ทางการเม็กซิโกยกระดับความพร้อมรับมือคลื่นผู้อพยพที่อาจหลั่งไหลเข้าประเทศ หลังทางการสหรัฐฯ เดินหน้าจับกุมและเนรเทศผู้อพยพผิดกฎหมาย หลัง "โดนัลด์ ทรัมป์" ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ ครบ 1 สัปดาห์ ขณะที่บริเวณพรมแดนฝั่งสหรัฐฯ เสริมเครื่องกีดขวางอย่างแน่นหนา
คำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับที่ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ "โดนัลด์ ทรัมป์" ลงนาม เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง ซึ่งรวมถึงคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับผู้อพยพผิดกฎหมายในประเทศ โดยหนึ่งในนั้นเรื่องสิทธิการได้รับสัญชาติอเมริกันโดยการเกิดในสหรัฐฯ
รัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับความวุ่นวายภายในประเทศ หลังจากภาพการเนรเทศชาวเวเนซุเอลาปรากฏสู่สายตาชาวโลก จุดเริ่มต้นของการเนรเทศชาวเวเนซุเอลา เปิดฉากเมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา หลังจากผู้ต้องขังในศูนย์กักกันแห่งหนึ่งที่เอล วาเญ่ ในรัฐเท็กซัส ได้รับแจ้งให้เตรียมความพร้อมในการย้ายออกจากศูนย์กักกันแห่งนี้ ด้วยเที่ยวบินหรือการโยกย้ายไปยังจุดหมายที่ไม่เปิดเผย ขณะที่เรือนจำ CECOT ขึ้นชื่อในเรื่องของความเข้มงวดอย่างมาก จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของการปราบปรามอาชญากรรม สหรัฐฯ จะจ่ายเงินให้เอล ซัลวาดอร์ เป็นจำนวน 6 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่าย เรือนจำแห่งนี้ไม่มีที่นอน หมอน หรือ ผ้าห่ม ไฟจะเปิดตลอด 24 ชั่วโมง นักโทษต้องหยิบอาหารผ่านลูกกรงของห้องขัง ผู้ต้องขังจะได้รับโอกาสออกจากห้องขังเป็นเวลาเพียง 30 นาทีต่อวัน เพื่อออกกำลังกาย หรือเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา
ทำความรู้จักชาวม้งอเมริกัน ซึ่งส่วนมากเป็นกลุ่มที่หนีคอมมิวนิสต์จากประเทศลาว ในช่วงสงครามเวียดนาม และได้อพยพมาเริ่มชีวิตใหม่ในอเมริกา ฟังทัศนคติเรื่องการเหยียดผิวชาวเอเชียจากคนหลายกลุ่ม และสัมผัสกลิ่นอายของชนชาติต่าง ๆ ที่ยังคงหลงเหลือในเมือง Portland
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 5 จะพาคุณไปรู้จักกลุ่มคนที่รวมตัวกันสร้างสรรค์งานศิลปะแนว "กราฟฟิตี้" วาดลวดลาย สร้างสีสันให้ถนน และบ้านเรือนในแหล่งเสื่อมโทรมให้กลายเป็นงานศิลปะ จากนั้นไปยังเมืองโทรอนโต เมืองที่เปิดกว้างให้กับผู้อพยพ แต่ก็มีไม่น้อยที่พวกเขาต้องเจอการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม จึงมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามผลักดันให้ผู้อพยพได้รับสิทธิการจ้างงานที่เป็นธรรม เพื่อลดช่องว่างของความแตกต่างทางเชื้อชาติ
00:00
00:00