนำบัตรใบเดิมไปแอบอ้างทำธุรกรรมต่าง ๆ
     - รวบรวมหลักฐานเหล่านี้ เพื่อไปแจ้งความดำเนินคดีทางกฎหมาย
     - รายการเดินบัญชี (Statement) ที่กู้เงินออนไลน์
     - ชื่อและหน้าแอปฯ กู้เงินเถื่อน
     - หลักฐานการแชต

     - แจ้งความที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน เพื่อให้ดำเนินคดีถึงที่สุด รวมถึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานไปยังตำรวจไซเบอร์ (บก.สอท.) หรือแจ้งความออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.go.th หรือ สายด่วน 1441 ได้ ตลอด 24 ชั่วโมง


📌อ่าน : เตือนภัย ! 5 ภัยออนไลน์ วายร้ายทำลายเด็ก ที่ผู้ปกครองต้องตรวจสอบ

📌อ่าน : ทาสหมา - ทาสแมวระวัง ! อาจโดนหลอกซื้อภาพสัตว์เลี้ยง

📌อ่าน : ตำรวจ “วิดีโอคอล” ให้ “โอนเงิน” มาตรวจสอบ มิจฉาชีพแน่นอน

📌อ่าน : เตือนภัย ! “มิจฉาชีพ” หลอกลวงทาง TikTok จำไว้..ตำรวจไม่รับแจ้งความทาง TikTok

📌อ่าน : เข้าใจให้ตรงกัน ! ไม่ควรวางถังแก๊สหุงต้ม LPG นอนกับพื้น

📌อ่าน : สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ! “ไก่” ไม่ได้โตเร็ว เพราะใช้ฮอร์โมนเร่ง


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB), สภาผู้บริโภค

ตรวจสอบข่าวปลอมคัดกรองข่าวจริงกับ Thai PBS Verify

แท็กที่เกี่ยวข้อง

แอปฯ เงินกู้ปลอมแอปเงินกู้ปลอมเงินกู้ออนไลน์เงินกู้แอปฯ กู้เงินเถื่อนแอปกู้เงินเถื่อนกู้เงินออนไลน์กู้เงินหลอกลวงมิจฉาชีพเตือนภัยThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Cyber Security CybersecurityThai PBS Verify
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด