ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จับตาภารกิจ "ปธ.บอร์ดธปทคนใหม่" นักวิชาการหวั่นสร้างแรงกดดันในการทำงาน ธปท.

9 มิ.ย. 55
16:40
55
Logo Thai PBS
จับตาภารกิจ "ปธ.บอร์ดธปทคนใหม่" นักวิชาการหวั่นสร้างแรงกดดันในการทำงาน ธปท.

สำหรับนายวีระพงษ์ รามางกูร ได้รับการแต่งตั้งในฐานะประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ ซึ่งจะทำงานควบคู่ไปกับตำแหน่งประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและ สร้างอนาคตประเทศ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินบางส่วน เป็นห่วงว่า อาจสร้างแรงกดดันการทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างผลงานเศรษฐกิจให้กับรัฐบาล รวมถึง การดึงสำรองระหว่างประเทศมากใช้

แนวคิดการนำเงินออมของประเทศ มาลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะ โครงการปรับปรุงการขนส่งระบบราง รวมทั้ง สาธารณูปโภค เพื่อผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ถูกจุดประกาย จาก นาย วีระพงษ์ รามางกูร ประธาน คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) แนวคิดนี้มีน้ำหนักทันทีเมื่อ นายวีระพงษ์ ได้รับการคัดเลือกเป็นประธาน คณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ด แบงก์ชาติ ซึ่งมีหน้าที่กำกับกิจการการเงิน รวมถึง วางนโยบายบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ

หลังการประชุม กยอ. ซึ่งเป็นนัดสุดท้าย ก่อน นายวีระพงษ์ จะควบตำแหน่ง ประธานบอร์ด แบงก์ชาติคนใหม่ ซึ่งนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการ กยอ. อธิบายแนวคิดการใช้เงินออมของประเทศ เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานว่า นานกว่า 15 ปีแล้ว ที่อัตราการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ ต่ำกว่าร้อยละ 2 เมื่อ เทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงเห็นควรให้หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ หันกลับมาระดมเงินลงทุนในประเทศ ผ่านรูปแบบต่างๆ รวมไปถึง อาจมีการตั้งกองทุนขึ้นมาใหม่

ดร.ปกรณ์ วิชยานนท์ ผอ.ฝ่ายวิจัยด้านตลาดเงินตลาดทุน สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า แนวคิดการตั้งกองทุน เพื่อเป็นแหล่งระดมเงินกู้ สำหรับลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สามารถทำได้ แต่อาจสร้างภาระการเงิน มากกว่า เงินที่นำออกไปใช้

สอด คล้องกับ นางอัจนา ไวความดี ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา กล่าวว่า เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้นในระดับกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีทั้งรายได้ และหนี้สินรวมกัน

โดย จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ทำให้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐไหลเข้าประเทศมากขึ้น แบงก์ชาติ จึงต้องออกพันธบัตร เพื่อดึงเงินดอลลาร์ ไม่ให้อยู่ในตลาดมากเกินไป เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่า สร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

แต่ วิธีการนี้ ก็ทำให้แบงก์ชาติ มีฐานะเป็นลูกหนี้ ที่ต้องจ่ายคืนเงินต้น และผลตอบแทน หากรัฐบาล ต้องการนำสินทรัพย์นี้ ไปลงทุน ก็ต้องรับภาระหนี้สิน จากส่วนต่างดอกเบี้ยต่างสุกลเงินที่เกิดขึ้นด้วย

ขณะที่แหล่งข่าวด้านการเงินรายหนึ่ง ระบุว่า แม้ประธานบอร์ด แบงก์ชาติ จะมีอำนาจแก้ไขกฎระเบียบ เพื่อดึงเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ แต่ใช้เวลานานกว่าจะสำเร็จ แต่สิ่งที่น่าวิตก และต้องจับตามากกว่า คือ การประเมินผลงาน นายประสาร ไตรรัตน์วนกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน ไม่นับรวมการสร้างแรงกดดันผู้บริหารคณะกรรมการ การเงินอื่นๆ ที่มีอำนาจโดยตรง ในการกำหนดทิศทางอัตรดอกเบี้ยดอกเบี้ยนโยบาย ดัชนีเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นเครื่องมือสนับสนุน และมีผลต่อการบริหารงบประมาณ ภาระหนี้สินรัฐบาล และตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนผลงานของรัฐบาล


ข่าวที่เกี่ยวข้อง