สปสช. กระตุ้นคนไทยกลุ่มเสี่ยงคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ ผ่านชุดตรวจปัสสาวะ ใช้งานง่ายเหมือนตรวจการตั้งครรภ์ ไม่เกิน 10 นาทีรู้ผล รับได้ "ฟรี" ร้านยา-คลินิกแล็บ ชี้ควรคัดกรองปีละ 1 ครั้ง ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งท่อน้ำดี เพิ่มโอกาสรักษาหากพบในระยะแรก
สาวท้อง 32 สัปดาห์มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน จนต้องเข้าพบแพทย์ หลังนอน รพ. อาเจียนอีก พบ "พยาธิไส้เดือน" ยาว 10 และ 15 ซม. คาดกินผักดิบ รพ.ให้ยาถ่ายพยาธิรักษาแล้ว เตือน ปชช.กินอาหารปรุงสุก ล้างผักให้สะอาด ผลสำรวจพบ "ขึ้นฉ่ายฝรั่ง" เจอพยาธิเยอะสุด
สธ.แจงกรณีโซเชียลแชร์ "ยาไอเวอร์เม็กติน" รักษา COVID-19 ชี้เป็นยาฆ่าพยาธิ มีการศึกษาช่วยยับยั้ง COVID-19 เสริมฤทธิ์ยาฟาวิพิราเวียร์ในหลอดทดลอง แต่ข้อมูลวิจัยทางคลินิกยังไม่เพียงพอ โดยร่วมกับ รพ.ศิริราช ศึกษาในผู้ป่วยเพิ่ม เตือนอย่าซื้อใช้เอง
เตือนกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ระวังพยาธิหอยโข่ง หรือพยาธิปอดหนู ซึ่งปกติแล้วไม่ได้เข้ามาอยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่สามารถรับเชื้อผ่านการรับประทานสัตว์ที่มีพยาธิชนิดนี้เข้าไป เช่น หอยโข่ง หอยเชอรี่ กุ้งน้ำจืด ปลาน้ำจืด หากรับประทานอาหารเหล่านี้แบบดิบโดยไม่ผ่านการปรุงสุกมีโอกาสรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ติดตามความรู้จาก พญ.ศศิ ใหญ่สว่าง จักษุแพทย์เฉพาะทางกระจกตาและการแก้ไขสายตา
คนไทยส่วนใหญ่มักจะชอบรับประทานอาหารรสจัด อาหารหมัก ดอง อาหารดิบ เช่น ปลาร้า เนื้อสัตว์ดิบ ผักสด ซึ่งในอาหารเหล่านี้ถือเป็นแหล่งรวมพยาธิหลายสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวจี๊ด และสายพันธุ์อื่น ๆ อีกหลายชนิด เพราะฉะนั้นเราควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก เลือกอาหารที่สด ใหม่ สะอาด เพื่อป้องกันพยาธิเข้าสู่ร่างกายเราให้มากที่สุด ติดตามความรู้จาก นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย
มีการรณรงค์ว่าในปลาดิบมีพยาธิ ให้หลีกเลี่ยงการบริโภค แล้วระหว่างปลาดิบน้ำจืดกับน้ำเค็ม ปลาชนิดไหนมีพยาธิมากกว่ากัน พยาธิที่พบเป็นแบบไหน มีอันตรายกับร่างกายของเราอย่างไร ติดตามได้ในรู้เท่ารู้ทัน วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 07.00 - 07.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live