กระทรวงคมนาคมสิงคโปร์เปิดเผยผลสอบสวนขั้นต้นกรณี SQ321 เที่ยวบินวันที่ 20 พ.ค.2567 เกิดอุบัติเหตุทางอากาศขอลงฉุกเฉินสนามบินสุวรรณภูมิ ข้อมูลจากกล่องดำพบเครื่องบินเข้าเขตสภาพอากาศแปรปรวน สูญเสียระดับความสูง ส่วน Autopilot พยายามปรับให้กลับสู่ความสูงเดิม
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ระบุ อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกสูงขึ้น โอกาสเครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น ชี้อัตราการเกิดหลุมอากาศเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าภายในปี 2050 เครื่องบินต้องเผชิญหลุมอากาศเพิ่มขึ้น 40% ขณะที่เครื่องบินอาจตกหลุมอากาศบ่อยขึ้นแม้ท้องฟ้าปลอดโปร่ง
สายการบินโคเรียนแอร์ เที่ยวบิน KE197 จากโซล ประเทศเกาหลีใต้ ไปกรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (4 ส.ค. 67) เผชิญกับพายุฝนฟ้าคะนอง ทำให้เครื่องสั่นอย่างรุนแรง ส่งผลให้ผู้ที่ไม่ได้รัดเข็มขัดตัวลอยขึ้นไปบนอากาศและร่วงตกลงมา บาดเจ็บ 14 คน
ถึงแม้ว่าเครื่องบินจะได้รับการออกแบบมาให้รับมือกับอากาศที่มีความปั่นป่วนรุนแรงได้ แต่ความปั่นป่วนก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อเครื่องบิน และภายในห้องโดยสาร ซึ่งการตกหลุมอากาศรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อผู้โดยสารเครื่องบินได้อีกด้วย หลุมอากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร นักบินสามารถรู้ล่วงหน้าได้หรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ คุณเถลิงศักดิ์ ผาทอง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเขตสนามบินกรุงเทพ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
กรณีสิงคโปร์แอร์ไลนส์ตกหลุมอากาศ เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อวานนี้ (21 พ.ค. 67) อาจทำให้หลายคนสงสัยว่า หลุมอากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันได้อย่างไร จากการศึกษาและรวบรวมสถิติพบ 4 ปัจจัยคือ • การก่อตัวของเมฆ ส่วนมากจะเป็นเมฆฝน ซึ่งนักบินจะบินเลี่ยง เพราะมองเห็นจากเรดาร์ • ลมผ่านภูเขาสูง ลมถูกดันขึ้นบ้างบน • อากาศยานอื่นอยู่ใกล้ มักเกิดตอนเครื่องลำอื่นบินผ่าน หรือขึ้นลงก่อนหน้า • อากาศปั่นป่วนในอากาศแจ่มใส เรดาร์ตรวจจับไม่ได้ เกิดขึ้นฉับพลัน ทำให้หลายครั้งนำมาซึ่งการบาดเจ็บของลูกเรือและผู้โดยสาร
จากกรณีเที่ยวบิน SQ321 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ตกหลุมอากาศ จนต้องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งถ้าพูดถึง "สภาพอากาศแปรปรวน" จาก 2 ปัจจัย ได้แก่ เมฆฝนฟ้าคะนอง (Clear Air Turbulence) และลมที่พัดผ่านภูเขาสูง หรือ Mountain Wave และอากาศวนที่เกิดจากเครื่องบินลำอื่น จะกระทบกับเครื่องบินอย่างไร
จากกรณีเครื่องบินสายการบิน "สิงคโปร์แอร์ไลน์ส" เที่ยวบิน SQ321 ขอลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากมีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บจากเหตุเครื่องบินตกหลุมอากาศนั้น เครื่องบินตกหลุมอากาศ เป็นเหตุที่เกิดขึ้นได้ แต่หลังจากนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดได้บ่อยขึ้นแม้แต่วันที่อากาศแจ่มใส โดยมีงานวิจัยที่ชี้ว่า เกิดจากการภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ