ซีพีเอฟทำหนังสือแจงสื่อ หลังถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2.4 พันล้านบาทวานนี้ ว่าเป็นต้นเหตุการระบาดของปลาหมอคางดำระบาด ระบุพร้อมเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ด้าน กาย-ณัฐชาชี้เมื่อรัฐแก้ไขได้ไม่มีประสิทธิภาพ แนะให้เกษตรกรมรวมกลุ่มฟ้องแพ่งเอง
ผลสอบ “ปลาหมอคางดำ” ไม่เสร็จใน 7 วัน อธิบดีกรมประมงแจ้งปลัดกระทรวงเกษตร ขอเลื่อนส่งผลสอบ หาต้นตอ-การระบาดของ “ปลาหมอคางดำ” ออกไปเป็น 1 ส.ค.2567 ปลัดย้ำ ผลตรวจสอบต้องชัดเจน- เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และรายงานต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้
“ซีพีเอฟ” ไม่เข้าชี้แจง อนุกมธ.ปลาหมอคางดำ ทำหนังสือแจ้งติดภารกิจ ปธ.อนุฯ “หมอวาโย” ระบุมีเอกสารแจ้ง 4 หน้า เป็นขั้นตอนการขอนำเข้า การเลี้ยง พร้อมเอกสารขอนำเข้าและมีชื่อ 2 จนท. ในนั้นเป็น “อธิบดีกรมประมง” คนปัจจุบัน สมัยเป็นนิติกร คาดจะรู้เรื่องทั้งหมด
ชาวบ้าน และ ตัวแทนประมงพื้นบ้าน อำเภออัมพวา อำเภอบางคนที และอำเภอเมืองสมุทรสงคราม เดินทางมาที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อยื่นฟ้อง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ และกรรมการบริษัทฯ รวม 9 คน เป็นคดีสิ่งแวดล้อม โดยเรียกค่าสินไหมทดแทน จากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ เป็นเงินรวมกว่า 2,486 ล้านบาท
จากกรณีที่มีการใช้ภาพ และข้อมูล โดยอ้างว่า เป็นฟาร์มเพาะเลี้ยง ปลาหมอคางดำ ของบริษัทซีพีเอฟ มาประกอบการสื่อสารบนเวทีสาธารณะ เมื่อ 26 กรกฎาคม 2567 ล่าสุด ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กร ซีพีเอฟ ออกมาชี้แจง ถึงการใช้ ภาพเท็จและข้อมูลเท็จบางส่วน เพราะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท
พรุ่งนี้ (25 ก.ค. 67) อนุกรรมาธิการ อว. จะเชิญ "บ.ซีพีเอฟ" มาให้ข้อมูลถึง รายละเอียดของโครงการวิจัย เช่น สมมติฐานการวิจัยคืออะไร มีระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร มีบ่อเปิด บ่อปิดตรงไหน แล้วมีกระบวนการในการป้องกันไม่ให้ปลาหลุดไป ข้างนอกมากน้อยแค่ไหน
ปัญหาปลาหมอคางดำแพร่ระบาดในหลายแหล่งน้ำในประเทศไทย นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ชี้ถึงวิธีการแก้ปัญหาคือ การใช้ปลาหมอคางดำที่ตัดแต่งจีโนม ปล่อยลงในธรรมชาติ เพื่อให้ผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำที่ระบาด โดยลูกที่ได้จะเป็นหมันเท่ากับเป็นยุติการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำทั้งหมด อีกทั้งตอบกรณีบริษัทหนึ่งขออนุญาตนำเข้าปลาหมอคางดำถูกต้อง ได้นำส่งกลุ่มตัวอย่าง 50 ตัว ให้คณะวิจัยฯ กรมประมงตรวจสอบนั้น ตั้งแต่ที่มีการนำเข้าจนถึงปี 2554 ปรากฏว่า ไม่พบหลักฐานการรับตัวอย่างและขวดตัวอย่าง จากบริษัทนำเข้าแต่อย่างใด ด้าน นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร CPF ตั้งข้อสังเกตการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำอาจมาจากการลักลอบนำเข้ามาเลี้ยง เพราะเป็นตระกูลปลาสวยงาม และมีการเลี้ยงเพื่อส่งออกปีละหลายหมื่นตัว พร้อมระบุ ส่งหลักฐานการทำลายซากปลาหมอคางดำให้กับกรมประมงแล้ว ตั้งแต่ปี 2554 ที่หาไม่เจอ อาจจะหายไปในช่วงน้ำท่วมได้