ปัญหา "สุขภาพจิต" มักถูกตีตราในสังคม การสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ จะช่วยลดอคติที่มีต่อผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิตได้ ธีมวันสุขภาพจิตโลกปี 2567 เน้นเรื่องสุขภาพจิตในที่ทำงาน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหัวหน้า-พนักงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด
ภาวะหมดไฟเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในสังคมปัจจุบัน แต่สามารถป้องกันและรักษาได้ ด้วยการตระหนักรู้และดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม รวมถึงเราสามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานที่มีภาวะหมดไฟได้ ด้วยความอดทน เข้าใจ ให้การสนับสนุนอย่างจริงใจ ทำให้เพื่อนกลับมาไฟลุกอีกครั้ง
แพทย์รามาฯ เผย วัยรุ่นสูบบุหรี่ไฟฟ้า 53% มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า เปิดผลสำรวจนักศึกษา 18 สถาบัน พบ เยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงซึมเศร้าเพิ่ม 1.8 เท่า สูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่มวน เสี่ยงเพิ่ม 2.3 เท่า เหตุ "นิโคติน" ตัวการก่อพิษต่อสมอง ทำเซลล์ประสาทอักเสบ
ร่วมพูดคุยถึงเรื่องที่คิดว่าตอนนี้พวกเราทุกคนควรหันกลับมาให้ความใส่ใจมากขึ้น กับเรื่องสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เลยว่าปัญห่และปัจจัยหลักนั้นเกิดมากจาครอบครัว การเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ไม่สมดุลอาจนำมาซึ่งความเครียด และความกดดันทางอารมณ์ที่ซับซ้อน ร่วมทำความเข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหา แนวทางการสนับสนุนและสร้างสังคมที่เข้าใจและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนให้ก้าวผ่านปัญหาเหล่านี้ไปได้อย่างมั่นคง ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "นครฮีลใจ" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/HealingCities
พูดคุยกับเครือข่ายโครงการแฮปปี้แลนด์แดน(เคย)สุขใจ ที่เริ่มต้นโครงการมาตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2567 ซึ่งมีแผนขยายงานไปถึงปี 2568 และมีแผนรณรงค์ ลดจำนวนคนมีปัญหาสุขภาพจิตนำพาไปสู่การฆ่าตัวตาย การดำเนินงานใรช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ติดตามในนครอีลใจ ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "นครฮีลใจ" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/HealingCities
ช่วงนี้เหนื่อยเกินไปหรือเปล่า อาการเหนื่อยล้าที่ไม่อยากจะลุกจากเตียงไปทำงานในตอนเช้า หรือมีสภาวะทิ้งตัวที่ไม่อยากทำอะไรเลยอยากอยู่เฉย ๆ อาการเหล่านี้เกิดจากอะไร มาเรียนรู้สาเหตุที่ทำให้เสียสุขภาพจิต พร้อมวิธีบำบัดอาการกับ อาจารย์ทัศยา เรื่องศรี นักจิตบำบัด ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
เรื่องของสุขภาพจิต ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวบุคคลเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวเนื่องกับคนรอบข้าง สังคม สิ่งแวดล้อม องค์กร และการสนับสนุนของนโยบายภาครัฐที่จะเอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรม และการร่วมมือกันขององค์กรทุกภาคส่วน จึงมีความสำคัญที่จะสามารถป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตของคนไทย ซึ่งที่ผ่านมามีหนึ่งงานวิจัยที่น่าสนใจ และพยายามที่จะขับเคลื่อนให้คนไทยมีสุขภาพจิตที่ดี
จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว เช่น โรคภัยไข้เจ็บ ความกดดันจากสถานที่ทำงาน รวมไปถึงปัญหาระดับสังคม เช่น ฝุ่นควัน ไฟป่า ภัยจากมิจฉาชีพรูปแบบต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อจิตใจคนเราทั้งสิ้น แม้จะมากน้อยต่างกันไป แต่หากสะสมทับถมกันมากขึ้นทุกวันก็อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ความคิด และการกระทำตามมาได้ จนเกิดเป็นภาวะการปรับตัวผิดปกติ ภาวะนี้จะมีรายละเอียดอย่างไร รักษาได้หรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
ไทยพีบีเอส ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดงานแฮคกาตอน "Hack ใจ" เป็นการระดมไอเดีย ค้นหานวัตกรรมฮีลใจ ตามนโยบายขับเคลื่อน สุขภาวะจิต รักษาสุขภาวะใจของไทยพีบีเอส ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "คุยกันวันใหม่" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyWanmaiTalk
รู้สู้โรครวบรวมมุมมองความสุขผ่านแนวคิดต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก จากปรัชญาความสุข การจัดสรรชีวิตส่วนตัว และชีวิตการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการรู้จักใช้ชีวิตอย่างสมดุลจะช่วยสร้างความสุขและสุขภาพจิตที่ดี ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
"ป๊อป ปองกูล" แชร์ประสบการณ์ที่ทำให้หันมาใส่ใจสุขภาพจิต เผย 6-7 ปีก่อน เคยไปร้องเพลงในงานแล้วพบแฟนคลับที่ป่วยเป็นซึมเศร้า เลยอยากหาวิธีเยียวยาจิตใจที่ถูกต้อง จึงได้ศึกษาข้อมูลมาตลอด และมองว่า "โรคซึมเศร้า" สามารถรักษาหายได้ อย่ากลัวที่จะเข้ารับการรักษา
จากเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านของเอแคลร์ ทำให้เขาต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น ด้วยวัย ป.6 ทำให้เอแคลร์ต้องเรียนรู้การสร้างบ้าน และมีความคิดที่ว่า "ต่อจากนี้เราจะเป็นเด็กไม่ได้แล้ว" เรื่องราวของเอแคลร์จะเป็นอย่างไรบ้าง ชมรายการย้อนหลังได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/MadeMyDay/episodes/100375
"เราจะเกิดที่ไหน เราก็สามารถพัฒนาตัวเองได้" ต้นทุน สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ที่แตกต่าง อาจจะทำให้การดำรงชีวิตของใครหลายคนถูกจำกัดในเรื่องของโอกาส ความสามารถ แต่ไม่ใช่สำหรับเอแคลร์ ชมรายการย้อนหลังได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/MadeMyDay/episodes/100375