นมแม่ เป็นแหล่งอาหารหลักสำหรับทารก และเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกด้วยองค์ประกอบด้านโภชนาการ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและยังมีเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งจากเซลล์จากแม่ รวมถึงแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูก
กรมอนามัย รณรงค์ให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่หลังคลอดจนถึงอายุ 6 เดือน และกินนมแม่ต่อเนื่องร่วมกับอาหารตามวัย ถึง 2 ปี เพราะนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ช่วยในการเจริญเติบโตและสร้างภูมิคุ้มกัน ขณะที่ปี 2565 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน 28.6%
นอกจากคำเตือนจากกรมอนามัย ประเทศไทย เรื่องของการห้ามใช้ “นมข้นหวาน” เลี้ยงเด็กทารก เนื่องจากจะก่อให้เกิดภาวะขาดสารอาหารจำเป็นและส่งผลให้เด็กเสียชีวิตได้นั้น WHO เองก็ได้ส่งคำเตือนในเรื่องนี้ไปทั่วโลกเช่นกัน โดยเกิดจากการค้นพบ โรค Kwashiorkor
พ.ร.บ.นมผง เป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย ที่คุ้มครองผู้บริโภคกลุ่มทารกและเด็กเล็ก เพื่อเด็กไทยได้กินนมแม่อย่างเต็มที่ หลังข้อมูลปี 2558 พบเด็กไทยอายุต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียวเพียงร้อยละ 23 ขณะที่แม่ที่สามารถให้นมลูกได้ถึง 2 ปี มีเพียงร้อยละ 16
เครือข่ายภาคประชาสังคมยื่นหนังถึงรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 2 เพื่อขอให้สนับสนุนร่างกฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เพื่อคุ้มครองแม่และเด็ก ให้เข้าถึงข้อมูลถูกต้องและเอาผิดกับโฆษณาผลิตภัณฑ์นมผงที่ทำการตลาดขาดจริยธรรม
ในสัปดาห์นมแม่โลกปี 2559 บรรดาแม่ๆ ต่างร่วมกันรณรงค์ให้ประชาคมโลกตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่กว่าที่นมแม่จะกลายมาเป็นกระแสหลักได้อย่างทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ "พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช" เป็นผู้ที่จะบอกเล่าเรื่องนี้ได้ดีที่สุด