เกือบครึ่งของคู่รักวัยรุ่นทะเลาะกันบ่อยถึงบ่อยมาก ปัจจัยเสี่ยงสำคัญทำลายความสัมพันธ์คือ ยาเสพติด 46.1% เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 24.5% การพนัน 22.1% และบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า 7.3% สสส.หนุนภาครัฐเปิดพื้นที่ให้คำปรึกษาวัยรุ่นในจุดรวมตัวสำคัญอย่างหอศิลป์ กทม.
ความเหงาอันตรายกว่าที่คิด! นักวิจัยเผยผลกระทบความโดดเดี่ยวในยุคดิจิทัล อันตรายเทียบเท่ากับสูบบุหรี่ 15 มวน หรือดื่มแอลกอฮอล์ 6 แก้ว/วัน สสส.ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย ยกระดับสุขภาวะทางปัญญา พร้อมใช้ AI เป็นเครื่องมือบริหารความเครียดและฟื้นฟูจิตใจ
เครียดไม่ได้แค่ทำให้ปวดหัว แต่ยังอ้วนได้ด้วย! ฮอร์โมนคอร์ติซอลที่หลั่งออกมาช่วงที่เครียด ทำให้ร่างกายพร้อม "สู้หรือหนี" แต่ถ้าเครียดบ่อย ๆ ก็ทำให้คอร์ติซอลพุ่งสูงเกินไปจนสะสมไขมันที่หน้าท้อง เสี่ยงทั้งโรคอ้วน โรคหัวใจ เบาหวาน และหลอดเลือดสมองได้
พูดถึง "ความเหนื่อยล้า" จากการทำงาน หลายคนคงนึกถึง "Burnout" การทำงานที่หนักเกินไปจนขาดสมดุลชีวิต แต่ "Boreout" เป็นอีกคำที่เกี่ยวกับ "ความเบื่อหน่าย" เรื้อรังในที่ทำงาน แม้ไม่ได้รับความสนใจเท่า Burnout แต่ Boreout ส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายไม่แพ้กัน
ปัญหา "สุขภาพจิต" มักถูกตีตราในสังคม การสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ จะช่วยลดอคติที่มีต่อผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิตได้ ธีมวันสุขภาพจิตโลกปี 2567 เน้นเรื่องสุขภาพจิตในที่ทำงาน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหัวหน้า-พนักงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด
ภาวะหมดไฟเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในสังคมปัจจุบัน แต่สามารถป้องกันและรักษาได้ ด้วยการตระหนักรู้และดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม รวมถึงเราสามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานที่มีภาวะหมดไฟได้ ด้วยความอดทน เข้าใจ ให้การสนับสนุนอย่างจริงใจ ทำให้เพื่อนกลับมาไฟลุกอีกครั้ง
แพทย์รามาฯ เผย วัยรุ่นสูบบุหรี่ไฟฟ้า 53% มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า เปิดผลสำรวจนักศึกษา 18 สถาบัน พบ เยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงซึมเศร้าเพิ่ม 1.8 เท่า สูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่มวน เสี่ยงเพิ่ม 2.3 เท่า เหตุ "นิโคติน" ตัวการก่อพิษต่อสมอง ทำเซลล์ประสาทอักเสบ